แหล่งโบราณคดี


แสดง 1 ถึง 20 จาก 41 ผลลัพธ์

โคกพลับ

ตั้งอยู่  ต.โพหัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี  ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 3,000-2,000 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตเพื่อการอยู่อาศัยและการฝังศพ

อ่านเพิ่มเติม

บ้านโป่งมะนาว

ตั้งอยู่ ต.ห้วยขุนราม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี พบหลักฐานของชุมชนและสุสานยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ 3,500-1,500 ปีมาแล้ว หลักฐานสำคัญ เช่น หลุมฝังศพมนุษย์ และวัตถุอุทิศให้กับศพ ทั้งเครื่องมือหินขัด เครื่องประดับทำจากหินอ่อนและเปลือกหอยทะเล ภาชนะดินเผา เครื่องประดับทำจากสำริด เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดหินกึ่งมีค่า ลูกปัดแก้ว แม่พิมพ์สำหรับหล่อหัวลูกศรโลหะ แวดินเผา ลูกกระสุนดินเผา เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำบ้านหนองมะค่า4

ต.สองพี่น้อง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี พบหลักฐานของการใช้พื้นที่เพื่อประกอบพิธีกรรมฝังศพของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในสังคมเกษตรกรรมที่มีการใช้เครื่องมือหินขัดและภาชนะดินเผา

อ่านเพิ่มเติม

บ้านท้ายไร่

บ้านท้ายไร่ ต.วังกระแจะ อ.เมืองตราด เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 3,000-2,500 ปีมาแล้ว โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ได้แก่ กลองมโหระทึกแบบเฮกเกอร์1 กำไลสำริด ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ เครื่องมือเหล็กประเภทขวานมีบ้อง ง้าวมีบ้อง และเสียมมีบ้อง

อ่านเพิ่มเติม

เมืองศรีเทพ

เมืองศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ พบหลักฐานว่าเป็นชุมชนโบราณตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 5-7 หรือประมาณ 2000 ปีมาแล้ว กระทั่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ในสมัยทวารวดีและสมัยเขมร ราวพุทธศตวรรษที่ 12-18 มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ

อ่านเพิ่มเติม

ออบหลวง

ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติออบหลวง เขตติดต่อระหว่าง อ.ฮอด และ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นแหล่งโบราณคดีในภาคเหนือแห่งแรกที่พบหลักฐานเกี่ยวกับสำริดและโลหวิทยา และยังพบหลักฐานที่เก่าไปถึงสมัยหินกลางและหินใหม่

อ่านเพิ่มเติม

บ้านยางทองใต้

แหล่งโบราณคดีบ้านยางทองใต้ ต.สันปูเลย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรมฝังศพ ของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือสมัยเหล็ก ราวพุทธศตวรรษที่ 1-5 

อ่านเพิ่มเติม

บ้านวังไฮ

ตั้งอยู่บ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมืองลำพูน ปรากฏร่องรอยหลักฐานการใช้พื้นที่เป็นแหล่งสุสานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กระทั่งเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ สมัยหริภุญชัย 

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำพระไทรโยค

แหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ใน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีการขุดค้นอย่างเป็นระบบแหล่งแรก ๆ ของไทย โดยคณะสำรวจไทย-เดนมาร์ก ระหว่างปี 2503-2505

อ่านเพิ่มเติม

บ้านดอนตาเพชร

ต.ดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก โบราณวัตถุสำคัญ เช่น เครื่องประดับที่่ทำจากแก้วและหินกึ่งมีค่า รวมถึงวัตถุสำริดรูปไก่ลอยตัว รูปกรงหรือสุ่มไก่สำริด รูปหงส์ รูปนกยูง ลูกกระพรวน กำไล, แหวน, ภาชนะรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกระบอก ทรงขัน ทรงถังน้ำ ฝามีจุกแหลม ทัพพีสำริด และภาชนะสำริดชิ้นหนึ่งเป็นรูปผู้หญิงเกล้ามวยผม หูยาว สวมเสื้อ พบแต่ส่วนบนของร่างกายผู้หญิง

