ต.เกาะตะเภา อ.บ้านตาก จ.ตาก นักวิชาการบางท่านจึงเสนอว่าวัดพระบรมธาตุอาจสร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 ตรงกับสมัยสุโขทัย กระทั่งถูกทิ้งเป็นวัดร้างในสมัยหลัง ก่อนที่ราว พ.ศ.2440 ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่
ต.เสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ คือ พระนอน หรือพระพุทธไสยาสน์ ขนาดใหญ่ รูปแบบศิลปะคงได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบทวารวดีปะปนกับศิลปะพื้นเมือง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15
ต.เสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา เมืองเสมาเป็นเมืองโบราณร่วมสมัยวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมร มีคูน้ำคันดินล้อมรอบแต่มีร่องรอยหลักฐานปรากฏว่ามีการอยู่อาศัยของคนโบราณมาตั้งแต่ช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เลขที่ 183/13 ถ.ชยางกูร บ้านธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
ต.บ้านแร่ อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ปรากฏร่องรอยการใช้พื้นที่ของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะเป็นเนินดินที่มีขนาดสูงใหญ่ มีชั้นทับถมของเศษภาชนะดินเผาในระดับที่ลึกลงไปจากผิวดิน
บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โบราณสถานโนนแกมีการก่อสร้างซ้อนทับกัน 2 สมัย คืออาคารที่สร้างขึ้นเนื่องในวัฒนธรรมเขมร ศาสนาฮินดู อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 และอาคารหรือสิมในศาสนาพุทธ มีใบเสมาหินทรายปักล้อมรอบ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 24-25
ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต วัดพระนางสร้าง เป็นวัดประจำเมืองถลางที่เก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่ง เคยเป็นที่ตั้งทัพพม่าในคราวศึกถลางเมื่อ พ.ศ.2328 มีตำนานการสร้างสัมพันธ์กับ “พระนางเลือดขาว” จากลักษณะสถาปัตยกรรมและประติมากรรม นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าวัดพระนางสร้างน่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ตั้งอยู่ ถ.สรรพสิทธิ์ ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี (เทศบาลนครอุบลราชธานี) โบราณสถานสำคัญคือ อุโบสถหรือสิมเก่าที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวัด ที่เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะล้านช้างและศิลปะรัตนโกสินทร์
วัดบ้านตำแย ตั้งอยู่ ม.1 บ้านตำแย ต.ไร่น้อย อ.เมืองอุบลราชธานี โบราณสถานสำคัญได้แก่ สิม ศิลปะล้านช้างผสมผสานกับศิลปะท้องถิ่น มีตัวอักษรไทยน้อย ภาษาอีสานผสมกับภาษาบาลีเขียนอยู่ที่ผนังด้านนอกเหนือประตูทางเข้าสิมว่า สิมหลังนี้สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2417