แหล่งโบราณคดี


แสดง 21 ถึง 40 จาก 72 ผลลัพธ์

เมืองโบราณบ้านประแว

เมืองโบราณบ้านประแว ตั้งอยู่ ม.2 ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เป็น 1 ใน 3 เมืองของเมืองโบราณยะรัง มีการใช้พื้นที่มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 และมีการใช้พื้นที่หนาแน่นใช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 โบราณสถานที่สำคัญภายในเมืองพบ ซากสิ่งก่อสร้างอิฐ 2 แห่ง และบ่อน้ำเก่า 5 แห่ง 

อ่านเพิ่มเติม

บ้านท่าเรือ

บ้านท่าเรือ อ.เมืองนครศรีธรรมราช เป็นชุมชนหนึ่งในกลุ่มชุมชนโบราณคลองท่าเรือ มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ แต่หลักฐานจะเด่นชัดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18  โบราณวัตถุสำคัญ เช่น ขวานหินขัด กำไลหิน ลูกปัดแก้วหรือลูกปัดมีตา เครื่องถ้วยจีนเคลือบสีเขียวมะกอกแบบยั่ว (Yue ware) 

อ่านเพิ่มเติม

เขาสามแก้ว

ตั้งอยู่ที่บ้านสามแก้ว อ.เมืองชุมพร เป็นชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 2 และเจริญในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 -10 มีการสร้างกำแพงดินล้อมรอบชุมชน มีการสร้างคูน้ำหรือทางระบายน้ำ มีการจัดแบ่งพื้นที่อุตสาหกรรมไว้นอกเขตชุมชน

อ่านเพิ่มเติม

เมืองปัว

ตั้งอยู่ที่ ต.ปัว อ.ปัว จ.น่าน เป็นเมืองโบราณของล้านนาสมัยแรกเริ่มตั้งเมืองน่าน ที่ตั้งเมืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ดี จากการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี พบหลักฐานการใช้พื้นที่บริเวณเมืองปัวมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ (5,000-3,000 ปีมาแล้ว)

อ่านเพิ่มเติม

เมืองโบราณเวียงบัว

บ้านบัว ต.แม่กา อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนโบราณสทิงพระ

ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา

อ่านเพิ่มเติม

ปากจั่น

ต.ปากจั่น อ.กระบุรี จ.ระนอง พบหลักฐานประเภทเศษภาชนะดินเผาทั้งเนื้อดินและเนื้อแกร่ง และพบหลักฐานประเภทลูกปัดแก้วสีเดียว(อินโด-แปซิฟิก) ลูกปัดหิน(คาร์เนเลียนและอาเกต) และเครื่องประดับที่ทำจากทอง ซึ่งล้วนเป็นสินค้าที่นิยมในสมัยอินโด-โรมันนั้น แสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณแห่งนี้ มีการติดต่อกับชุมชนภายนอก  สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 8

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาทอง

ต.กำพวน อ.สุขสำราญ จ.ระนอง แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นเมืองท่ายุคแรก ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการติดต่อทางการค้ากับอินเดียอย่างชัดเจน หลักฐานสำคัญที่พบมีทั้งลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินกึ่งมีค่า ลูกปัดทอง เครื่องปั้นดินเผาจากทั้งที่ผลิตในท้องถิ่นและจากดินแดนตะวันตก

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำผี

ต.นาปู่ป้อม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน อยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว 11,000 ปีมาแล้ว เป็นต้นมา พบหลักฐานทางโบราณคดีทั้งเครือมือหินแบบ Hoabinhian เครื่องมือสะเก็ดหิน เครื่องมือหินขัด เศษภาชนะดินเผา ซากพืช ซากสัตว์ โลงไม้ ซึ่ง Chester Gorman เคยระบุว่าเป็นแหล่งที่พบภาชนะดินเผาและร่องรอยการเพาะปลูกที่เก่าที่สุดในประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม

สถานีผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าแม่ทะ

ตั้งอยู่ ม.1 บ้านแม่ทะ ต.แม่ทะ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง พบเครื่องมือหินหลากหลายประเภท รวมทั้งร่องรอยการผลิตเครื่องมือหิน สันนิษฐานว่าในอดีต สมัยหินใหม่ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ พื้นที่บริเวณนี้อาจเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือหิน โดยมีแหล่งวัตถุดิบอยู่ไม่ไกลนัก 

อ่านเพิ่มเติม

บ้านโคกคอน

ม.4, ม.5 บ้านโคกคอน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำลายมือ 2

อุทยานแห่งชาติน้ำพอง ม.8 บ้านดอนกอก ต.บ้านผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น มีมือภาพคนแบบพ่น 1 ภาพ เป็นภาพมือขวา กับภาพลายเส้นคดผสมกับลายเส้นคู่และโค้งขนาน คล้ายกับภาพคนแบบกิ่งไม้ อายุประมาณ 4,000-3,000 ปีมาแล้ว

อ่านเพิ่มเติม

โนนนกทา

ม.16 บ้านโนนนกทา ต.กุดธาตุ อ.หนองนาคำ จ.ขอนแก่น

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำเซ่งเม่ง

ม.3 บ้านห้วยม่วง ต.หนองห้าง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์

อ่านเพิ่มเติม

เจดีย์กุด (ร้าง)

หมู่บ้านสีวลี ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

อ่านเพิ่มเติม

เนินโบราณสถานใกล้วัดป่าแดง

ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ตามประวัติในเอกสารสันนิษฐานระบุว่าวัดนี้น่าจะเป็นวัดป่าแดงหลวง เป็นวัดเข้าสำนักพุทธศาสนานิกายป่าแดง ปรากฏหลักฐานในเอกสารทางประวัติศาสตร์ว่า พญาติโลกราช (พ.ศ.1985-2031) สร้างวัดป่าแดงหลวงขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิพระราชบิดา (พญาสามฝั่งแกน) และพระราชมารดา

อ่านเพิ่มเติม

อูบมุง

ม.1 บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี อูบมุงเป็นซากโบราณสถานก่ออิฐในวัฒนธรรมขอมของเมืองโบราณบ้านคูเมือง ตั้งอยู่ห่างจากคูเมืองชั้นในของเมืองโบราณบ้านคูเมืองมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 600 เมตร

อ่านเพิ่มเติม

กู่บ้านหัวสระ

ม.2 บ้านหัวสระ ต.หัวทะเล อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ

อ่านเพิ่มเติม

หนองหินตั้ง

อยู่ระหว่างบ้านโสกคร้อ และบ้านหนองฉิม ต.หนองฉิม อ.เนินสง่า จ.ชัยภูมิ

อ่านเพิ่มเติม

หินตั้ง

ม.4 บ้านหินตั้ง ต.บ้านชวน อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ

อ่านเพิ่มเติม