ม.11 บ้านรางจั่น ต.หนองขาว (เทศบาลตำบลหนองหญ้าดอกขาว) อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
เลขที่ 1 ม.1 บ้านหนองขาว ต.หนองขาว (เทศบาลตำบลหนองขาว) อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
ถ.สุขุมวิทนครระยอง 62 (ถ.หลักเมือง) ต.ท่าประดู (เทศบาลนครระยอง) อ.เมืองระยอง จ.ระยอง เสาหลักเมืองของจังหวัดระยองสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2438 ตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ศาลเป็นศาลไม้ ต่อมาราว พ.ศ.2468 เสาหลักเมืองและศาลชำรุดและหักลง ชาวบ้านจึงช่วยกันทำการปักลงที่เดิม แต่ยังไม่มีการสร้างอาคารคลุม คงปล่อยให้อยู่กลางแดดกลางฝนตามสภาพเดิม จน พ.ศ.2532 ชาวระยองเห็นควรปรับปรุงหลักเมืองและศาลหลักเมืองให้มั่นคงแข็งแรง
ต.เทพกระษัตรี (เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี) อ.ถลาง จ.ภูเก็ต นักวิชาการท้องถิ่นได้ศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี สภาพพื้นที่ และเรื่องเล่าต่างๆ แล้ว จึงสันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ตั้งบ้านของท้าวเทพกระษัตรี (จัน)
อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ (เก่า) ปัจจุบันอยู่ในสถานีตำรวจภูธรเมืองหนองคาย อ.เมืองหนองคาย เป็นอนุสรณ์สถานที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ได้โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2429 เพื่อบรรจุอัฐิของเหล่าทหารที่เสียสละชีวิตปกป้องประเทศจากเหตุการณ์ปราบฮ่อเมื่อ พ.ศ.2420-2428
ม.3 และ ม.4 ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต “โคกพม่า” แต่เดิมเป็นที่นาของเจ้าเมืองถลางบ้านเคียน และเป็นสมรภูมิในศึกถลางเมื่อปี 2328 โดยปรากฏตามหลักฐานประวัติศาสตร์ว่าทัพถลางชนะกองทัพพม่าบริเวณนี้เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2328 หรือที่มักเรียกว่า วันถลางชนะศึก
ตั้งอยู่ที่แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นวัดประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี 3 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9
ตั้งอยู่แขวงวัดราชบพพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ พลับพลานี้สร้างไว้สำหรับรับเสด็จพระเจ้าแผ่นดินในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินมาโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เพื่อมาพระราชทานผ้าพระกฐิน ตั้งอยู่บนกำแพงวัดใกล้กับสีมามุมกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือด้านถนนเฟื่องนครตัดกับถนนราชบพิธ
แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระมหาเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมหลักของวัดราชบพิธ อยู่ตำแหน่งกึ่งกลางของอาคารบนฐานไพที ภายในวงล้อมของพระระเบียงกลมและพระวิหารทั้ง 4 ทิศ สร้างขึ้นเพื่อเป็นหลักสำคัญในการเคารพบูชา ทั้งองค์เจดีย์และฐานคูหาประดับกระเบื้องเคลือบลายเบญจรงค์ทั้งองค์
แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระระเบียงหรือระเบียงคดตั้งอยู่บนฐานไพทีของอาคารหลักในส่วนเขตพุทธาวาสของวัดราชบพิธ ผนังภายนอกของพระระเบียงบุกระเบื้องเบญจรงค์ ลายกรวยเชิงที่โคนผนัง ลายทั่วไปเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ เทพนมก้านแย่งพื้นเหลือง เป็นลายเดียวกับผนังพระอุโบสถ
แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นศาลาขนาดเล็กตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารแต่ละหลังบนฐานไพทีในเขตพุทธาวาสของวัดราชบพิธฯ ตั้งอยู่ทั้ง 4 ทิศ ทิศละ 2 คู่ รวม 8 หลัง เป็นอาคารแบบไทยประเพณี เป็นอาคารโถงโล่งมีปีกนกรอบ
แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระวิหารทิศมี 2 หลัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพระเจดีย์ พระวิหารทิศนี้นับเป็นทางเข้าขนาดใหญ่เพื่อเข้าสู่บริเวณภายในพระระเบียงรอบพระเจดีย์วัดราชบพิธฯ
แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระวิหารวัดราชบพิธฯ มีรูปทรงเป็นแบบเดียวกับพระอุโบสถทั้งภายนอกและภายใน ต่างแต่ว่าบานประตูและบานหน้าต่างสลักด้วยไม้เป็นลวดลายเครื่องราชอิสริยาภรณ์เท่านั้น ภายในพระวิหารประดิษฐานพระประทีปวโรทัย
แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นพระอุโบสถที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่งของไทย รูปทรงภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย ผนังบุกระเบื้องเบญจรงค์ บานประตูหน้าต่างประดับมุกเป็นรูปเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ภายในพระอุโบสถเป็นแบบยุโรปผสมแบบไทย เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีถึง 6 พระองค์