ตั้งอยู่ที่ บ้านจำปุย ต.บ้างดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง พบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์กระจายอยู่หลายกลุ่มเป็นระยะๆ รวมแล้วมากกว่า 1,872 ภาพ และพบหลุมฝังศพของคนก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยหินใหม่ เมื่อ 2,900-3,200 ปีมาแล้ว
ต.นาซาว อ.เมืองน่าน จ.น่าน แหล่งโบราณคดีภูซาง หรือดอยภูซาง ในอดีต (ประมาณ 700 ถึงกว่า 3,000 ปีมาแล้ว) น่าจะเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือหินในระดับอุตสาหกรรรม เพราะพบหลักฐานที่แสดงถึงกระบวนการผลิตเครื่องมือหินเป็นจำนวนมากและกระจายตัวอยู่หนาแน่นเป็นบริเวณกว้าง
ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด หมู่บ้านถ้ำลอด ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน บริเวณเพิงผาถ้ำลอดมีคนเข้ามาใช้พื้นที่ตั้งแต่สมัยไพลสโตซีนตอนปลายจนถึงโฮโลซีนตอนต้น (ประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้ว) หลักฐานที่สำคัญได้แก่ หลุมฝังศพมนุษย์ที่ถูกฝังอยู่ในท่านอนงอเข่า อายุกว่า 13,000 ปีมาแล้ว
ตั้งอยู่ ม.8 บ้านหนองครก ต.หนองปรือ อ.รัษฎา จ.ตรัง พบหลักฐานทางโบราณคดีของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ อายุราว 2,000-3,000 ปี โดยหลักฐานที่สำคัญคือหม้อ 3 ขา และขวานหินขัด
วัดถ้ำผาปู่ ม.9 บ้านนาอ้อ ต.นาอ้อ อ.เมืองเลย จ.เลย หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญคือ ภาพเขียนสีแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะภาพสามเหลี่ยมทึบ 2 รูปต่อมุมกัน คล้ายนาฬิกาทราย นอกจากนี้ ภายในวัดยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์หลวงปู่คำดี ปภาโส พระเถระรูปสำคัญที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาวัด
วัดถ้ำผาบิ้ง ม.2 บ้านนาแก ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย สิ่งสำคัญของวัดคือ รอยพระพุทธบาทบนเพดานถ้ำ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานในปี 2478 นอกจากนี้ ภายในวัดยังมีเจดีย์พิพิธภัณฑ์ (เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย จันทสาโร) ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระอาจารย์หลุย จันทสาโร
วัดมหาธาตุ ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในอำเภอเชียงคาน สร้างขึ้นพร้อมๆ กับการก่อตั้งเมืองเชียงคาน ชาวบ้านเรียกวัดหลวงพ่อใหญ่ เป็นโบราณสถานสำคัญที่แสดงศิลปกรรมท้องถิ่นของล้านช้าง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-24
ม.4 บ้านน้อย ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย ตามประวัติวัดกล่าวว่าสร้างในสมัยที่ขุนคานสร้างเมืองเชียงคาน สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ จารึกอักษรธรรมอีสาน และพระพุทธรูปสมัยทวารวดี 3 องค์ ภายในอุโบสถ ชาวบ้านเรียกว่า พระพุทธรูปสามพี่น้อง คือ หลวงพ่อแสนมงคล หลวงพ่อโชค และ หลวงพ่อชัย
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดถ้ำเขาคีรีบรรพต บ้านภูเขาทอง ต.บ้านม่วง อ.สังคม จ.หนองคาย บริเวณริมแม่น้ำโขง เป็นเหมืองแร่ทองแดงที่อาจจะเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย พบร่องรอยกิจกรรมการทำเหมืองแร่หลายจุดด้วยกัน ทั้งซากเหมืองใต้ดิน ปล่อง อุโมงค์ ลานบดแร่
ตั้งอยู่ที่วัดพระพุทธบาทภูเก้า อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ บ้านดงบาก ต.นิคมพัฒนา อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญคือ ภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ ภาพคน ภาพปลา รวมถึงภาพเชิงสัญลักษณ์ต่างๆ
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง บ้านทุ่งยั้ง ม.3 ต.ทุ่งยั้ง (เทศบาลตำบลทุ่งยั้ง) อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง คงสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยพระยาลิไท ราวปี พ.ศ.1902 ตามหลักฐานศิลาจารึกวัดป่าแดด หลักที่ 9 ส่วนคำว่าทุ่งยั้ง มาจากตำนานเก่าแก่ที่เล่ากันมาว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับยับยั้งที่เมืองนี้
วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ในอุทยานเมืองเก่าพิจิตร ม.4 บ้านเมืองเก่า ต.เมืองเก่า อ.เมืองพิจิตร จ.พิจิตร สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยและมีการใช้งานต่อเนื่องจนถึงสมัยอยุธยา ตั้งอยู่กึ่งกลางเมืองพิจิตรเก่า ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านเก่า สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้างคู่กับเมืองพิจิตร
ต.เกาะตะเภา อ.บ้านตาก จ.ตาก นักวิชาการบางท่านจึงเสนอว่าวัดพระบรมธาตุอาจสร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 ตรงกับสมัยสุโขทัย กระทั่งถูกทิ้งเป็นวัดร้างในสมัยหลัง ก่อนที่ราว พ.ศ.2440 ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่
ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เป็นแหล่งวัตถุดิบหินทรายที่สำคัญแห่งหนึ่งของคนโบราณช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-18 สำหรับใช้ในการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ โดยเฉพาะปราสาทในวัฒนธรรมเขมรในเขตอำเภอสีคิ้วและอำเภอสูงเนิน
ต.เสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ คือ พระนอน หรือพระพุทธไสยาสน์ ขนาดใหญ่ รูปแบบศิลปะคงได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบทวารวดีปะปนกับศิลปะพื้นเมือง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15