แหล่งโบราณคดี


แสดง 21 ถึง 40 จาก 61 ผลลัพธ์

วัดเพลง

ซ.วัดแก้ว แขวงบางพรม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร

อ่านเพิ่มเติม

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

ตั้งอยู่ที่แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นวัดประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี 3 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9

อ่านเพิ่มเติม

พลับพลาเปลื้องเครื่อง วัดราชบพิธ

ตั้งอยู่แขวงวัดราชบพพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ พลับพลานี้สร้างไว้สำหรับรับเสด็จพระเจ้าแผ่นดินในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินมาโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เพื่อมาพระราชทานผ้าพระกฐิน ตั้งอยู่บนกำแพงวัดใกล้กับสีมามุมกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือด้านถนนเฟื่องนครตัดกับถนนราชบพิธ

อ่านเพิ่มเติม

พระเจดีย์ วัดราชบพิธ

แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระมหาเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมหลักของวัดราชบพิธ อยู่ตำแหน่งกึ่งกลางของอาคารบนฐานไพที ภายในวงล้อมของพระระเบียงกลมและพระวิหารทั้ง 4 ทิศ สร้างขึ้นเพื่อเป็นหลักสำคัญในการเคารพบูชา ทั้งองค์เจดีย์และฐานคูหาประดับกระเบื้องเคลือบลายเบญจรงค์ทั้งองค์

อ่านเพิ่มเติม

พระระเบียง วัดราชบพิธ

แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระระเบียงหรือระเบียงคดตั้งอยู่บนฐานไพทีของอาคารหลักในส่วนเขตพุทธาวาสของวัดราชบพิธ ผนังภายนอกของพระระเบียงบุกระเบื้องเบญจรงค์ ลายกรวยเชิงที่โคนผนัง ลายทั่วไปเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ เทพนมก้านแย่งพื้นเหลือง เป็นลายเดียวกับผนังพระอุโบสถ

อ่านเพิ่มเติม

ศาลาราย วัดราชบพิธ

แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นศาลาขนาดเล็กตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารแต่ละหลังบนฐานไพทีในเขตพุทธาวาสของวัดราชบพิธฯ ตั้งอยู่ทั้ง 4 ทิศ ทิศละ 2 คู่ รวม 8 หลัง เป็นอาคารแบบไทยประเพณี เป็นอาคารโถงโล่งมีปีกนกรอบ

อ่านเพิ่มเติม

พระวิหารทิศ วัดราชบพิธ

แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระวิหารทิศมี 2 หลัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพระเจดีย์ พระวิหารทิศนี้นับเป็นทางเข้าขนาดใหญ่เพื่อเข้าสู่บริเวณภายในพระระเบียงรอบพระเจดีย์วัดราชบพิธฯ

อ่านเพิ่มเติม

พระวิหาร วัดราชบพิธ

แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระวิหารวัดราชบพิธฯ มีรูปทรงเป็นแบบเดียวกับพระอุโบสถทั้งภายนอกและภายใน ต่างแต่ว่าบานประตูและบานหน้าต่างสลักด้วยไม้เป็นลวดลายเครื่องราชอิสริยาภรณ์เท่านั้น ภายในพระวิหารประดิษฐานพระประทีปวโรทัย

อ่านเพิ่มเติม

พระอุโบสถ วัดราชบพิธ

แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นพระอุโบสถที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่งของไทย รูปทรงภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย ผนังบุกระเบื้องเบญจรงค์ บานประตูหน้าต่างประดับมุกเป็นรูปเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ภายในพระอุโบสถเป็นแบบยุโรปผสมแบบไทย เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีถึง 6 พระองค์

