อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ต.ศรีสัชนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี มีการใช้พื้นที่ของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การตั้งถิ่นฐานระยะแรกน่าจะเป็นชุมชนโบราณในสมัยสำริด อายุราว 2,500 ปีมาแล้ว ทางทิศตะวันออกของเมืองด้านนอกคูน้ำคันดิน ปรากฏการสร้างศาสนสถานขึ้น คือ โบราณสถานโนนแก ส่วนด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้นอกคูเมือง มีการขุดหนองน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ซึ่งน่าจะเป็นบารายในสมัยวัฒนธรรมเขมร
ต.ป่าเขาหินตัด อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เป็นแหล่งวัตถุดิบหินทรายของคนโบราณในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 15-18 สำหรับใช้ในการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ โดยเฉพาะปราสาทในวัฒนธรรมเขมรในเขตอำเภอสีคิ้วและอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน
ม.3 และ ม.4 ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต “โคกพม่า” แต่เดิมเป็นที่นาของเจ้าเมืองถลางบ้านเคียน และเป็นสมรภูมิในศึกถลางเมื่อปี 2328 โดยปรากฏตามหลักฐานประวัติศาสตร์ว่าทัพถลางชนะกองทัพพม่าบริเวณนี้เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2328 หรือที่มักเรียกว่า วันถลางชนะศึก
ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม (ปัตตานี-นราธิวาส) ต.ตันหยงลุโละ อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี พบร่องรอยหลักฐานเกี่ยวกับกิจกรรมการหล่อปืนของเมืองปัตตานีรวมถึงปืนนางพญาตานี ตรงกับสมัยอยุธยา
ต.ราชกรูด อ.เมืองระนอง พบเครื่องมือหินกะเทาะยุคก่อนประวัติศาสตร์รูปลักษณะต่าง ๆ หลายชิ้น ที่บริเวณน้ำตกที่เป็นลานหินกรวด เช่น เครื่องมือหินกะเทาะทำจากหินกรวดรูปหลายเหลี่ยมเป็นเครื่องมือตัด-สับ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, เครื่องมือหินกะเทาะทำจากหินปูนรูปคล้ายสามเหลี่ยมหน้าจั่ว-แบนด้านประกอบมุมยอดโค้งออกทั้งสองด้าน รูปไข่-แบน รูปหลายเหลี่ยม ยาว-แบน