แหล่งโบราณคดี


แสดง 1 ถึง 20 จาก 167 ผลลัพธ์

ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย

ตั้งอยู่ ต.บางหญ้าแพรก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อยู่ชิดริมแม่น้ำฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างพร้อมป้อมปิศาจสิง ป้อมราหูจร และป้อมฝั่งตะวันตกอีก 5 ป้อม เพื่อประจำเมืองนครเขื่อนขันธ์ เมืองชายทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของสยามตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์

อ่านเพิ่มเติม

โบราณสถานหมายเลข 8 เมืองคูบัว

ตั้งอยู่ภายในเมืองโบราณคูบัว ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ สมัยทวารวดี เป็นเจดีย์ที่มีการยกเก็จขึ้นที่มุมทั้งสี่ ทำให้เกิดลักษณะคล้ายๆกับเสาประดับมุม อาจเปรียบเทียบได้กับงานสถาปัตยกรรมที่ร่วมสมัยกัน เช่น "กาลัน" ในศิลปะจาม “จันทิ” ในศิลปะชวากลาง หรือปราสาทขอมในสมัยก่อนเมืองพระนคร

อ่านเพิ่มเติม

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ ต.ในเมือง อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นโดยพระเจ้าเพชรบูรณ์ เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ เมือ พ.ศ.1926 ภายในวัดมีสิ่งสำคัญต่างๆ ได้แก่ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หลวงพ่องาม และหลวงพ่อเพชรมีชัย

อ่านเพิ่มเติม

เมืองศรีเทพ

เมืองศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ พบหลักฐานว่าเป็นชุมชนโบราณตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 5-7 หรือประมาณ 2000 ปีมาแล้ว กระทั่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ในสมัยทวารวดีและสมัยเขมร ราวพุทธศตวรรษที่ 12-18 มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ

อ่านเพิ่มเติม

เขาคลังใน

เขาคลังใน เมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ โบราณสถานเขาคลังในเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองในของเมืองศรีเทพ เป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธ และมีมาตั้งแต่สมัยแรกสร้างเมืองในราวพุทธศตวรรษที่ 12 หรือสมัยทวารวดี จนกระทั่งในสมัยวัฒนธรรมเขมร พุทธศตวรรษที่ 18

อ่านเพิ่มเติม

ปรางค์ศรีเทพ

ปรางค์ศรีเทพ เมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ภายในเมืองโบราณศรีเทพ เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ที่มีความสำคัญอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 อย่างไรก็ดี จากการขุดค้นพบว่าบริเวณปรางค์ศรีเทพ มีการใช้พื้นที่สร้างเป็นอาคารมาตั้งแต่สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12-16

อ่านเพิ่มเติม

ปรางค์สองพี่น้อง

ปรางค์สองพี่น้อง เมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ตั้งอยู่กลางเมืองศรีเทพ แรกสร้างคงเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูไศวนิกาย สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 แต่ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18 ตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาจมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นวัดในพุทธศาสนา

อ่านเพิ่มเติม

วัดจามเทวี

ตั้งอยู่ในตัวจังหวัดลำพูน ต.เหมืองง่า อ.เมืองลำพูน เป็นวัดเก่าแก่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของลำพูน กำหนดอายุการสร้างวัดจากหลักฐานศิลปกรรมและศิลาจารึกที่พบภายในวัดว่าคงมีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 สมัยหริภุญชัย ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมเก่าที่เป็นที่สนใจ คือ เจดีย์สี่เหลี่ยม “กู่กุด” และเจดีย์แปดเหลี่ยม

อ่านเพิ่มเติม

วัดเจดีย์หลวง

วัดเจดีย์หลวง เมืองเชียงแสน  เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองเชียงแสน แผนผังเจดีย์หลวงเป็นเจดีย์รูปแปดเหลี่ยม ฐานกว้างด้านละ 9.50 เมตร สูงประมาณ 35.50 เมตร ตามประวัติกล่าวว่า สร้างโดยพระเจ้าแสนภู พระราชนัดดาของพระเจ้ามังราย

