เลขที่ 20 ม.2 ถ.สายหัวคู-ขุนประทิง ต.ตากแดด อ.เมืองชุมพร บริเวณที่ตั้งของศาลเสื้อเมืองนี้คือ “วัดเสื้อเมือง” ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ สภาพเดิมของศาลเสื้อเมืองเป็นศาลาไม้มุงสังกะสี ต่อมาบูรณะใหม่เป็นอาคารคอนกรีต ภายในศาลตั้งแท่นบูชามีแท่งหินทรายและหลักไม้เรียกว่า “พระทรงเมือง”
วัดพระขวาง ม.6 ต.ขุนกระทิง อ.เมืองชุมพร ตั้งอยู่ริมคลองชุมพร ในเขตเมืองเก่าของชุมพร หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญของวัดพระขวางคือ "พระขวาง" ศิลปะสมัยอยุธยา ซึ่งมีตำนานผูกพันอยู่กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง แหล่งโบราณคดีอ่าวบุญคงพบหลักฐานทางโบราณคดี 2 ยุคสมัย คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ถูกใช้เป็นที่พักพิงชั่วคราวและมีการวาดภาพเขียนสี และยุคประวัติศาสตร์ช่วงพุทธศตวรรษที 16 – 19 ถูกใช้เป็นแหล่งฝังศพ
ต.เกาะตะเภา อ.บ้านตาก จ.ตาก เป็นโบราณสถานร้าง ในเมืองตากเก่า (บ้านตาก) ลักษณะที่ปรากฏปัจจุบันเป็นเจดีย์ 8 เหลี่ยม ด้านในกลวงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป แต่ปัจจุบันถูกขุดทำลายไปแล้ว สันนิษฐานว่าอยู่ในสมัยสุโขทัย-อยุธยา
ไม่ปรากฏชื่อวัดเจดีย์แดง (นอก) ในเอกสารตำนานและพงศาวดารใด ๆ แต่จากรูปแบบทางสถาปัตยกรรม สันนิษฐานว่าเจดีย์องค์นี้น่าจะอยู่ในครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา
ต.คลองน้ำใส อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เป็นแหล่งอยู่อาศัยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-18 หลักฐานสำคัญได้แก่ เครื่องถ้วยเขมรจากแหล่งเตาบุรีรัมย์และเตาพนมกุเลน เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซ่งภาคใต้ แท่นหินบด หินบด คันฉ่องสำริด ขันสำริด กำไลสำริด ลูกกระพรวนสำริด ชิ้นส่วนสำริด ห่วงสำริด ก้อนตะกั่ว และชิ้นส่วนกระดิ่งสำริด เป็นต้น
ต.แม่ใส อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา เป็นโบราณสถานประเภทวัดร้าง ใน "กลุ่มโบราณสถานบ้านร่องไฮ" ที่ในอดีตเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20-21 ปัจจุบันตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา
ต.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระยาเสนานุชิต (นุช ณ นคร) เป็นเจ้าเมืองตะกั่วป่า ระหว่าง พ.ศ.2383 – 2424 โดยสร้างล้อมรอบจวนที่พัก เป็นลักษณะของกำแพงค่ายป้องกันศัตรู อาจสร้างขึ้นเพื่อป้องกันอันตรายจากลุ่มชาวจีนที่ก่อความวุ่นวายขึ้นในเมืองตะกั่วป่าบ่อยครั้ง