บ้านก้านเหลือง ต.ขามใหญ่ อ.เมืองอุบลราชธานี แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลืองมีอายุอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมายังยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น หรือตั้งแต่ 2,800-1,500 ปีมาแล้ว พบหลักฐานของการฝังศพครั้งที่ 2 ในภาชนะดินเผา ปัจจุบันมีการจัดแสดงหลุมขุดค้นและนิทรรศการ
ม.1 ต.ปากน้ำแหลมสิงห์ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกองทหารฝรั่งเศสสร้างขึ้นเพื่อเป็นกองบัญชาการและที่พักนายทหารที่รักษาปากน้ำแหลมสิงห์ เมื่อสมัยฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรี (พ.ศ.2436) ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียวทาสีแดง จึงถูกเรียกว่าตึกแดง
กองหินที่ลานสาวเอ้ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ปรากฏลวดลายภาพเขียนสีแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเส้นแนวตั้งเรียงกันเป็นแถวจำนวน 22 เส้น และมีเส้นแนวนอนเชื่อมด้านล่างหลายช่วง นอกจากนี้ยังพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง สีเทาเข้มและดำ ตกแต่งด้วลายขูดขีดเป็นเส้นคู่ขนานรอบคอภาชนะ
ตังอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ปรากฏลวดลายภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์บนเพดานของเพิงหิน เป็นภาพเขียนสีกลุ่มหนึ่งที่เขียนเป็นลายเส้นรูปทรงไม่แน่นอน หยักไปมา ลายเส้นโค้ง ลายเส้นคู่ขนาน ลายรูปปสี่เหลี่ยมขนานกัน ลายเส้นรูปสามเหลี่ยม และลายเส้นรูปสี่เหลี่ยมมุมม มาประกอบเป็นรูปเดียวกัน จนหาจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดไม่ได้
ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เพิงหินด่านใหญ่ มีปรากฏลวดลายภาพเขียนสีบนเพดานของเพิงหิน มีภาพ 2 กลุ่ม เขียนด้วยสีแดง ล้วนแล้วแต่เป็นภาพสัญลักษณ์ เช่น เส้นหยักคู่ขนาน เส้นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เส้นหยักฟันปลา เส้นรูปตัวยู (U) เส้นโค้ง เส้นตรงคู่ขนาน เส้นรูปตัววี (V)
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านเมืองพาน ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านเมืองพาน ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านเมืองพาน ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี พบภาพเขียนสีก่อประวัติศาสตร์ปรากฏอยู่บนเพดานของเพิงหิน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 จุด ที่โดดเด่นจนเป็นที่มาของชื่อถ้ำหรือเพิงหินคือภาพในจุดที่ 3 ที่มีลวดลายเป็นเส้นตรงหักมุมหลายครั้ง คล้ายกับหัวกวางมีเขา
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านเมืองพาน ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
ต.เทพกระษัตรี (เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี) อ.ถลาง จ.ภูเก็ต นักวิชาการท้องถิ่นได้ศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี สภาพพื้นที่ และเรื่องเล่าต่างๆ แล้ว จึงสันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ตั้งบ้านของท้าวเทพกระษัตรี (จัน)
ม.2 บ้านโพนพระ ต.โคกคอน อ.โคกคอน จ.หนองคาย จากหลักฐาน เช่น โครงกระดูกมนุษย์ และภาชนะดินเผา แสดงให้เห็นว่าพื้นที่บ้านโพนพระอาจเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ฝังศพของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือสมัยเหล็ก โดยมีการฝังเครื่องเซ่นไปพร้อมกับร่างของผู้ตายด้วย
บ้านโคกโพธิ์ ม.10 ต.ท่าแค อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง พบหลักฐานทางโฐราณคดีที่สำคัญคือขวานหินขัด ยุคก่อนประวัติศาสตร์
บ้านออกเหมือง ม.7 ต.ปรางหมู่ อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญคือ ขวานหินขัด ยุคก่อนประวัติศาสตร์