แหล่งโบราณคดี


แสดง 381 ถึง 400 จาก 414 ผลลัพธ์

วัดคีรีวิหาร

ตั้งอยู่ ต.เขากอบ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง วัดคีรีวิหารเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของอำเภอห้วยยอด สร้างเมื่อ พ.ศ.2374 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เคยเสด็จมาสำรวจทรงพบพระพิมพ์ดินดิบจำนวนมาก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 และบริเวณใต้เพิงผายังพบพระพุทธรูปสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์

อ่านเพิ่มเติม

วัดตรังคภูมิพุทธาวาส

ตั้งอยู่ในตัวอำเภอกันตัง จ.ตรัง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ.2436 โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เจ้าเมืองตรังในขณะนั้น สิ่งสำคัญได้แก่ อุโบสถที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ พระพุทธรูป พระสาวก และประติมากรรมรูปสัตว์ ที่ทำจากหินอ่อน เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม

วัดจอมไตร

ตั้งอยู่ ต.นาโยงเหนือ อ.นาโยง จ.ตรัง วัดจอมไตรสร้างราวปี 2393 สิ่งสำคัญภายในวัดคืออุโบสถ ที่สร้างด้วยสถานปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้  และ "พระพุทธจอมไตร" ที่ประดิษฐานในอุโบสถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ทำพิธีหล่อด้วยโลหะองค์แรกของจังหวัดตรัง) สร้างเมื่อปี 2488

อ่านเพิ่มเติม

วัดนิคมประทีป

ตั้งอยู่ ต.โคกหล่อ อ.เมืองตรัง วัดนิคมประทีป หรือ วัดโคกหล่อ สร้างขึ้นเมื่อปี 2423 โบราณสถานสำคัญคืออุโบสถที่แสดงสถาปัตกรรมพื้นถิ่น รวมถึงพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถ ที่สร้างขึ้นระหวห่างปี 2481-2490

อ่านเพิ่มเติม

วัดบางน้ำวน

ตั้งอยู่ ต.บางโทรัด อ.เมืองสมุทรสาคร ตั้งอยู่ริมคลองสุนัขหอนและคลองท่าแร้ง ประวัติวัดระบุว่าสร้างเมื่อ พ.ศ.2357 โดยกล่าวว่าสร้างโดยชาวมอญที่อพยพมมาอยู่ในตำบลนี้ สิ่งสำคัญภายในวัดคือ อุโบสถ กำแพงแก้ว และกลุ่มเจดีย์แบบมอญ

อ่านเพิ่มเติม

วัดแหลมสุวรรณาราม

ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน บริเวณที่เป็นคุ้งน้ำกระเพาะหมู ใน ต.ท่าฉลอม อ.เมืองสมุทรสาคร ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2369 โบราณสถานสำคัญคือ อุโบสถไม้ ผนังอุโบสถมีลักษณะพิเศษคือ บริเวณระหว่างช่องหน้าต่างด้านนอกอาคาร ประดับด้วยพระพุทรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย บนฐานบัวปูนปั้น ทาสีทองทั้งองค์

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาน้อย

ตั้งอยู่ ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนภูเขาน้อยทั้งลูกเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ บนยอดภูเขาน้อย ปรากฏซากโบราณสถาน "พระเจดีย์เขาน้อย" ศาสนสถานในศาสนาพุทธ ที่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ในสมัยศรีวิชัย และมีการบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งในสมัยอยุธยา 

อ่านเพิ่มเติม

วัดทุ่งผักกูด

ตั้งอยู่บ้านทุ่งผักกูด ต.ห้วยด้วน อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ตั้งวัดเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 หรือรัชกาลที่ 5 สอดคล้องกับประวัติการตั้งถิ่นฐานของชุมชนชาวลาวครั่ง (ลาวคั่ง) ในพื้นที่อำเภอดอนตูม โบราณสถานและสถานที่สำคัญของวัดได้แก่ อุโบสถ เจดีย์ 5 องค์ ศาลาการเปรียญไม้ และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชาติพันธุ์ลาวคั่ง วัดทุ่งผักกูด 

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาสาย

ต.บางดี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง พบหลักฐานหลายยุคสมัย ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น เครื่องมือหิน ชิ้นส่วถ้ำเขาสายนหม้อสามขา ชิ้นส่วนภาชนะดินผา กระจายอยู่ภายในถ้ำต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์ดินดิบบริเวณถ้ำทางทิศตะวันออก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 เป็นโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จมาในวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม ร.ศ.121 (พ.ศ.2445)

