ต.กำพวน อ.สุขสำราญ จ.ระนอง แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นเมืองท่ายุคแรก ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการติดต่อทางการค้ากับอินเดียอย่างชัดเจน หลักฐานสำคัญที่พบมีทั้งลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินกึ่งมีค่า ลูกปัดทอง เครื่องปั้นดินเผาจากทั้งที่ผลิตในท้องถิ่นและจากดินแดนตะวันตก
ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ต.เกาะปันหยี อ.เมืองพังงา จ.พังงา ปรากฏภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 5,000-2,000 ปีมาแล้ว สันนิษฐานว่าวาดโดยคนก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยในบริเวณนี้ และนักเดินเรือสมัยโบราณที่แวะมาจอดพักหลบมรสุม
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เกาะเขาสองพี่น้อง ต.กระโสม อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา พบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์อยู่บนผนังด้านทิศตะวันออกของคูหาที่ 3 นอกจากนั้นยังพบกองกระดูกสัตว์ประเภทวัว/ควาย เศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ เครื่องมือกระดูกปลายแหลม รวมทั้งกองกระดูกมนุษย์หรือร่องรอยการปลงศพจำนวนมาก
ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต วัดพระนางสร้าง เป็นวัดประจำเมืองถลางที่เก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่ง เคยเป็นที่ตั้งทัพพม่าในคราวศึกถลางเมื่อ พ.ศ.2328 มีตำนานการสร้างสัมพันธ์กับ “พระนางเลือดขาว” จากลักษณะสถาปัตยกรรมและประติมากรรม นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าวัดพระนางสร้างน่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต วัดแขนนตั้งวัดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2544 เดิมเป็นวัดร้าง ชาวบ้านให้ความสำคัญในฐานะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะเคยมีพระสงฆ์ที่เป็นพระเกจิชื่อดังมาจำพรรษา ซึ่งชาวล้านเชื่อว่าดวงวิญญาณของท่านยังคงสถิตอยู่ที่วัดแห่งนี้ คือ “พ่อท่านไชยคีรี" ภายในวัดมีซากเจดีย์ขนาดเล็กอยู่ 3 องค์
ตั้งอยู่ ถ.ลุวัง เทศบาลเมืองระนอง ต.เขานิเวศน์ อ.เมืองระนอง จ.ระนอง เป็นบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ ที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2433 และรื้อถอนไปเมื่อ พ.ศ.2507 เพื่อก่อสร้างศาลากลางจังหวัดหลังใหม่
ต.เทพกระษัตรี (เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี) อ.ถลาง จ.ภูเก็ต นักวิชาการท้องถิ่นได้ศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี สภาพพื้นที่ และเรื่องเล่าต่างๆ แล้ว จึงสันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ตั้งบ้านของท้าวเทพกระษัตรี (จัน)
ม.3 และ ม.4 ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต “โคกพม่า” แต่เดิมเป็นที่นาของเจ้าเมืองถลางบ้านเคียน และเป็นสมรภูมิในศึกถลางเมื่อปี 2328 โดยปรากฏตามหลักฐานประวัติศาสตร์ว่าทัพถลางชนะกองทัพพม่าบริเวณนี้เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2328 หรือที่มักเรียกว่า วันถลางชนะศึก
ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง ปรากฏภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์อยู่ที่หน้าผาด้านทิศเหนือของเขาแบนะ หันหน้าออกสู่ทะเล เป็นภาพเขียนสีแดงหลายภาพ ที่เห็นเด่นชัดเป็นภาพปลา 2 ตัว ส่วนภาพอื่น ๆ ส่วนใหญ่มีสภาพลบเลือน
บ้านตระกูลคีรีรัตน์ตั้งอยู่ริม ถ.ตรัง-ประเหลียน ต.ทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง เป็นบ้านของนายกีวด หรือ พันวด ชาวจีนฮกเกี้ยนโพ้นทะเลที่มาตั้งรกรากและค้าขายอยู่ในจังหวัดตรัง สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2490 รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม ผสมผสานกับหลังคาเรือนไทยมุสลิม
