เมืองชัยบุรี ต.ชัยบุรี อ.เมืองพัทลุง, ต.มะกอกเหนือ และ ต.พนมวังก์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง มีการใช้พื้นที่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-24 โดยช่วงหนึ่งอาจใช้เป็นศูนย์กลางของเมืองพัทลุง ดังที่ปรากฎหลักฐานทางด้านเอกสาร เช่นในจดหมายเหตุของ De Lamane ที่เขียนขึ้นราว พ.ศ.2229
ต.ทุ่งตะไคร อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร วัดมุจลินทรารามสร้างขึ้นในปี 2340 ในบริเวณ ต.ทุ่งตะไคร ต่อมาในปี 2496 จึงได้ย้ายวัดไปอยู่ ต.ช่องไม้แก้ว ห่างจากบริเวณเดิมไป 700 เมตร ส่วนที่ตั้งวัดเดิมเหลือเพียง "พระธาตุมุจลินทร์" ชาวบ้านเรียก “พ่อท่านในกุฎิ” และกลายเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดมุจลินทรารามในปัจจุบัน
วัดพุทธสำคัญใน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2417 โบราณสถานสำคัญคือ อุโบสถและกุฏิเจ้าอาวาส ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมฝากผนังตกแต่งอาคารแบบท้องถิ่นที่งดงาม
วัดพุทธที่สำคัญของ จ.นราธิวาส สร้างขึ้นราว พ.ศ.2403 นอกจากจะมีความโดดเด่นของศิลปกรรมท้องถิ่นภายในวัดแล้ว ยังมีความสำคัญอย่างมากด้านประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีการปักปันเขตแดนกับอังกฤษ จนได้ชื่อว่า “วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย”
ตั้งอยู่บ้านจาเละ ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เมืองโบราณบ้านจาเละอยู่ในกลุ่มเมืองโบราณยะรัง ผังเมืองมีคูน้ำล้อมรอบสามด้าน ปรากฏเนินโบราณสถานมากกว่า 10 แห่ง อาจเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 และพัฒนามาเป็นศูนย์กลางของพุทธมหายานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-16
ตั้งอยู่ บ้านจาเละ ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี โบราณสถานบ้านจาเละหมายเลข 3 อยู่ในกลุ่มเมืองโบราณยะรัง และอาจนับเป็นสถูปเนื่องในพุทธมหายานที่เก่าที่สุดในประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 โบราณวัตถุสำคัญ ได้แก่ พระพิมพ์ดินเผา สถูปจำลอง พระโพธิสัตว์อวโลติเกศวรสำริด
ถ้ำศิลป์ ตั้งอยู่บ้านบันนังลูวา ต.หน้าถ้ำ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ทั้งภาพเขียนบนผนังถ้ำ เศษภาชนะดินเผา เครื่อมือหินขัด ลูกปัดเปลือกหอย อายุราว 3,000 ปีมาแล้ว และศิลปกรรมบนผนังถ้ำยุคประวัติศาสตร์ สมัยศรีวิชัย-สมัยสุโขทัย
เขายะลา อยู่ใน ต.ลิดล และ ต.ยะลา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในถ้ำและเพิงผาหลายแห่งบนเขายะลา โดยเฉพาะภาพเขียนสี ทั้งเขียนด้วยสีแดงและสีดำ นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนกะโหลกมนุษย์ เศษภาชนะดินเผา เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินขัด ดินสีแดง ที่อาจใช้สำหรับสร้างผลงานบนผนังถ้ำ อายุของแหล่งโบราณคดีราว 3,000-2,000 ปีมาแล้ว เป็นต้นมา
ตั้งอยู่ริม ถ.สันตินิมิต ม.2 ต.ละเม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นโบราณสถานสำคัญที่มักใช้ศึกษาสถาปัตยกรรมสมัยศรีวิชัย เนื่องจากมีสภาพสมบูรณ์ที่สุด ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นเจดีย์ทรงปราสาท ก่ออิฐไม่สอปูน ขัดผิวหน้าอิฐเรียบ ผังเป็นรูปกากบาท
วัดถ้ำผาบิ้ง ม.2 บ้านนาแก ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย สิ่งสำคัญของวัดคือ รอยพระพุทธบาทบนเพดานถ้ำ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานในปี 2478 นอกจากนี้ ภายในวัดยังมีเจดีย์พิพิธภัณฑ์ (เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย จันทสาโร) ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระอาจารย์หลุย จันทสาโร
วัดมหาธาตุ ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในอำเภอเชียงคาน สร้างขึ้นพร้อมๆ กับการก่อตั้งเมืองเชียงคาน ชาวบ้านเรียกวัดหลวงพ่อใหญ่ เป็นโบราณสถานสำคัญที่แสดงศิลปกรรมท้องถิ่นของล้านช้าง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-24
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง บ้านทุ่งยั้ง ม.3 ต.ทุ่งยั้ง (เทศบาลตำบลทุ่งยั้ง) อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง คงสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยพระยาลิไท ราวปี พ.ศ.1902 ตามหลักฐานศิลาจารึกวัดป่าแดด หลักที่ 9 ส่วนคำว่าทุ่งยั้ง มาจากตำนานเก่าแก่ที่เล่ากันมาว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับยับยั้งที่เมืองนี้
วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ในอุทยานเมืองเก่าพิจิตร ม.4 บ้านเมืองเก่า ต.เมืองเก่า อ.เมืองพิจิตร จ.พิจิตร สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยและมีการใช้งานต่อเนื่องจนถึงสมัยอยุธยา ตั้งอยู่กึ่งกลางเมืองพิจิตรเก่า ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านเก่า สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้างคู่กับเมืองพิจิตร