วัดมหาธาตุ ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในอำเภอเชียงคาน สร้างขึ้นพร้อมๆ กับการก่อตั้งเมืองเชียงคาน ชาวบ้านเรียกวัดหลวงพ่อใหญ่ เป็นโบราณสถานสำคัญที่แสดงศิลปกรรมท้องถิ่นของล้านช้าง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-24
ม.4 บ้านน้อย ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย ตามประวัติวัดกล่าวว่าสร้างในสมัยที่ขุนคานสร้างเมืองเชียงคาน สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ จารึกอักษรธรรมอีสาน และพระพุทธรูปสมัยทวารวดี 3 องค์ ภายในอุโบสถ ชาวบ้านเรียกว่า พระพุทธรูปสามพี่น้อง คือ หลวงพ่อแสนมงคล หลวงพ่อโชค และ หลวงพ่อชัย
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เลขที่ 183/13 ถ.ชยางกูร บ้านธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
ต.บ้านแร่ อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ปรากฏร่องรอยการใช้พื้นที่ของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะเป็นเนินดินที่มีขนาดสูงใหญ่ มีชั้นทับถมของเศษภาชนะดินเผาในระดับที่ลึกลงไปจากผิวดิน
บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี มีการใช้พื้นที่ของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การตั้งถิ่นฐานระยะแรกน่าจะเป็นชุมชนโบราณในสมัยสำริด อายุราว 2,500 ปีมาแล้ว ทางทิศตะวันออกของเมืองด้านนอกคูน้ำคันดิน ปรากฏการสร้างศาสนสถานขึ้น คือ โบราณสถานโนนแก ส่วนด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้นอกคูเมือง มีการขุดหนองน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ซึ่งน่าจะเป็นบารายในสมัยวัฒนธรรมเขมร
โรงเรียนบ้านชุมแพ ม.10 ถ.ชายทุ่ง บ้านชุมแพ ต.ชุมแพ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ปรากฏลวดลายของภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ 2 จุด เขียนเป็นภาพลายเส้นด้วยสีแดง มีลวดลายเป็นเส้นคู่ขนานคล้ายตัววาย (Y) กากบาท ภาพเส้นคดขนานกันหลายเส้น ลายรูปวงกลมที่มีเส้นคู่ขนานยื่นออกไป 6 ทิศทาง คล้ายกับพระอาทิตย์ นอกจากนี้ยังมีเส้นคู่ขนานที่เป็นตัวเชื่อมต่อกับภาพต่างๆ อีกด้วย
กองหินที่ลานสาวเอ้ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ปรากฏลวดลายภาพเขียนสีแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเส้นแนวตั้งเรียงกันเป็นแถวจำนวน 22 เส้น และมีเส้นแนวนอนเชื่อมด้านล่างหลายช่วง นอกจากนี้ยังพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง สีเทาเข้มและดำ ตกแต่งด้วลายขูดขีดเป็นเส้นคู่ขนานรอบคอภาชนะ
รอยพระบาทหลังเต่า อยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านเมืองพาน ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เป็นรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่บนลานหินบริเวณสันเขาทางทิศใต้ของภูพระบาท ที่มาของชื่อพระพุทธบาทหลังเต่า มาจากก้อนหินขนาดใหญ่ก้อนหนึ่งที่อยู่บริเวณใกล้เคียง มีลักษณะด้านบนโค้งและมีลวดลายคล้ายหลังเต่า ชาวบ้านจึงเรียกพระพุทธบาทที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกันว่า “พระพุทธบาทหลังเต่า”
วัดโพธิ์ธาตุ ถ.โพธิ์ธาตุ ม.1 บ้านชุมแพ (เทศบาลเมืองชุมแพ) ต.ชุมแพ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น