แหล่งโบราณคดี


แสดง 41 ถึง 50 จาก 50 ผลลัพธ์

เขาปินะ

ตั้งอยู่ ต.นาวง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง มีถ้ำขนาดใหญ่น้อยหลายถ้ำในเขาปินะ แบ่งได้เป็น 6 ระดับ โดยปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น หม้อสามขา ขวานหันขัด และยังพบหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทั้งการเสด็จฯ เยือนของรัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7 รวมถึงหลักฐานต่าง ๆ ของขุนไกร ผู้ปฏิสังขรณ์สถานที่แห่งนี้ 

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาวัดหน้าถ้ำ

ต.หน้าถ้ำ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธไสยาสน์วัดถ้ำ หรือ “พ่อท่านบรรทม” รูปปั้นยักษ์ขนาดใหญ่เรียกว่า “พ่อท่านเจ้าเขา” พระพิมพ์ดินดิบ สถูปดินดิบ พระพุทธรูปศิลา และจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “ปปร” และพิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย หรือหอวัฒนธรรมศรีวิชัย (วัดคูหาภิมุข) 

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำตีนเป็ด

ตั้งอยู่ด้านหลังหมวดการทางปะทิว ริม ถ.เพชรเกษม ต.เขาไชยราช อ.ปะทิว จ.ชุมพร จากการสำรวจของกรมศิลปากร พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ คือเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เ สันนิษฐานว่าถ้ำแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำสนุกสุขารมย์

ตั้งอยู่ภายในวัดถ้ำสนุกสขารมย์ ต.บ้านนา อ.เมืองชุมพร กรมศิลปากรสำรวจพบหลักฐานทางโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ภายในถ้ำสนุกสุขารมย์ คือเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เนื้อภาชนะหยาบมีเม็ดทรายปน สันนิษฐานว่าถ้ำแห่งนี้เป็นแหล่งที่พำนักอาศัยชั่วคราวของมนุษย์ก่อนประวัติสาสตร์

อ่านเพิ่มเติม

เขาหญ้าระ

ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง สภาพแหล่งโบราณคดีเป็นเพิงผาที่อยู่ด้านปลายทางทิศเหนือของเขาหญ้าระ พบเครื่องมือหินกะเทาะด้านเดียวแบบหัวบิเนียน และเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน กําหนดอายุได้ราว 10,000 – 6,000 ปี มาแล้ว อาจใช้เป็นจุดแวะพักระหว่างเดินทางของคนก่อนประวัติศาสตร์

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำเขาไม้แก้ว

ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง พบเครื่องมือหินและเศษภาชนะดินเผาที่แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาไม้แก้ว สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งถิ่นฐานชั่วคราวหรือเป็นที่พักชั่วคราวระหว่างเดินทางของมนุษย์ยุค่กอนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 4,000 – 2,000 ปีมาแล้ว และอาจถูกใช้เป็นจุดสังเกตในระหว่างการเดินทางด้วย

อ่านเพิ่มเติม

เขาหน้าเนื้อ

ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง สันนิษฐานว่าแหล่งโบราณคดีเขาหน้าเนื้อเป็นแหล่งที่พักชั่วคราวของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว 4,000-2,000 ปีมาแล้ว เพราะมีทำเลอยู่บริเวณช่องเขาสําหรับเดินทางระหว่างตอนในทวีปออกสู่ทะเล พบเครื่องมมือหิน เศษภาชนะดินเผาเคลือบน้ำดินสีแดงขัดมัน และเปลือกหอยกัน ที่น่าจะถูกนำมาเป็นอาหาร

อ่านเพิ่มเติม

เขาเจ้าไหม

ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติเจ้าไหม ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์บนเขาเจ้าไหม ได้แก่ ภาพเขียนสี เครื่องมื่อหินและเครื่องปั้นดินเผา สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในช่วง 4,000-2,000 ปีมาแล้ว

อ่านเพิ่มเติม

อ่าวบุญคง

ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง แหล่งโบราณคดีอ่าวบุญคงพบหลักฐานทางโบราณคดี 2 ยุคสมัย คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ถูกใช้เป็นที่พักพิงชั่วคราวและมีการวาดภาพเขียนสี  และยุคประวัติศาสตร์ช่วงพุทธศตวรรษที 16 – 19 ถูกใช้เป็นแหล่งฝังศพ

อ่านเพิ่มเติม

เพิงผาเขียน เขาพนมดบ

บริเวณเพิงผาเขียน เขาพนมดบ อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ต.บักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ พบร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ในอดีต 2 จุด คือ ภาพศิลปะถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งภาพเขียนสี และภาพสลัก

อ่านเพิ่มเติม