อ่านเพิ่มเติม

วัดถ้ำพระพุทธ

ต.หนองบัว อ.รัษฎา จ.ตรัง สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2374 โดยพ่อท่านฉางหลวง สร้างขึ้นเพราะบนภูเข้าหน้าถ้ำมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่อยู่แล้ว จึงให้นามว่า “วัดถ้ำพระพุทธ” นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปปูนปั้นบริเวณเพิงผาหลายองค์ ศิลปะพื้นถิ่นภาคใต้ บางองค์ทรงเครื่องแบบมโนราห์

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาหลักจัน

ตั้งอยู่ที่ บ้านเขาโหรง ต.น้ำผุด อ.เมืองตรัง จ.ตรัง ภูเขาหลักจันเป็นภูเขาหินปูน พบหลักฐานทางโบราณคดีอยู่ตามถ้ำและเพิงผา ทั้งโครงกระดูกมนุษย์ เครื่องมือหิน และชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ส่วนพระพุทธรูปโบราณที่อยู่ในถ้ำตามคำบอกเล่าของชาวบ้านกล่าวว่าถูกทำลายไปแล้ว ปัจจุบันมีผู้สร้างพระพุทธรูปใหม่มาไว้ที่ปากถ้ำ และตั้งสำนักสงฆ์เขาหลักจันทร์อยู่เชิงเขา

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาชุมทอง

ตั้งอยู่ที่ ต.น้ำผุด อ.เมืองตรัง จ.ตรัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ มีเป็นเอกกลักษณ์คือ สวมเทริดมโนราห์ นับเป็นการผสมผสานระหว่างศรัทธาในพระพุทธศาสนากับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น นอกจากนี้ยังพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ภายในถ้ำภูเขาทอง 

อ่านเพิ่มเติม

เขาปินะ

ตั้งอยู่ ต.นาวง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง มีถ้ำขนาดใหญ่น้อยหลายถ้ำในเขาปินะ แบ่งได้เป็น 6 ระดับ โดยปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น หม้อสามขา ขวานหันขัด และยังพบหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทั้งการเสด็จฯ เยือนของรัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7 รวมถึงหลักฐานต่าง ๆ ของขุนไกร ผู้ปฏิสังขรณ์สถานที่แห่งนี้ 

อ่านเพิ่มเติม

วัดกะพังสุรินทร์

ต้้งอยู่ติดกับสระน้ำกะพังสุรินทร์ ต.ทับเที่ยง อ.เมืองตรัง อาคารโบราณสถานได้แก่ อุโบสถที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นภาคใต้ ภายในประดิษฐานพระประธานที่อัญเชิญมาจากพุทธคยา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ใช้วัดนี้เป็นที่ตั้งกองกำลังเพื่อต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม

อ่านเพิ่มเติม

วัดธารากร

ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส วัดธารากร เดิมมีชื่อว่า “วัดบางน้อย” ตามชื่อหมู่บ้าน สิ่งสำคัญภายในวัดคือ่ อุโบสถ ที่ผสมผสานระหว่างศิลปกรรมของภาคกลางกับศิลปกรรมพื้นถิ่น และยังมีจิตรกรรมประดับอุโบสถที่งดงาม

อ่านเพิ่มเติม

วัดโคกมะม่วง

ต.พร่อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เป็นวัดโบราณที่อาจตั้งขึ้นมาตั้งแต่เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่ หอไตรกลางน้ำ ที่สะท้อนสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาวัดหน้าถ้ำ

ต.หน้าถ้ำ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธไสยาสน์วัดถ้ำ หรือ “พ่อท่านบรรทม” รูปปั้นยักษ์ขนาดใหญ่เรียกว่า “พ่อท่านเจ้าเขา” พระพิมพ์ดินดิบ สถูปดินดิบ พระพุทธรูปศิลา และจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “ปปร” และพิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย หรือหอวัฒนธรรมศรีวิชัย (วัดคูหาภิมุข) 

อ่านเพิ่มเติม

ปราสาทหนองปล่อง

ต.หนองปล่อง อ.ชำนิ จ.บุรีรัมย์ เป็นปราสาทในวัฒนธรรมเขมร มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศาสนสถานประจำที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลา 1 ใน 17 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หลักฐานสำคัญคือซากปราสาทที่สร้างด้วยศิลาแลงและหินทราย และสระน้ำ 1 สระ

อ่านเพิ่มเติม

ปราสาทหนองตาเปล่ง

ปราสาทหนองตาเปล่ง ต.ช่อผกา อ.ชำนิ จ.บุรีรัมย์ มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศาสนสถานประจำที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลา 1 ใน 17 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมรโบราณ โปรดให้สร้างขึ้น

อ่านเพิ่มเติม

ปราสาทหนองกง

ปราสาทหนองกง หรือปราสาทโคกปราสาท หรือปราสาทท้าวกง ต.หนองกง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์  มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศาสนสถานประจำที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลา 1 ใน 17 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมรโบราณ โปรดให้สร้างขึ้น

อ่านเพิ่มเติม