ต.ปากจั่น อ.กระบุรี จ.ระนอง พบหลักฐานประเภทเศษภาชนะดินเผาทั้งเนื้อดินและเนื้อแกร่ง และพบหลักฐานประเภทลูกปัดแก้วสีเดียว(อินโด-แปซิฟิก) ลูกปัดหิน(คาร์เนเลียนและอาเกต) และเครื่องประดับที่ทำจากทอง ซึ่งล้วนเป็นสินค้าที่นิยมในสมัยอินโด-โรมันนั้น แสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณแห่งนี้ มีการติดต่อกับชุมชนภายนอก สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 8
ต.กำพวน อ.สุขสำราญ จ.ระนอง แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นเมืองท่ายุคแรก ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการติดต่อทางการค้ากับอินเดียอย่างชัดเจน หลักฐานสำคัญที่พบมีทั้งลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินกึ่งมีค่า ลูกปัดทอง เครื่องปั้นดินเผาจากทั้งที่ผลิตในท้องถิ่นและจากดินแดนตะวันตก
ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด หมู่บ้านถ้ำลอด ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน บริเวณเพิงผาถ้ำลอดมีคนเข้ามาใช้พื้นที่ตั้งแต่สมัยไพลสโตซีนตอนปลายจนถึงโฮโลซีนตอนต้น (ประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้ว) หลักฐานที่สำคัญได้แก่ หลุมฝังศพมนุษย์ที่ถูกฝังอยู่ในท่านอนงอเข่า อายุกว่า 13,000 ปีมาแล้ว
วัดถ้ำผาบิ้ง ม.2 บ้านนาแก ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย สิ่งสำคัญของวัดคือ รอยพระพุทธบาทบนเพดานถ้ำ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานในปี 2478 นอกจากนี้ ภายในวัดยังมีเจดีย์พิพิธภัณฑ์ (เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย จันทสาโร) ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระอาจารย์หลุย จันทสาโร
วัดมหาธาตุ ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในอำเภอเชียงคาน สร้างขึ้นพร้อมๆ กับการก่อตั้งเมืองเชียงคาน ชาวบ้านเรียกวัดหลวงพ่อใหญ่ เป็นโบราณสถานสำคัญที่แสดงศิลปกรรมท้องถิ่นของล้านช้าง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-24
ม.4 บ้านน้อย ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย ตามประวัติวัดกล่าวว่าสร้างในสมัยที่ขุนคานสร้างเมืองเชียงคาน สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ จารึกอักษรธรรมอีสาน และพระพุทธรูปสมัยทวารวดี 3 องค์ ภายในอุโบสถ ชาวบ้านเรียกว่า พระพุทธรูปสามพี่น้อง คือ หลวงพ่อแสนมงคล หลวงพ่อโชค และ หลวงพ่อชัย
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง บ้านทุ่งยั้ง ม.3 ต.ทุ่งยั้ง (เทศบาลตำบลทุ่งยั้ง) อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง คงสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยพระยาลิไท ราวปี พ.ศ.1902 ตามหลักฐานศิลาจารึกวัดป่าแดด หลักที่ 9 ส่วนคำว่าทุ่งยั้ง มาจากตำนานเก่าแก่ที่เล่ากันมาว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับยับยั้งที่เมืองนี้
วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ในอุทยานเมืองเก่าพิจิตร ม.4 บ้านเมืองเก่า ต.เมืองเก่า อ.เมืองพิจิตร จ.พิจิตร สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยและมีการใช้งานต่อเนื่องจนถึงสมัยอยุธยา ตั้งอยู่กึ่งกลางเมืองพิจิตรเก่า ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านเก่า สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้างคู่กับเมืองพิจิตร
ต.เกาะตะเภา อ.บ้านตาก จ.ตาก นักวิชาการบางท่านจึงเสนอว่าวัดพระบรมธาตุอาจสร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 ตรงกับสมัยสุโขทัย กระทั่งถูกทิ้งเป็นวัดร้างในสมัยหลัง ก่อนที่ราว พ.ศ.2440 ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่
ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เป็นแหล่งวัตถุดิบหินทรายที่สำคัญแห่งหนึ่งของคนโบราณช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-18 สำหรับใช้ในการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ โดยเฉพาะปราสาทในวัฒนธรรมเขมรในเขตอำเภอสีคิ้วและอำเภอสูงเนิน
ต.เสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ คือ พระนอน หรือพระพุทธไสยาสน์ ขนาดใหญ่ รูปแบบศิลปะคงได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบทวารวดีปะปนกับศิลปะพื้นเมือง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15
ตั้งอยู่ที่บ้านกกกอก ต.โคราช อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ปราสาทโนนกู่สร้างขึ้นตามแบบศิลปะเขมรสมัยเกาะแกร์ อายุอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 หรือราว พ.ศ.1440-1490
ต.โคราช อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพรามหณ์ลัทธิไศวนิกาย อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 16 รูปแบบศิลปะเกาะแกร์-แปรรูป ในศิลปะเขมร ส่วนจารึกระบุศักราช 896 ตรงกับ พ.ศ.1517
ต.เสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา เมืองเสมาเป็นเมืองโบราณร่วมสมัยวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมร มีคูน้ำคันดินล้อมรอบแต่มีร่องรอยหลักฐานปรากฏว่ามีการอยู่อาศัยของคนโบราณมาตั้งแต่ช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย