ต.ปากจั่น อ.กระบุรี จ.ระนอง พบหลักฐานประเภทเศษภาชนะดินเผาทั้งเนื้อดินและเนื้อแกร่ง และพบหลักฐานประเภทลูกปัดแก้วสีเดียว(อินโด-แปซิฟิก) ลูกปัดหิน(คาร์เนเลียนและอาเกต) และเครื่องประดับที่ทำจากทอง ซึ่งล้วนเป็นสินค้าที่นิยมในสมัยอินโด-โรมันนั้น แสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณแห่งนี้ มีการติดต่อกับชุมชนภายนอก สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 8
วัดมหาธาตุ ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในอำเภอเชียงคาน สร้างขึ้นพร้อมๆ กับการก่อตั้งเมืองเชียงคาน ชาวบ้านเรียกวัดหลวงพ่อใหญ่ เป็นโบราณสถานสำคัญที่แสดงศิลปกรรมท้องถิ่นของล้านช้าง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-24
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง บ้านทุ่งยั้ง ม.3 ต.ทุ่งยั้ง (เทศบาลตำบลทุ่งยั้ง) อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง คงสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยพระยาลิไท ราวปี พ.ศ.1902 ตามหลักฐานศิลาจารึกวัดป่าแดด หลักที่ 9 ส่วนคำว่าทุ่งยั้ง มาจากตำนานเก่าแก่ที่เล่ากันมาว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับยับยั้งที่เมืองนี้
วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ในอุทยานเมืองเก่าพิจิตร ม.4 บ้านเมืองเก่า ต.เมืองเก่า อ.เมืองพิจิตร จ.พิจิตร สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยและมีการใช้งานต่อเนื่องจนถึงสมัยอยุธยา ตั้งอยู่กึ่งกลางเมืองพิจิตรเก่า ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านเก่า สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้างคู่กับเมืองพิจิตร
ต.เกาะตะเภา อ.บ้านตาก จ.ตาก นักวิชาการบางท่านจึงเสนอว่าวัดพระบรมธาตุอาจสร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 ตรงกับสมัยสุโขทัย กระทั่งถูกทิ้งเป็นวัดร้างในสมัยหลัง ก่อนที่ราว พ.ศ.2440 ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่
ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต วัดพระนางสร้าง เป็นวัดประจำเมืองถลางที่เก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่ง เคยเป็นที่ตั้งทัพพม่าในคราวศึกถลางเมื่อ พ.ศ.2328 มีตำนานการสร้างสัมพันธ์กับ “พระนางเลือดขาว” จากลักษณะสถาปัตยกรรมและประติมากรรม นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าวัดพระนางสร้างน่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ถ.แก้วเงินทอง (ถ.ฉิมพลี-วัดรัชฎาธิษฐาน) แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
ถ.แก้วเงินทอง (ถ.ฉิมพลี-วัดรัชฎาธิษฐาน) แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร