ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดต้นข่อย เนื่องจากในบริเวณโบราณสถานมีต้นข่อยและกอไผ่ขึ้นหนาแน่น พิจารณาจากรูปแบบของสถาปัตยกรรมร่วมกับโบราณวัตถุ สันนิษฐานว่าน่าจะมีการใช้งานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 – 23
ต.หนองหอย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เดิมชาวบ้านเรียกวัดป่าคา แต่หลังจากชาวบ้านพบว่าในบริเวณวัดมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ จึงเรียกโบราณสถานนี้ว่า "วัดบ่อน้ำทิพย์" จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ สามารถกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22
ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ สภาพโบราณสถานโดยรวมคงเหลือแต่เพียงส่วนฐานเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถระบุรูปแบบที่ชัดเจนของโบราณสถานได้ แต่จากโบราณวัตถุที่พบคือชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้น และภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาล้านนา กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22
ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ที่ระบุถึงพระเจ้าสามฝั่งแกนได้สร้างอุโบสถที่วัดแห่งหนึ่ง ริมฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศเหนือของเวียงกุมกาม และทรงให้ปักเสมาเป็นเสาหินที่อุโบสถ แต่จากหลักฐานจารึกพบว่าน่าจะสร้างขึ้นในช่วงรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช เมื่อ พ.ศ. 2023
ต.หนองหอย อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ วัดพันเลาเป็นโบราณสถานร้าง ชื่อของโบราณสถานมีการสันนิษฐานว่า คำว่า “พัน” อาจหมายถึงยศทางทหารหรือขุนนาง และอาจเป็นวัดที่ถูกอุปถัมภ์โดยนายทหารหรือขุนนางที่ชื่อ “เลา”
ม.11 บ้านรางจั่น ต.หนองขาว (เทศบาลตำบลหนองหญ้าดอกขาว) อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
ถ.สุขุมวิทนครระยอง 62 (ถ.หลักเมือง) ต.ท่าประดู (เทศบาลนครระยอง) อ.เมืองระยอง จ.ระยอง เสาหลักเมืองของจังหวัดระยองสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2438 ตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ศาลเป็นศาลไม้ ต่อมาราว พ.ศ.2468 เสาหลักเมืองและศาลชำรุดและหักลง ชาวบ้านจึงช่วยกันทำการปักลงที่เดิม แต่ยังไม่มีการสร้างอาคารคลุม คงปล่อยให้อยู่กลางแดดกลางฝนตามสภาพเดิม จน พ.ศ.2532 ชาวระยองเห็นควรปรับปรุงหลักเมืองและศาลหลักเมืองให้มั่นคงแข็งแรง
อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ (เก่า) ปัจจุบันอยู่ในสถานีตำรวจภูธรเมืองหนองคาย อ.เมืองหนองคาย เป็นอนุสรณ์สถานที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ได้โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2429 เพื่อบรรจุอัฐิของเหล่าทหารที่เสียสละชีวิตปกป้องประเทศจากเหตุการณ์ปราบฮ่อเมื่อ พ.ศ.2420-2428
ข้างตลาดสดเทศบาลตำบลเวียงคุก ถ.แก้ววรวุฒิ ม.4 บ้านเวียงคุกเหนือ ต.เวียงคุก อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย
เลขที่ 4 ถ.แก้ววรวุฒิ ม.2 บ้านเวียงคุก ต.เวียงคุก (เทศบาลตำบลเวียงคุก) อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย ประวัติดั้งเดิมกล่าวว่าวัดแห่งนี้สร้างตั้งแต่ครั้งสมัยพระเจ้าอนุรุทธราช แห่งเมืองเวียงจันทน์ โบราณสถานสำคัญภายในวัดได้แก่ ธาตุเจดีย์ 2 องค์ รวมถึงเสมาอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 โดยมีนิทานปรัมปราของท้องถิ่นเชื่อมโยงกับการสร้างพระธาตุทั้ง 2 องค์
ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ โบราณสถานกู่ผีบ้า เป็นชื่อที่ใช้เรียกในปัจจุบัน ไม่ปรากฏที่มาและเอกสารที่กล่าวถึงวัดนี้ที่ชัดเจน ปัจจุบันเป็นวัดร้างตั้งอยู่ภายในพื้นที่สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าเชิงดอยสุเทพและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยสุเทพ สันนิษฐานว่าศาสนสถานของวัดในฝ่ายอรัญวาสีหรือวัดป่าของเมืองเชียงใหม่
เลขที่ 2 ถึงเลขที่ 30 ริมถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นตึกแถวที่สร้างขึ้นในสมัยปลายรัชกาลที่ 5 ด้วยสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนีโอคลาสสิก ในพื้นที่เดิมของวังถนนหน้าพระลาน
ตั้งอยู่แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เดิมชื่อ “วัดพระยาไกรสวนหลวง” เป็นพระอารามหลวงแรกที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2379 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชทานพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าวิลาส ภายหลังทรงได้ดรับสถาปนาเป็น กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ นับเป็นพระราชธิดาที่ได้รับพระราชอิสริยยศใหญ่ยิ่งเหนือกว่าพระราชธิดาทั้งปวง
พระอุโบสถวัดเทพธิดารามวรวิหาร แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นอาคารประธานของวัด สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมไทยผสมกับจีนตามแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 ภายในประดิษฐาน “หลวงพ่อขาว” และ “พระพุทธเทววิลาส”