อ่านเพิ่มเติม

เมืองโบราณบ้านจาเละ

ตั้งอยู่บ้านจาเละ ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เมืองโบราณบ้านจาเละอยู่ในกลุ่มเมืองโบราณยะรัง ผังเมืองมีคูน้ำล้อมรอบสามด้าน ปรากฏเนินโบราณสถานมากกว่า 10 แห่ง อาจเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 และพัฒนามาเป็นศูนย์กลางของพุทธมหายานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-16 

อ่านเพิ่มเติม

โบราณสถานบ้านจาเละหมายเลข 3

ตั้งอยู่ บ้านจาเละ ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี โบราณสถานบ้านจาเละหมายเลข 3 อยู่ในกลุ่มเมืองโบราณยะรัง และอาจนับเป็นสถูปเนื่องในพุทธมหายานที่เก่าที่สุดในประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-16  โบราณวัตถุสำคัญ ได้แก่ พระพิมพ์ดินเผา สถูปจำลอง  พระโพธิสัตว์อวโลติเกศวรสำริด

อ่านเพิ่มเติม

เมืองโบราณยะรัง

ต.ยะรัง, ต.บ้านวัด, ต.ปิตูมาดี อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

อ่านเพิ่มเติม

ภาพเขียนสีเป็นพระพุทธรูป, แหล่งโบราณสถานถ้ำศิลป์

ถ้ำศิลป์ ตั้งอยู่บ้านบันนังลูวา ต.หน้าถ้ำ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ทั้งภาพเขียนบนผนังถ้ำ เศษภาชนะดินเผา เครื่อมือหินขัด ลูกปัดเปลือกหอย อายุราว 3,000 ปีมาแล้ว และศิลปกรรมบนผนังถ้ำยุคประวัติศาสตร์ สมัยศรีวิชัย-สมัยสุโขทัย

อ่านเพิ่มเติม

เมืองโบราณเวียงบัว

บ้านบัว ต.แม่กา อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา

อ่านเพิ่มเติม

เมืองโบราณไชยา

อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

อ่านเพิ่มเติม

วัดพระบรมธาตุไชยา

ม.3 ต.เวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนโบราณสทิงพระ

ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา

อ่านเพิ่มเติม

พระธาตุมุจลินทร์

ต.ทุ่งตะไคร อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร วัดมุจลินทรารามสร้างขึ้นในปี 2340 ในบริเวณ ต.ทุ่งตะไคร ต่อมาในปี 2496 จึงได้ย้ายวัดไปอยู่ ต.ช่องไม้แก้ว ห่างจากบริเวณเดิมไป 700 เมตร ส่วนที่ตั้งวัดเดิมเหลือเพียง "พระธาตุมุจลินทร์" ชาวบ้านเรียก “พ่อท่านในกุฎิ” และกลายเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดมุจลินทรารามในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม

วัดมหาธาตุ, วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง บ้านทุ่งยั้ง ม.3 ต.ทุ่งยั้ง (เทศบาลตำบลทุ่งยั้ง) อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง คงสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยพระยาลิไท ราวปี พ.ศ.1902 ตามหลักฐานศิลาจารึกวัดป่าแดด หลักที่ 9 ส่วนคำว่าทุ่งยั้ง มาจากตำนานเก่าแก่ที่เล่ากันมาว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับยับยั้งที่เมืองนี้

อ่านเพิ่มเติม

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ในอุทยานเมืองเก่าพิจิตร ม.4 บ้านเมืองเก่า ต.เมืองเก่า อ.เมืองพิจิตร จ.พิจิตร สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยและมีการใช้งานต่อเนื่องจนถึงสมัยอยุธยา ตั้งอยู่กึ่งกลางเมืองพิจิตรเก่า ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านเก่า สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้างคู่กับเมืองพิจิตร

อ่านเพิ่มเติม