อ่านเพิ่มเติม

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

เลขที่ 146 ถ.บำรุงเมือง แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

อ่านเพิ่มเติม

พระวิหาร วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

เลขที่ 146 ถ.บำรุงเมือง แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

อ่านเพิ่มเติม

ตึกแถวริมถนนหน้าพระลาน

เลขที่ 2 ถึงเลขที่ 30 ริมถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นตึกแถวที่สร้างขึ้นในสมัยปลายรัชกาลที่ 5 ด้วยสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนีโอคลาสสิก ในพื้นที่เดิมของวังถนนหน้าพระลาน 

อ่านเพิ่มเติม

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ม.ธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของไทย ก่อตั้งปี 2477 เพื่อเป็นตลาดวิชาศึกษาด้านกฎหมายและการเมืองสำหรับประชาชนทั่วไป ภายในเนื้อที่ 50 ไร่ ของ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ แต่เดิมเคยเป็นเขตพระราชฐานของพระราชวังบวรสถานมงคล มาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์

อ่านเพิ่มเติม

อนุสาวรีย์หมู

ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานปีกุน (สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม) เยื้องหน้าวัดราชประดิษฐ์ ริมฝั่งถนนราชินี แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2456 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ มีพระชนมายุครบ 50 พรรษา ออกแบบโดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นอกจากนี้ บริเวณที่ตั้งของอนุสาวรีย์หมูในอดีต ยังเป็นส่วนของกำแพงกรุงธนบุรี 

อ่านเพิ่มเติม

ป้อมวิชัยประสิทธิ์

ป้อมวิชัยประสิทธิ์หรือป้อมวิไชยเยนทร์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางกอกใหญ่ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ เป็นป้อมปราการที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีประวัติความเป็นมาเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ปัจจุบันยังคงมีการใช้เป็นที่ยิงสลุตในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และมีการติดตั้งเสาธงบริเวณทางเข้าป้อมเพื่อชักธงราชนาวีและธงผู้บัญชาการทหารเรือไทย

อ่านเพิ่มเติม

วัดเทพธิดารามวรวิหาร

ตั้งอยู่แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เดิมชื่อ “วัดพระยาไกรสวนหลวง” เป็นพระอารามหลวงแรกที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2379 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชทานพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าวิลาส ภายหลังทรงได้ดรับสถาปนาเป็น กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ นับเป็นพระราชธิดาที่ได้รับพระราชอิสริยยศใหญ่ยิ่งเหนือกว่าพระราชธิดาทั้งปวง 

อ่านเพิ่มเติม

พระอุโบสถ วัดเทพธิดารามวรวิหาร

พระอุโบสถวัดเทพธิดารามวรวิหาร แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นอาคารประธานของวัด ร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมไทยผสมกับจีนตามแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 ภายในประดิษฐาน “หลวงพ่อขาว” และ “พระพุทธเทววิลาส”

อ่านเพิ่มเติม

พระวิหาร วัดเทพธิดารามวรวิหาร

พระวิหารวัดเทพธิดารามวรวิหาร แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมไทยผสมกับจีนตามแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 ภายในพระวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังเขียนเป็นลายหงส์จีนบนพื้นสีแดง พระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ที่เบื้องหน้าพระประธานประดิษฐานประติมากรรมรูปหมู่อริยสาวิกา 52 องค์

อ่านเพิ่มเติม

การเปรียญ วัดเทพธิดารามวรวิหาร

การเปรียญวัดเทพธิดาราม แขวงสำราญราษฎร์ กรุงเทพฯ เป็น 1 ใน 3 อาคารหลักของวัด นอกเหนือจากพระอุโบสถและพระวิหาร ภายในการเปรียญ ที่ผนังด้านหลังทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หมู่ตู้พระธรรมมีอายุเก่าแก่ที่สุดมาจากสมัยรัตนโกสินธ์ตอนต้น

อ่านเพิ่มเติม

พระราชวังบวรสถานมงคล

พระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า เป็นพระราชวังที่มีความสำคัญเป็นลำดับที่ 2 รองจากวังหลวง เป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสร้างขึ้นพร้อม ๆ กับพระบรมมหาราชวังใน พ.ศ. 2325

อ่านเพิ่มเติม