ถ้ำศิลป์ ตั้งอยู่บ้านบันนังลูวา ต.หน้าถ้ำ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ทั้งภาพเขียนบนผนังถ้ำ เศษภาชนะดินเผา เครื่อมือหินขัด ลูกปัดเปลือกหอย อายุราว 3,000 ปีมาแล้ว และศิลปกรรมบนผนังถ้ำยุคประวัติศาสตร์ สมัยศรีวิชัย-สมัยสุโขทัย
เขายะลา อยู่ใน ต.ลิดล และ ต.ยะลา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในถ้ำและเพิงผาหลายแห่งบนเขายะลา โดยเฉพาะภาพเขียนสี ทั้งเขียนด้วยสีแดงและสีดำ นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนกะโหลกมนุษย์ เศษภาชนะดินเผา เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินขัด ดินสีแดง ที่อาจใช้สำหรับสร้างผลงานบนผนังถ้ำ อายุของแหล่งโบราณคดีราว 3,000-2,000 ปีมาแล้ว เป็นต้นมา
เมืองโบราณบ้านประแว ตั้งอยู่ ม.2 ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เป็น 1 ใน 3 เมืองของเมืองโบราณยะรัง มีการใช้พื้นที่มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 และมีการใช้พื้นที่หนาแน่นใช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 โบราณสถานที่สำคัญภายในเมืองพบ ซากสิ่งก่อสร้างอิฐ 2 แห่ง และบ่อน้ำเก่า 5 แห่ง
บ้านท่าเรือ อ.เมืองนครศรีธรรมราช เป็นชุมชนหนึ่งในกลุ่มชุมชนโบราณคลองท่าเรือ มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ แต่หลักฐานจะเด่นชัดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18 โบราณวัตถุสำคัญ เช่น ขวานหินขัด กำไลหิน ลูกปัดแก้วหรือลูกปัดมีตา เครื่องถ้วยจีนเคลือบสีเขียวมะกอกแบบยั่ว (Yue ware)
ตั้งอยู่ที่บ้านสามแก้ว อ.เมืองชุมพร เป็นชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 2 และเจริญในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 -10 มีการสร้างกำแพงดินล้อมรอบชุมชน มีการสร้างคูน้ำหรือทางระบายน้ำ มีการจัดแบ่งพื้นที่อุตสาหกรรมไว้นอกเขตชุมชน
ตั้งอยู่ริม ถ.สันตินิมิต ม.2 ต.ละเม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นโบราณสถานสำคัญที่มักใช้ศึกษาสถาปัตยกรรมสมัยศรีวิชัย เนื่องจากมีสภาพสมบูรณ์ที่สุด ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นเจดีย์ทรงปราสาท ก่ออิฐไม่สอปูน ขัดผิวหน้าอิฐเรียบ ผังเป็นรูปกากบาท
ต.นาซาว อ.เมืองน่าน จ.น่าน แหล่งโบราณคดีภูซาง หรือดอยภูซาง ในอดีต (ประมาณ 700 ถึงกว่า 3,000 ปีมาแล้ว) น่าจะเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือหินในระดับอุตสาหกรรรม เพราะพบหลักฐานที่แสดงถึงกระบวนการผลิตเครื่องมือหินเป็นจำนวนมากและกระจายตัวอยู่หนาแน่นเป็นบริเวณกว้าง
ตั้งอยู่ที่ ต.ปัว อ.ปัว จ.น่าน เป็นเมืองโบราณของล้านนาสมัยแรกเริ่มตั้งเมืองน่าน ที่ตั้งเมืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ดี จากการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี พบหลักฐานการใช้พื้นที่บริเวณเมืองปัวมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ (5,000-3,000 ปีมาแล้ว)