แหล่งโบราณคดี


แสดง 181 ถึง 195 จาก 195 ผลลัพธ์

ภูเขาวัดหน้าถ้ำ

ต.หน้าถ้ำ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธไสยาสน์วัดถ้ำ หรือ “พ่อท่านบรรทม” รูปปั้นยักษ์ขนาดใหญ่เรียกว่า “พ่อท่านเจ้าเขา” พระพิมพ์ดินดิบ สถูปดินดิบ พระพุทธรูปศิลา และจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “ปปร” และพิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย หรือหอวัฒนธรรมศรีวิชัย (วัดคูหาภิมุข) 

อ่านเพิ่มเติม

ที่หล่อปืนใหญ่นางพญาตานีและเตาหลอม

ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม (ปัตตานี-นราธิวาส) ต.ตันหยงลุโละ อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี  พบร่องรอยหลักฐานเกี่ยวกับกิจกรรมการหล่อปืนของเมืองปัตตานีรวมถึงปืนนางพญาตานี ตรงกับสมัยอยุธยา

อ่านเพิ่มเติม

พลับพลาที่ประทับ รัชกาลที่ 7

ตั้งอยู่ที่ ต.โคกโพธิ์ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี พลับพลาแห่งนี้สร้างเพื่อเป็นที่ประทับในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงใน พ.ศ.2472

อ่านเพิ่มเติม

พระราชวังรัตนรังสรรค์

ต.เขานิเวศน์ อ.เมืองระนอง พระราชวังรัตนรังสรรค์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2433 โดยพระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) เจ้าเมืองระนองในขณะนั้น เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก เดิมตั้งอยู่บนเนินประวัติศาสตร์ แต่ได้รื้อออกไปเมื่อปี พ.ศ.2507 เพื่อก่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัด หลังจากนั้นได้มีโครงการก่อสร้างพระราชขึ้นใหม่ (องค์จำลอง) เมื่อปี พ.ศ.2545 ในพื้นที่ฝั่งตรงข้ามฝั่งถนนลุวัง 

อ่านเพิ่มเติม

วัดปทุมธาราราม

ต.กะเปอร์ อ.กะเปอร์ จ.ระนอง สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2311 สมัยต้นกรุงธนบุรี แต่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วัดบางปรุ” ตามชื่อคลองบางปรุ สิ่งก่อสร้างที่สำคัญภายในวัด ได้แก่ อุโบสถและเจดีย์ สมัยรัตนโกสินทร์ ราวรัชกาลที่ 7

อ่านเพิ่มเติม

วัดสุวรรณคีรีวิหาร

ต.เขานิเวศน์ อ.เขานิเวศน์ จ.ระนอง วัดสุวรรณคีรีวิหาร (วัดหน้าเมือง) เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2433 โดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ชื่อว่าเป็น “วัดแห่งแรกของเมืองระนอง” เดิมตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ริมหาดส้มแป้นใกล้กับสนามกีฬาจังหวัดระนองปัจจุบัน ชื่อ “วัดสุวรรณคีรีทาราม” 

อ่านเพิ่มเติม

เจดีย์วัดชัยมงคล

ต.บางพระ อ.เมืองตราด เจดีย์วัดชัยมงคลหรือวัดกลาง เป็นเจดีย์ร้าง ตั้งอยู่ที่ลานจอดรถของวัดกลาง ตามประวัติวัดกล่าวว่าวัดแห่งนี้ตั้งเมื่อปี 2325 เป็นเจดีย์ย่อมุม ซึ่งจากรูปแบบสถาปัตยกรรม สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

อ่านเพิ่มเติม

กู่วัดน้อย

ตั้งอยู่หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน ซึ่งเคยเป็นคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน (หอคำ) มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าสร้างโดยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 ราว พ.ศ.2416 เนื่องจากข้อผิดพลาดเรื่องการทูลถวายรายงานจำนวนวัดต่อรัชกาลที่ 5

อ่านเพิ่มเติม

วัดเขาปูน

บ้านเขาปูน ต.บ้านนา อ.เมืองชุมพร วัดเขาปูน ตามประวัติระบุว่าวัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2224 สิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่ บ่อน้ำที่ชาวบ้านมีความเชื่อว่า น้ำในบ่อมีความศักดิ์สิทธิ์ รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้

อ่านเพิ่มเติม

ศาลเสื้อเมือง

เลขที่ 20 ม.2 ถ.สายหัวคู-ขุนประทิง ต.ตากแดด อ.เมืองชุมพร บริเวณที่ตั้งของศาลเสื้อเมืองนี้คือ “วัดเสื้อเมือง” ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ สภาพเดิมของศาลเสื้อเมืองเป็นศาลาไม้มุงสังกะสี ต่อมาบูรณะใหม่เป็นอาคารคอนกรีต ภายในศาลตั้งแท่นบูชามีแท่งหินทรายและหลักไม้เรียกว่า “พระทรงเมือง”

อ่านเพิ่มเติม

วัดพระขวาง

วัดพระขวาง ม.6 ต.ขุนกระทิง อ.เมืองชุมพร ตั้งอยู่ริมคลองชุมพร ในเขตเมืองเก่าของชุมพร หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญของวัดพระขวางคือ "พระขวาง" ศิลปะสมัยอยุธยา ซึ่งมีตำนานผูกพันอยู่กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

อ่านเพิ่มเติม

กำแพงจวนเจ้าเมืองตะกั่วป่า

ต.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระยาเสนานุชิต (นุช ณ นคร) เป็นเจ้าเมืองตะกั่วป่า ระหว่าง พ.ศ.2383 – 2424 โดยสร้างล้อมรอบจวนที่พัก เป็นลักษณะของกำแพงค่ายป้องกันศัตรู อาจสร้างขึ้นเพื่อป้องกันอันตรายจากลุ่มชาวจีนที่ก่อความวุ่นวายขึ้นในเมืองตะกั่วป่าบ่อยครั้ง

อ่านเพิ่มเติม

เมืองถลางเก่า (เมืองถลางบ้านดอน)

ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เมืองถลางบ้านดอนมีซากกำแพงที่ก่อด้วยอิฐ เคยเป็นที่ว่าการเมืองถลางบ้านดอนในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา มีเจ้าเมืองคือ จอมเฒ่าบ้านดอน มีศักดิ์เป็นลุงของท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร

อ่านเพิ่มเติม

วัดลุมพินี

ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา วัดลุมพินีเป็นวัดราษฎร์สังกัดมหานิกาย โบราณสถานที่สำคัญภายในวัด คือ กุฏิหลังเก่า ซึ่งเป็นกุฏิไม้ทรงไทยพื้นถิ่น ตามประวัติกล่าวว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 2463 ในสมัยพระครูสุทัศนธรรมคุณ เป็นเจ้าอาวาส

อ่านเพิ่มเติม

วัดคงคาพิมุข

ต.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ตามประวัติกล่าวว่าอุโบสถของวัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2479 เดิมชื่อ "วัดคงคา" ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2483 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดคงคาพิมุข" ได้รับการบูรณะเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2503 โบราณสถานสำคัญคือ อุโบสถ และเจดีย์

อ่านเพิ่มเติม