อ่านเพิ่มเติม

เพิงผาปาโต๊ะโระ

ม.7 บ้านบูเกตยามู ต.ควนโดน อ.ควนโดน จ.สตูล

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำเพิง

ม.5 บ้านทุ่งไพล ต.คูหา อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา

อ่านเพิ่มเติม

ภาพเขียนสีค่ายประตูผา

ตั้งอยู่ที่ บ้านจำปุย ต.บ้างดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง พบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์กระจายอยู่หลายกลุ่มเป็นระยะๆ รวมแล้วมากกว่า 1,872 ภาพ และพบหลุมฝังศพของคนก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยหินใหม่ เมื่อ 2,900-3,200 ปีมาแล้ว 

อ่านเพิ่มเติม

ภูซาง

ต.นาซาว อ.เมืองน่าน จ.น่าน แหล่งโบราณคดีภูซาง หรือดอยภูซาง ในอดีต (ประมาณ 700 ถึงกว่า 3,000 ปีมาแล้ว) น่าจะเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือหินในระดับอุตสาหกรรรม เพราะพบหลักฐานที่แสดงถึงกระบวนการผลิตเครื่องมือหินเป็นจำนวนมากและกระจายตัวอยู่หนาแน่นเป็นบริเวณกว้าง

อ่านเพิ่มเติม

เพิงผาถ้ำลอด

ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด หมู่บ้านถ้ำลอด ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน บริเวณเพิงผาถ้ำลอดมีคนเข้ามาใช้พื้นที่ตั้งแต่สมัยไพลสโตซีนตอนปลายจนถึงโฮโลซีนตอนต้น (ประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้ว) หลักฐานที่สำคัญได้แก่ หลุมฝังศพมนุษย์ที่ถูกฝังอยู่ในท่านอนงอเข่า อายุกว่า 13,000 ปีมาแล้ว

อ่านเพิ่มเติม

เมืองเสมา

ต.เสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา เมืองเสมาเป็นเมืองโบราณร่วมสมัยวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมร มีคูน้ำคันดินล้อมรอบแต่มีร่องรอยหลักฐานปรากฏว่ามีการอยู่อาศัยของคนโบราณมาตั้งแต่ช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย

อ่านเพิ่มเติม

โนนแก

บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โบราณสถานโนนแกมีการก่อสร้างซ้อนทับกัน 2 สมัย คืออาคารที่สร้างขึ้นเนื่องในวัฒนธรรมเขมร ศาสนาฮินดู อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 และอาคารหรือสิมในศาสนาพุทธ มีใบเสมาหินทรายปักล้อมรอบ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 24-25

อ่านเพิ่มเติม

บ้านโคกคอน

ม.4, ม.5 บ้านโคกคอน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนโบราณดงเมืองเตย

บ้านสงเปือย ต.สงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ชุมชนโบราณดงเมืองเตยปรากฏการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว ต่อเนื่องมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 มีคูน้ำคันดินล้อมรอบเมืองโบราณ

อ่านเพิ่มเติม

วัดโพธิ์ศรีใน

ภายในวัดโพธิ์ศรีใน ถ.โพธิ์ศรี ม.11 บ้านเชียง ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี เป็นพื้นที่ที่พบร่องรอยวัฒนธรรมบ้านเชียงยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะหลุมฝังศพของคนในวัฒนธรรมบ้านเชียง ซึ่งพบหลักฐานหลุมฝังศพ 52 หลุม พร้อมทั้งข้าวของเครื่องใช้ที่เป็นวัตถุอุทิศให้กับผู้ตายมากมาย ปัจจุบันมีการจัดแสดงหลุมขุดค้นเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน

อ่านเพิ่มเติม