ต.เกาะตะเภา อ.บ้านตาก จ.ตาก นักวิชาการบางท่านจึงเสนอว่าวัดพระบรมธาตุอาจสร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 ตรงกับสมัยสุโขทัย กระทั่งถูกทิ้งเป็นวัดร้างในสมัยหลัง ก่อนที่ราว พ.ศ.2440 ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่
ต.เสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ คือ พระนอน หรือพระพุทธไสยาสน์ ขนาดใหญ่ รูปแบบศิลปะคงได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบทวารวดีปะปนกับศิลปะพื้นเมือง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15
ตั้งอยู่ที่บ้านกกกอก ต.โคราช อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ปราสาทโนนกู่สร้างขึ้นตามแบบศิลปะเขมรสมัยเกาะแกร์ อายุอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 หรือราว พ.ศ.1440-1490
ต.โคราช อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพรามหณ์ลัทธิไศวนิกาย อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 16 รูปแบบศิลปะเกาะแกร์-แปรรูป ในศิลปะเขมร ส่วนจารึกระบุศักราช 896 ตรงกับ พ.ศ.1517
ตั้งอยู่ภายในวัดเลิศสวัสดิ์ (เขาจันทร์งาม) ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เป็นแหล่งศิลปะถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวในจังหวัดนครราชสีมาเท่าที่พบในปัจจุบัน มีอายุอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ภาพเด่นมีรูปกลุ่มคนทั้งวัยเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงภาพสุนัข
ต.เสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา เมืองเสมาเป็นเมืองโบราณร่วมสมัยวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมร มีคูน้ำคันดินล้อมรอบแต่มีร่องรอยหลักฐานปรากฏว่ามีการอยู่อาศัยของคนโบราณมาตั้งแต่ช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เลขที่ 183/13 ถ.ชยางกูร บ้านธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
ต.บ้านแร่ อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ปรากฏร่องรอยการใช้พื้นที่ของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะเป็นเนินดินที่มีขนาดสูงใหญ่ มีชั้นทับถมของเศษภาชนะดินเผาในระดับที่ลึกลงไปจากผิวดิน
บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โบราณสถานโนนแกมีการก่อสร้างซ้อนทับกัน 2 สมัย คืออาคารที่สร้างขึ้นเนื่องในวัฒนธรรมเขมร ศาสนาฮินดู อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 และอาคารหรือสิมในศาสนาพุทธ มีใบเสมาหินทรายปักล้อมรอบ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 24-25
บ้านสงเปือย ต.สงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ชุมชนโบราณดงเมืองเตยปรากฏการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว ต่อเนื่องมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 มีคูน้ำคันดินล้อมรอบเมืองโบราณ
ภายในวัดโพธิ์ศรีใน ถ.โพธิ์ศรี ม.11 บ้านเชียง ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี เป็นพื้นที่ที่พบร่องรอยวัฒนธรรมบ้านเชียงยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะหลุมฝังศพของคนในวัฒนธรรมบ้านเชียง ซึ่งพบหลักฐานหลุมฝังศพ 52 หลุม พร้อมทั้งข้าวของเครื่องใช้ที่เป็นวัตถุอุทิศให้กับผู้ตายมากมาย ปัจจุบันมีการจัดแสดงหลุมขุดค้นเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน