บ้านเขากลาง ม.13 ต.ปันแต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ คือ ภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ และภาพเขียนสีสมัยอยุธยาที่เขียนเป็นภาพเรื่องพุทธประวัติและเรื่องราวในพุทธศาสนาและภาพประกอบพิธีกีรรม แบ่งออกได้เป็น 10 กลุ่ม
ต.แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี จ.สิงห์บุรี เป็นเมืองโบราณที่มีประวัติการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ช่วยต้นยุคประวัติศาสตร์หรือสมัยทวารวดีเป็นต้นมา โบราณสถานสำคัญในเมืองสรรคบุรี ได้แก่ วัดมหาธาตุ วัดสองพี่น้อง วัดพระแก้ว วัดโตนดหลาย วัดท่าเสา(ร้าง) วัดพระยาแพรก วัดจันทร์ วัดสนามชัย(ร้าง)
ป้อมวิชัยประสิทธิ์หรือป้อมวิไชยเยนทร์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางกอกใหญ่ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ เป็นป้อมปราการที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีประวัติความเป็นมาเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ปัจจุบันยังคงมีการใช้เป็นที่ยิงสลุตในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และมีการติดตั้งเสาธงบริเวณทางเข้าป้อมเพื่อชักธงราชนาวีและธงผู้บัญชาการทหารเรือไทย
ตั้งอยู่ภายในวัดปราสาททอง บ้านแสรออ ต.ปราสาททอง อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ลักษณะเป็นปราสาทขอมองค์เดียว จากรูปแบบศิลปกรรมและอายุสมัย สันนิษฐานว่าสร้างโดยชาวเขมรอพยพในสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
พื้นที่กระทรวงพาณิชย์เดิม ปัจจุบันคือสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มิวเซียมสยาม ตั้งอยู่ริมถนนสนามไชย บริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ เดิมเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ทั้งป้อมวไชยเชนทร์ในสมัยอยุธยา วังที่ประทับของเจ้านายสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 และกระทรวงเศรษฐการหรือกระทรวงพาณิชย์ในปัจจุบัน หลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดค้นพบ ล้วนแต่สื่อเรื่องราวและประวัติของสถานที่อย่างชัดเจน
ต.ท่าจีน อ.เมืองสมุทรสาคร ตามประวัติกล่าวว่า วัดใหญ่จอมปราสาท สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ.2091-2111) ในอดีตบริเวณด้านหน้าวัดเป็นเมืองท่าตลาดริมน้ำ ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าชาวจีน จึงได้เรียกชุมชนบริเวณนี้ว่า “บ้านท่าจีน”
ตั้งอยู่ ต.เขากอบ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง วัดคีรีวิหารเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของอำเภอห้วยยอด สร้างเมื่อ พ.ศ.2374 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เคยเสด็จมาสำรวจทรงพบพระพิมพ์ดินดิบจำนวนมาก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 และบริเวณใต้เพิงผายังพบพระพุทธรูปสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์
ตั้งอยู่ ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนภูเขาน้อยทั้งลูกเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ บนยอดภูเขาน้อย ปรากฏซากโบราณสถาน "พระเจดีย์เขาน้อย" ศาสนสถานในศาสนาพุทธ ที่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ในสมัยศรีวิชัย และมีการบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งในสมัยอยุธยา
ต.หนองบัว อ.รัษฎา จ.ตรัง สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2374 โดยพ่อท่านฉางหลวง สร้างขึ้นเพราะบนภูเข้าหน้าถ้ำมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่อยู่แล้ว จึงให้นามว่า “วัดถ้ำพระพุทธ” นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปปูนปั้นบริเวณเพิงผาหลายองค์ ศิลปะพื้นถิ่นภาคใต้ บางองค์ทรงเครื่องแบบมโนราห์
ตั้งอยู่ที่ ต.น้ำผุด อ.เมืองตรัง จ.ตรัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ มีเป็นเอกกลักษณ์คือ สวมเทริดมโนราห์ นับเป็นการผสมผสานระหว่างศรัทธาในพระพุทธศาสนากับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น นอกจากนี้ยังพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ภายในถ้ำภูเขาทอง
ตั้งอยู่ ต.นาวง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง มีถ้ำขนาดใหญ่น้อยหลายถ้ำในเขาปินะ แบ่งได้เป็น 6 ระดับ โดยปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น หม้อสามขา ขวานหันขัด และยังพบหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทั้งการเสด็จฯ เยือนของรัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7 รวมถึงหลักฐานต่าง ๆ ของขุนไกร ผู้ปฏิสังขรณ์สถานที่แห่งนี้
ต.หน้าถ้ำ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธไสยาสน์วัดถ้ำ หรือ “พ่อท่านบรรทม” รูปปั้นยักษ์ขนาดใหญ่เรียกว่า “พ่อท่านเจ้าเขา” พระพิมพ์ดินดิบ สถูปดินดิบ พระพุทธรูปศิลา และจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “ปปร” และพิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย หรือหอวัฒนธรรมศรีวิชัย (วัดคูหาภิมุข)
ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม (ปัตตานี-นราธิวาส) ต.ตันหยงลุโละ อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี พบร่องรอยหลักฐานเกี่ยวกับกิจกรรมการหล่อปืนของเมืองปัตตานีรวมถึงปืนนางพญาตานี ตรงกับสมัยอยุธยา
ตั้งอยู่ ต.ตันหยงลุโละ อ.เมืองปัตตานี เดิมปรากฏไม้ประตูจมลึกอยู่ในดิน สภาพผุพัง สันนิษฐานว่าเป็นส่วนหนึ่งของประตูเมืองปัตตานี ในสมัยอยุธยา ปัจจุบันสภาพพื้นที่เป็นป่ารกร้าง
เลขที่ 20 ม.2 ถ.สายหัวคู-ขุนประทิง ต.ตากแดด อ.เมืองชุมพร บริเวณที่ตั้งของศาลเสื้อเมืองนี้คือ “วัดเสื้อเมือง” ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ สภาพเดิมของศาลเสื้อเมืองเป็นศาลาไม้มุงสังกะสี ต่อมาบูรณะใหม่เป็นอาคารคอนกรีต ภายในศาลตั้งแท่นบูชามีแท่งหินทรายและหลักไม้เรียกว่า “พระทรงเมือง”