แหล่งโบราณคดี


แสดง 21 ถึง 35 จาก 35 ผลลัพธ์

สระมน

ต.ในเมือง (เทศบาลเมืองกำแพงเพชร) อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร

อ่านเพิ่มเติม

วัดเจ้าปราบ

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

อ่านเพิ่มเติม

หลุมขุดค้นนอกกำแพงเมืองสิงห์

หลุมขุดค้นอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี ตั้งอยู่ริมฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำแควน้อย บริเวณเหนือคุ้งน้ำ นอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ของเมืองสิงห์ หรืออยู่ระหว่างกำแพงเมืองกับแม่น้ำแควน้อย

อ่านเพิ่มเติม

ป้อม คูเมือง กำแพงเมืองเชียงใหม่

เทศบาลนครเชียงใหม่ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

อ่านเพิ่มเติม

เนินโบราณสถานใกล้วัดป่าแดง

ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ตามประวัติในเอกสารสันนิษฐานระบุว่าวัดนี้น่าจะเป็นวัดป่าแดงหลวง เป็นวัดเข้าสำนักพุทธศาสนานิกายป่าแดง ปรากฏหลักฐานในเอกสารทางประวัติศาสตร์ว่า พญาติโลกราช (พ.ศ.1985-2031) สร้างวัดป่าแดงหลวงขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิพระราชบิดา (พญาสามฝั่งแกน) และพระราชมารดา

อ่านเพิ่มเติม

วัดพระอุด

ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ สภาพโบราณสถานโดยรวมคงเหลือแต่เพียงส่วนฐานเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถระบุรูปแบบที่ชัดเจนของโบราณสถานได้ แต่จากโบราณวัตถุที่พบคือชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้น และภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาล้านนา กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22

อ่านเพิ่มเติม

วัดเทพธิดารามวรวิหาร

ตั้งอยู่แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เดิมชื่อ “วัดพระยาไกรสวนหลวง” เป็นพระอารามหลวงแรกที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2379 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชทานพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าวิลาส ภายหลังทรงได้ดรับสถาปนาเป็น กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ นับเป็นพระราชธิดาที่ได้รับพระราชอิสริยยศใหญ่ยิ่งเหนือกว่าพระราชธิดาทั้งปวง 

อ่านเพิ่มเติม

ศุลกสถาน

อาคารศุลกสถาน ตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 36 กรุงเทพฯ สร้างขึ้นตั้งแต่ราวปี 2529 สมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นอาคารสำคัญที่แสดงถึงประวัติการปฏิรูประบบเศรษฐกิจการค้าของไทย ซึ่งเป็นผลจากการทำสนธิสัญญาบาวริงสมัยรัชกาลที่ 4 ปัจจุบันอาคารศุลกสถานกำลังได้รับการปรับปรุงเป็นโรงแรมขนาดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม

อาสนวิหารอัสสัมชัญ

อาสนวิหารอัสสัมชัญ ตั้งอยู่เขตบางรัก กรุงเทพฯ เป็นอาสนวิหารประจำมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ หลังปัจจุบันนี้สร้างขึ้นเมื่อปลายรัชกาลที่ 5 เป็นที่พำนักของบรรดามุขนายกผู้เป็นประมุขมิสซังสยามในอดีต เป็นศูนย์กลางของชุมชนคริสต์ศาสนิกชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงในย่านบางรัก นับเป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่สวยที่สุดในไทย

อ่านเพิ่มเติม

โรงพิมพ์คุรุสภา

โรงพิมพ์คุรุสภา หรือ โรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช ตั้งอยู่ริมถนนพระสุเมรุ บางลำพู กรุงเทพฯ ปัจจุบันเป็น "พิพิธบางลำพู" ในอดีตเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญเนื่องจากตั้งอยู่ริมกำแพงพระนคร ข้างป้อมพระสุเมรุ ต่อมาเมื่อเป็นโรงพิมพ์ ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการผลิตเอกสารตำราการเรียนการสอนของกระทรวงธรรมการและคุรุสภา

อ่านเพิ่มเติม

ศาลเจ้าพ่อเสือ

ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร ตั้งอยู่ที่ถนนมหรรณพมาบรรจบกับถนนตะนาว เป็นศาลเจ้าจีนเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชาวจีนเรียกศาลเจ้านี้ว่า "ตั่วเหล่าเอี้ย" (เทพเจ้าใหญ่) โดยเป็นที่ประดิษฐานรูปเอี่ยนเถี้ยนส่งเต้ รูปเจ้าพ่อเสือ รูปเจ้าพ่อกวนอู และรูปเจ้าแม่ทับทิม ผู้ศรัทธามักมากราบไหว้ขอพรและแก้ปีชง

อ่านเพิ่มเติม

วัดพิชยญาติการาม

วัพิชยญาติการาม หรือวัดพิชัยญาติ เดิมเป็นวัดร้าง ก่อนที่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) จะสถาปนาวัดขึ้นใหม่ใน พ.ศ.2384 ทั้งวัด แล้วน้อมเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของตระกูลบุนนาค

อ่านเพิ่มเติม

วังมะลิวัลย์

วังมะลิวัลย์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ปัจจุบันเป็นที่ทำการของ FAO เคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4 และมีประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับขบวนการเสรีไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัวอาคารสร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างโดยนายเออโคล มันเฟรดี สถาปนิกชาวอิตาเลียน สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2460

อ่านเพิ่มเติม

ถนนนครสวรรค์

ถนนนครสวรรค์เดิมมีชื่อว่า "ถนนตลาด" สร้างขึ้นมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นถนนนครสวรรค์ดังในปัจจุบันในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต 

อ่านเพิ่มเติม

กระทรวงพาณิชย์ (เดิม)

พื้นที่กระทรวงพาณิชย์เดิม ปัจจุบันคือสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มิวเซียมสยาม ตั้งอยู่ริมถนนสนามไชย บริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ เดิมเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ทั้งป้อมวไชยเชนทร์ในสมัยอยุธยา วังที่ประทับของเจ้านายสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 และกระทรวงเศรษฐการหรือกระทรวงพาณิชย์ในปัจจุบัน หลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดค้นพบ ล้วนแต่สื่อเรื่องราวและประวัติของสถานที่อย่างชัดเจน

อ่านเพิ่มเติม