ตั้งอยู่ ต.ละมอ อ.นาโยง จ.ตรัง วัดมงคลสถานสร้างขึ้นเมื่อปี 2449 ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ภายในวัดมีโบราณสถานสำคัญคือ อุโบสถ ที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2480 ลักษณะทางอาคารแสดงถึงอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของท้องถิ่นภาคใต้
ตั้งอยู่ในตัวอำเภอกันตัง จ.ตรัง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ.2436 โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เจ้าเมืองตรังในขณะนั้น สิ่งสำคัญได้แก่ อุโบสถที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ พระพุทธรูป พระสาวก และประติมากรรมรูปสัตว์ ที่ทำจากหินอ่อน เป็นต้น
ตั้งอยู่ ต.นาโยงเหนือ อ.นาโยง จ.ตรัง วัดจอมไตรสร้างราวปี 2393 สิ่งสำคัญภายในวัดคืออุโบสถ ที่สร้างด้วยสถานปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้ และ "พระพุทธจอมไตร" ที่ประดิษฐานในอุโบสถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ทำพิธีหล่อด้วยโลหะองค์แรกของจังหวัดตรัง) สร้างเมื่อปี 2488
ตั้งอยู่ ต.โคกหล่อ อ.เมืองตรัง วัดนิคมประทีป หรือ วัดโคกหล่อ สร้างขึ้นเมื่อปี 2423 โบราณสถานสำคัญคืออุโบสถที่แสดงสถาปัตกรรมพื้นถิ่น รวมถึงพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถ ที่สร้างขึ้นระหวห่างปี 2481-2490
ตั้งอยู่ที่ บ้านเหนือคลอง ต.บ้านกลาง อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในถ้ำและตามเพิงผา ร่วมสมัยกับกลุ่มแหล่งโบราณคดีที่อ่าวลึกและอ่าวพังงา หลักฐานที่พบ เช่น ภาพเขียนสีโบราณที่ผนังถ้ำโนราห์และถ้ำช้างนอก เขียนด้วยสีแดงเป็นภาพบุคคล สัญลักษณ์ และรูปเรขาคณิต อายุราว 5,000-3,000 ปีมาแล้ว
ต.ราชกรูด อ.เมืองระนอง พบเครื่องมือหินกะเทาะยุคก่อนประวัติศาสตร์รูปลักษณะต่าง ๆ หลายชิ้น ที่บริเวณน้ำตกที่เป็นลานหินกรวด เช่น เครื่องมือหินกะเทาะทำจากหินกรวดรูปหลายเหลี่ยมเป็นเครื่องมือตัด-สับ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, เครื่องมือหินกะเทาะทำจากหินปูนรูปคล้ายสามเหลี่ยมหน้าจั่ว-แบนด้านประกอบมุมยอดโค้งออกทั้งสองด้าน รูปไข่-แบน รูปหลายเหลี่ยม ยาว-แบน
ต.เขานิเวศน์ อ.เมืองระนอง พระราชวังรัตนรังสรรค์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2433 โดยพระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) เจ้าเมืองระนองในขณะนั้น เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก เดิมตั้งอยู่บนเนินประวัติศาสตร์ แต่ได้รื้อออกไปเมื่อปี พ.ศ.2507 เพื่อก่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัด หลังจากนั้นได้มีโครงการก่อสร้างพระราชขึ้นใหม่ (องค์จำลอง) เมื่อปี พ.ศ.2545 ในพื้นที่ฝั่งตรงข้ามฝั่งถนนลุวัง
ต.กะเปอร์ อ.กะเปอร์ จ.ระนอง สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2311 สมัยต้นกรุงธนบุรี แต่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วัดบางปรุ” ตามชื่อคลองบางปรุ สิ่งก่อสร้างที่สำคัญภายในวัด ได้แก่ อุโบสถและเจดีย์ สมัยรัตนโกสินทร์ ราวรัชกาลที่ 7
เทศบาลเมืองระนอง ต.เขานิเวศน์ อ.เมืองระนอง ศาลหลักเมืองระนองก่อสร้างขึ้นในพื้นที่ที่เคยเป็นบ้านพักของพระยารัตนเศรษฐี (เจ้าเมืองระนอง) มีพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2531 ตัวศาลมีลักษณะเป็นศาลาจตุรมุข รูปทรงไทย ยอดศาล 5 ยอด มีลักษณะตามแบบพระบรมธาตุไชยา หลักเมืองมีลักษณะเป็นเสากลมเรียว ปลายยอดเป็นดอกบัวตูม