บ้านเขากลาง ม.13 ต.ปันแต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ คือ ภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ และภาพเขียนสีสมัยอยุธยาที่เขียนเป็นภาพเรื่องพุทธประวัติและเรื่องราวในพุทธศาสนาและภาพประกอบพิธีกีรรม แบ่งออกได้เป็น 10 กลุ่ม
ตั้งอยู่ภายในวัดปราสาททอง บ้านแสรออ ต.ปราสาททอง อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ลักษณะเป็นปราสาทขอมองค์เดียว จากรูปแบบศิลปกรรมและอายุสมัย สันนิษฐานว่าสร้างโดยชาวเขมรอพยพในสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ตั้งอยู่แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เดิมชื่อ “วัดพระยาไกรสวนหลวง” เป็นพระอารามหลวงแรกที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2379 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชทานพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าวิลาส ภายหลังทรงได้ดรับสถาปนาเป็น กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ นับเป็นพระราชธิดาที่ได้รับพระราชอิสริยยศใหญ่ยิ่งเหนือกว่าพระราชธิดาทั้งปวง
พระอุโบสถวัดเทพธิดารามวรวิหาร แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นอาคารประธานของวัด สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมไทยผสมกับจีนตามแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 ภายในประดิษฐาน “หลวงพ่อขาว” และ “พระพุทธเทววิลาส”
พระวิหารวัดเทพธิดารามวรวิหาร แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมไทยผสมกับจีนตามแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 ภายในพระวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังเขียนเป็นลายหงส์จีนบนพื้นสีแดง พระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ที่เบื้องหน้าพระประธานประดิษฐานประติมากรรมรูปหมู่อริยสาวิกา 52 องค์
การเปรียญวัดเทพธิดาราม แขวงสำราญราษฎร์ กรุงเทพฯ เป็น 1 ใน 3 อาคารหลักของวัด นอกเหนือจากพระอุโบสถและพระวิหาร ภายในการเปรียญ ที่ผนังด้านหลังทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หมู่ตู้พระธรรมมีอายุเก่าแก่ที่สุดมาจากสมัยรัตนโกสินธ์ตอนต้น
ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร ตั้งอยู่ที่ถนนมหรรณพมาบรรจบกับถนนตะนาว เป็นศาลเจ้าจีนเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชาวจีนเรียกศาลเจ้านี้ว่า "ตั่วเหล่าเอี้ย" (เทพเจ้าใหญ่) โดยเป็นที่ประดิษฐานรูปเอี่ยนเถี้ยนส่งเต้ รูปเจ้าพ่อเสือ รูปเจ้าพ่อกวนอู และรูปเจ้าแม่ทับทิม ผู้ศรัทธามักมากราบไหว้ขอพรและแก้ปีชง
เสาชิงช้า เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ตั้งอยู่ข้างวัดสุทัศนเทพวรารามฯ และโบสถ์พราหมณ์ ในปัจจุบันเสาชิงช้ามักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
วัพิชยญาติการาม หรือวัดพิชัยญาติ เดิมเป็นวัดร้าง ก่อนที่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) จะสถาปนาวัดขึ้นใหม่ใน พ.ศ.2384 ทั้งวัด แล้วน้อมเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของตระกูลบุนนาค
อาสนวิหารอัสสัมชัญ ตั้งอยู่เขตบางรัก กรุงเทพฯ เป็นอาสนวิหารประจำมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ หลังปัจจุบันนี้สร้างขึ้นเมื่อปลายรัชกาลที่ 5 เป็นที่พำนักของบรรดามุขนายกผู้เป็นประมุขมิสซังสยามในอดีต เป็นศูนย์กลางของชุมชนคริสต์ศาสนิกชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงในย่านบางรัก นับเป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่สวยที่สุดในไทย
บ้านตาดทอง ต.ตาดทอง อ.เมืองยโสธร มีตำนานการสร้างที่ผูกโยงกับตำนานอุรังคธาตุ และภายหลังก็ถูกผูกโยงเข้ากับนิทานพื้นบ้านเรื่อง ลูกฆ่าแม่ หรือ ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบล้านช้าง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 24 สมัยอยุธยาตอนปลาย-ธนบุรี
ตั้งอยู่บ้านหมี่พัฒนา ต.เขวา อ.เมืองมหาสารคาม ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีเป็นก้อนศิลาแลงกระจัดจายในพื้นที่ ชาวบ้านจึงได้รวบรวมมาเรียงก่อขึ้นเป็นกู่ และได้กลายเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่ สันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณนี้ในอดีตอาจเป็นศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมร ร่วมสมัยกับโบราณสถานใกล้เคียงคือปรางค์กู่บ้านเขวาและกู่น้อย
ตั้งอยู่ ต.เขวา อ.เมืองมหาสารคาม กู่บ้านเขวาเป็นหนึ่งในศาสนสถานประจำสถานพยาบาล หรืออโรคยศาลา ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งราชอาณาจักรเขมร ในพุทธศตวรรษที่ 18 เนื่องในศรัทธาความเชื่อมตามหลักของศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน
ตั้งอยู่ที่บ้านเชียงเหียน ต.เขวา อ.เมืองมหาสารคาม ภายในเมืองโบราณบ้านเชียงเหียน สิมวัดโพธิ์ศรีเชียงเหียน เริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2467 ก่อสร้างเสร็จ พ.ศ.2476 มีความโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมท้องถิ่นผนวกกับเทคนิคการก่อสร้างที่แพร่หลายของช่างชาวเวียดนามในอีสาน ที่ได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศส
ต.ท่าจีน อ.เมืองสมุทรสาคร ตามประวัติกล่าวว่า วัดใหญ่จอมปราสาท สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ.2091-2111) ในอดีตบริเวณด้านหน้าวัดเป็นเมืองท่าตลาดริมน้ำ ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าชาวจีน จึงได้เรียกชุมชนบริเวณนี้ว่า “บ้านท่าจีน”
วิหารคริสตจักรตรัง หรือวิหารทับเที่ยง ตั้งอยู่ในตัวเมืองตรัง สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2458 เป็นหลักฐานสำคัญแสดงถึงการเข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในจังหวัดตรัง สมัยรัชกาลที่ 5-6 โดยเป็นส่วนหนึ่งของคณะเพรสไบทีเรียนสยาม
ตั้งอยู่ ต.ละมอ อ.นาโยง จ.ตรัง วัดมงคลสถานสร้างขึ้นเมื่อปี 2449 ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ภายในวัดมีโบราณสถานสำคัญคือ อุโบสถ ที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2480 ลักษณะทางอาคารแสดงถึงอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของท้องถิ่นภาคใต้