แหล่งโบราณคดี


แสดง 81 ถึง 90 จาก 90 ผลลัพธ์

บ้านวังด้วน

บ้านวังด้วน ม.1 ตำบลห้วยทราย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

 

อ่านเพิ่มเติม

ตึกแถวริมถนนหน้าพระลาน

เลขที่ 2 ถึงเลขที่ 30 ริมถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นตึกแถวที่สร้างขึ้นในสมัยปลายรัชกาลที่ 5 ด้วยสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนีโอคลาสสิก ในพื้นที่เดิมของวังถนนหน้าพระลาน 

อ่านเพิ่มเติม

บ้านพิบูลธรรม

บ้านพิบูลธรรม หรือบ้านนนที ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่กระทรวงพลังงาน เชิงสะพานกษัตริย์ศึก ยศเส กรุงเทพฯ เป้นบ้านของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี เริ่มสร้างขึ้นราวปี 2440 สถาปัตยกรรมของอาคารเป็นแบบตะวันตก โดดเด่นด้วยการตกแต่งภายในอาคารด้วยไม้แกะสลักประกอบภาพจิตรกรรมที่งดงามทั้งลวดลายแบบตะวันตกและภาพจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอนทศกัณฐ์ลักนางสีดา ภาพนางเมขลาและรามสูร

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนเลื่อนฤทธิ์

พื้นที่ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ แต่เดิมเคยเป็นของคุณหญิงเลื่อน ผู้เป็นภรรยาของหลวงฤทธินายเวร ปัจจุบันภายในชุมชนเลื่อนฤทธิ์ ถนนเยาวราช ย่านสำเพ็ง กรุงเทพฯ  มีอาคารที่เป็นตึกแถวเก่าที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี 2555 ชาวชุมชนเลื่อนฤทธิ์ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นบริษัท ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ จำกัด เพื่อดำเนินการอนุรักษ์อาคารและพื้นที่ของชุมชน 

อ่านเพิ่มเติม

บ้านตระกูลคีรีรัตน์

บ้านตระกูลคีรีรัตน์ตั้งอยู่ริม ถ.ตรัง-ประเหลียน ต.ทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง เป็นบ้านของนายกีวด หรือ พันวด ชาวจีนฮกเกี้ยนโพ้นทะเลที่มาตั้งรกรากและค้าขายอยู่ในจังหวัดตรัง สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2490 รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม ผสมผสานกับหลังคาเรือนไทยมุสลิม

อ่านเพิ่มเติม

เขาขาว

ตั้งอยู่ที่ บ้านเหนือคลอง ต.บ้านกลาง อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในถ้ำและตามเพิงผา ร่วมสมัยกับกลุ่มแหล่งโบราณคดีที่อ่าวลึกและอ่าวพังงา หลักฐานที่พบ เช่น ภาพเขียนสีโบราณที่ผนังถ้ำโนราห์และถ้ำช้างนอก เขียนด้วยสีแดงเป็นภาพบุคคล สัญลักษณ์ และรูปเรขาคณิต อายุราว 5,000-3,000 ปีมาแล้ว 

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาสาย

ต.บางดี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง พบหลักฐานหลายยุคสมัย ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น เครื่องมือหิน ชิ้นส่วถ้ำเขาสายนหม้อสามขา ชิ้นส่วนภาชนะดินผา กระจายอยู่ภายในถ้ำต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์ดินดิบบริเวณถ้ำทางทิศตะวันออก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 เป็นโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จมาในวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม ร.ศ.121 (พ.ศ.2445)

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาหลักจัน

ตั้งอยู่ที่ บ้านเขาโหรง ต.น้ำผุด อ.เมืองตรัง จ.ตรัง ภูเขาหลักจันเป็นภูเขาหินปูน พบหลักฐานทางโบราณคดีอยู่ตามถ้ำและเพิงผา ทั้งโครงกระดูกมนุษย์ เครื่องมือหิน และชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ส่วนพระพุทธรูปโบราณที่อยู่ในถ้ำตามคำบอกเล่าของชาวบ้านกล่าวว่าถูกทำลายไปแล้ว ปัจจุบันมีผู้สร้างพระพุทธรูปใหม่มาไว้ที่ปากถ้ำ และตั้งสำนักสงฆ์เขาหลักจันทร์อยู่เชิงเขา

อ่านเพิ่มเติม

เขาปินะ

ตั้งอยู่ ต.นาวง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง มีถ้ำขนาดใหญ่น้อยหลายถ้ำในเขาปินะ แบ่งได้เป็น 6 ระดับ โดยปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น หม้อสามขา ขวานหันขัด และยังพบหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทั้งการเสด็จฯ เยือนของรัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7 รวมถึงหลักฐานต่าง ๆ ของขุนไกร ผู้ปฏิสังขรณ์สถานที่แห่งนี้ 

อ่านเพิ่มเติม

นาตาสุข

ต.คลองน้ำใส อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เป็นแหล่งอยู่อาศัยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-18 หลักฐานสำคัญได้แก่ เครื่องถ้วยเขมรจากแหล่งเตาบุรีรัมย์และเตาพนมกุเลน เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซ่งภาคใต้ แท่นหินบด หินบด คันฉ่องสำริด ขันสำริด กำไลสำริด ลูกกระพรวนสำริด ชิ้นส่วนสำริด ห่วงสำริด ก้อนตะกั่ว และชิ้นส่วนกระดิ่งสำริด เป็นต้น 

อ่านเพิ่มเติม