วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เลขที่ 183/13 ถ.ชยางกูร บ้านธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
ต.บ้านแร่ อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ปรากฏร่องรอยการใช้พื้นที่ของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะเป็นเนินดินที่มีขนาดสูงใหญ่ มีชั้นทับถมของเศษภาชนะดินเผาในระดับที่ลึกลงไปจากผิวดิน
บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โบราณสถานโนนแกมีการก่อสร้างซ้อนทับกัน 2 สมัย คืออาคารที่สร้างขึ้นเนื่องในวัฒนธรรมเขมร ศาสนาฮินดู อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 และอาคารหรือสิมในศาสนาพุทธ มีใบเสมาหินทรายปักล้อมรอบ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 24-25
บ้านสงเปือย ต.สงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ชุมชนโบราณดงเมืองเตยปรากฏการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว ต่อเนื่องมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 มีคูน้ำคันดินล้อมรอบเมืองโบราณ
ต.พระธาตุ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม พระธาตุนาดูนสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2528-2529 บริเวณที่ตั้งของพระธาตุนาดูน เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้จากเจดีย์สำริดขนาดเล็ก (ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น) ที่พบในบริเวณที่ดินของนายทองดี ปะวะปูตา
ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต วัดพระนางสร้าง เป็นวัดประจำเมืองถลางที่เก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่ง เคยเป็นที่ตั้งทัพพม่าในคราวศึกถลางเมื่อ พ.ศ.2328 มีตำนานการสร้างสัมพันธ์กับ “พระนางเลือดขาว” จากลักษณะสถาปัตยกรรมและประติมากรรม นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าวัดพระนางสร้างน่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต วัดแขนนตั้งวัดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2544 เดิมเป็นวัดร้าง ชาวบ้านให้ความสำคัญในฐานะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะเคยมีพระสงฆ์ที่เป็นพระเกจิชื่อดังมาจำพรรษา ซึ่งชาวล้านเชื่อว่าดวงวิญญาณของท่านยังคงสถิตอยู่ที่วัดแห่งนี้ คือ “พ่อท่านไชยคีรี" ภายในวัดมีซากเจดีย์ขนาดเล็กอยู่ 3 องค์
พบอยู่ที่บริเวณนากุ้ง ด้านหลังวัดวิสุทธิวราวาส (วัดกลางคลอง) ม.6 ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมืองสมุทรสาคร เป็นเรือไม้ขนาดใหญ่ อายุราว 1,300-1,200 ปีก่อน รวมทั้งโบราณวัตถุต่างๆภายในเรือ นับว่าเป็นเรือที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบในประเทศไทย และยังเป็นการค้นพบภาชนะดินเผาแบบ Torpedo Jar เป็นครั้งแรกในพื้นที่ประเทศไทยอีกด้วย
ถ้ำพระโพธิสัตว์ ตั้งอยู่บนเขาน้ำพุ ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี มีการใช้พื้นที่ถ้ำมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องยังยุคประวัติศาสตร์ หลักฐานที่โดดเด่นคือภาพสลักนูนต่ำที่ผนังถ้ำ เป็นรูปพระพุทธเจ้าและเทพเจ้า สมัยทวารวดี