ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เป็นแหล่งวัตถุดิบหินทรายที่สำคัญแห่งหนึ่งของคนโบราณช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-18 สำหรับใช้ในการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ โดยเฉพาะปราสาทในวัฒนธรรมเขมรในเขตอำเภอสีคิ้วและอำเภอสูงเนิน
ต.เสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ คือ พระนอน หรือพระพุทธไสยาสน์ ขนาดใหญ่ รูปแบบศิลปะคงได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบทวารวดีปะปนกับศิลปะพื้นเมือง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15
ตั้งอยู่ที่บ้านกกกอก ต.โคราช อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ปราสาทโนนกู่สร้างขึ้นตามแบบศิลปะเขมรสมัยเกาะแกร์ อายุอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 หรือราว พ.ศ.1440-1490
ต.โคราช อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพรามหณ์ลัทธิไศวนิกาย อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 16 รูปแบบศิลปะเกาะแกร์-แปรรูป ในศิลปะเขมร ส่วนจารึกระบุศักราช 896 ตรงกับ พ.ศ.1517
ตั้งอยู่ภายในวัดเลิศสวัสดิ์ (เขาจันทร์งาม) ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เป็นแหล่งศิลปะถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวในจังหวัดนครราชสีมาเท่าที่พบในปัจจุบัน มีอายุอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ภาพเด่นมีรูปกลุ่มคนทั้งวัยเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงภาพสุนัข
ต.เสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา เมืองเสมาเป็นเมืองโบราณร่วมสมัยวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมร มีคูน้ำคันดินล้อมรอบแต่มีร่องรอยหลักฐานปรากฏว่ามีการอยู่อาศัยของคนโบราณมาตั้งแต่ช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย
ต.บ้านแร่ อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ปรากฏร่องรอยการใช้พื้นที่ของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะเป็นเนินดินที่มีขนาดสูงใหญ่ มีชั้นทับถมของเศษภาชนะดินเผาในระดับที่ลึกลงไปจากผิวดิน
บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โบราณสถานโนนแกมีการก่อสร้างซ้อนทับกัน 2 สมัย คืออาคารที่สร้างขึ้นเนื่องในวัฒนธรรมเขมร ศาสนาฮินดู อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 และอาคารหรือสิมในศาสนาพุทธ มีใบเสมาหินทรายปักล้อมรอบ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 24-25
ต.พระธาตุ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม พระธาตุนาดูนสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2528-2529 บริเวณที่ตั้งของพระธาตุนาดูน เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้จากเจดีย์สำริดขนาดเล็ก (ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น) ที่พบในบริเวณที่ดินของนายทองดี ปะวะปูตา
ตั้งอยู่ ถ.สรรพสิทธิ์ ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี (เทศบาลนครอุบลราชธานี) โบราณสถานสำคัญคือ อุโบสถหรือสิมเก่าที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวัด ที่เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะล้านช้างและศิลปะรัตนโกสินทร์
วัดบ้านตำแย ตั้งอยู่ ม.1 บ้านตำแย ต.ไร่น้อย อ.เมืองอุบลราชธานี โบราณสถานสำคัญได้แก่ สิม ศิลปะล้านช้างผสมผสานกับศิลปะท้องถิ่น มีตัวอักษรไทยน้อย ภาษาอีสานผสมกับภาษาบาลีเขียนอยู่ที่ผนังด้านนอกเหนือประตูทางเข้าสิมว่า สิมหลังนี้สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2417
ซ.สุขาสงเคราะห์ (ระหว่างซอยสุขาสงเคราะห์ 9 กับซอยสุขาสงเคราะห์ 11) ถ.ชยางกูร ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี (เทศบาลนครอุบลราชธานี) จ.อุบลราชธานี