ตั้งอยู่ที่ บ้านเหนือคลอง ต.บ้านกลาง อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในถ้ำและตามเพิงผา ร่วมสมัยกับกลุ่มแหล่งโบราณคดีที่อ่าวลึกและอ่าวพังงา หลักฐานที่พบ เช่น ภาพเขียนสีโบราณที่ผนังถ้ำโนราห์และถ้ำช้างนอก เขียนด้วยสีแดงเป็นภาพบุคคล สัญลักษณ์ และรูปเรขาคณิต อายุราว 5,000-3,000 ปีมาแล้ว
ต.นาวง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง เขาโพธิ์โทน เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,000-4,000 ปีมาแล้ว หลักฐานสำคัญที่เคยพบคือ ภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดาลายเชือกทาบ และชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ นอกจากนั้น ภายในเขามีถ้ำที่ชาวบ้านรู้จักคือ ถ้ำต่ำและถ้ำสูง แต่ละถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม
ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม (ปัตตานี-นราธิวาส) ต.ตันหยงลุโละ อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี พบร่องรอยหลักฐานเกี่ยวกับกิจกรรมการหล่อปืนของเมืองปัตตานีรวมถึงปืนนางพญาตานี ตรงกับสมัยอยุธยา
ตั้งอยู่ ต.ตันหยงลุโละ อ.เมืองปัตตานี เดิมปรากฏไม้ประตูจมลึกอยู่ในดิน สภาพผุพัง สันนิษฐานว่าเป็นส่วนหนึ่งของประตูเมืองปัตตานี ในสมัยอยุธยา ปัจจุบันสภาพพื้นที่เป็นป่ารกร้าง
ตั้งอยู่ด้านหลังหมวดการทางปะทิว ริม ถ.เพชรเกษม ต.เขาไชยราช อ.ปะทิว จ.ชุมพร จากการสำรวจของกรมศิลปากร พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ คือเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เ สันนิษฐานว่าถ้ำแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์
เลขที่ 20 ม.2 ถ.สายหัวคู-ขุนประทิง ต.ตากแดด อ.เมืองชุมพร บริเวณที่ตั้งของศาลเสื้อเมืองนี้คือ “วัดเสื้อเมือง” ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ สภาพเดิมของศาลเสื้อเมืองเป็นศาลาไม้มุงสังกะสี ต่อมาบูรณะใหม่เป็นอาคารคอนกรีต ภายในศาลตั้งแท่นบูชามีแท่งหินทรายและหลักไม้เรียกว่า “พระทรงเมือง”
ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง สภาพแหล่งโบราณคดีเป็นเพิงผาที่อยู่ด้านปลายทางทิศเหนือของเขาหญ้าระ พบเครื่องมือหินกะเทาะด้านเดียวแบบหัวบิเนียน และเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน กําหนดอายุได้ราว 10,000 – 6,000 ปี มาแล้ว อาจใช้เป็นจุดแวะพักระหว่างเดินทางของคนก่อนประวัติศาสตร์
ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง พบเครื่องมือหินและเศษภาชนะดินเผาที่แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาไม้แก้ว สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งถิ่นฐานชั่วคราวหรือเป็นที่พักชั่วคราวระหว่างเดินทางของมนุษย์ยุค่กอนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 4,000 – 2,000 ปีมาแล้ว และอาจถูกใช้เป็นจุดสังเกตในระหว่างการเดินทางด้วย
ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง สันนิษฐานว่าแหล่งโบราณคดีเขาหน้าเนื้อเป็นแหล่งที่พักชั่วคราวของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว 4,000-2,000 ปีมาแล้ว เพราะมีทำเลอยู่บริเวณช่องเขาสําหรับเดินทางระหว่างตอนในทวีปออกสู่ทะเล พบเครื่องมมือหิน เศษภาชนะดินเผาเคลือบน้ำดินสีแดงขัดมัน และเปลือกหอยกัน ที่น่าจะถูกนำมาเป็นอาหาร
ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติเจ้าไหม ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์บนเขาเจ้าไหม ได้แก่ ภาพเขียนสี เครื่องมื่อหินและเครื่องปั้นดินเผา สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในช่วง 4,000-2,000 ปีมาแล้ว
บริเวณเพิงผาเขียน เขาพนมดบ อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ต.บักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ พบร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ในอดีต 2 จุด คือ ภาพศิลปะถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งภาพเขียนสี และภาพสลัก
ต.คลองน้ำใส อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เป็นแหล่งอยู่อาศัยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-18 หลักฐานสำคัญได้แก่ เครื่องถ้วยเขมรจากแหล่งเตาบุรีรัมย์และเตาพนมกุเลน เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซ่งภาคใต้ แท่นหินบด หินบด คันฉ่องสำริด ขันสำริด กำไลสำริด ลูกกระพรวนสำริด ชิ้นส่วนสำริด ห่วงสำริด ก้อนตะกั่ว และชิ้นส่วนกระดิ่งสำริด เป็นต้น