แหล่งโบราณคดี


แสดง 61 ถึง 79 จาก 79 ผลลัพธ์

วัดกู่อ้ายสี

ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ชื่อมาจากที่โบราณสถานติดกับที่ดินของนายสี โบราณสถานประกอบด้วย เจดีย์ วิหาร แท่นบูชา และแนวกำแพงแก้วทางด้านทิศใต้ของวิหาร น่าจะสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22

อ่านเพิ่มเติม

วัดกู่มะเกลือ

ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ที่มาของชื่อโบราณสถานมาจากเดิมบริเวณโบราณสถานมีลักษณะเป็นเนินที่มีต้นมะเกลือขนาดใหญ่ปกคลุมอยู่ โบราณสถานประกอบด้วยวิหาร เจดีย์ และกำแพงแก้ว น่าจะสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21–22

อ่านเพิ่มเติม

วัดกู่ริดไม้

ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ บริเวณโบราณสถานแต่เดิมมีต้นริดไม้หรือต้นเพกาขึ้นเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกโบราณสถานแห่งนี้ว่า วัดกู่ริดไม้ โบราณสถานสำคัญคือ วิหาร เจดีย์ ฐานโบาณสถานแปดเหลี่ยม กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 21

อ่านเพิ่มเติม

วัดกู่จ๊อกป๊อก

ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ คำว่า “จ๊อกป๊อก” เป็นภาษาถิ่นเหนือมีความหมายว่า สิ่งก่อสร้างขนาดกลางที่เป็นเนินหรือมียอด โบราณสถานสำคัญคือวิหารและเจดีย์ที่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน น่าจะสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 21 – 22

อ่านเพิ่มเติม

วัดหนานช้าง

ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ชื่อโบราณสถานตั้งตามชื่อเจ้าของที่ดิน โบราณสถานประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างและอาคารประเภทต่าง ๆ จำนวน 13 แห่ง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 – 21

อ่านเพิ่มเติม

วัดกอมะม่วงเขียว

ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ชื่อวัดมาจากชาวบ้านเรียกต่อ ๆ กันมา เพราะแต่เดิมบริเวณเนินโบราณสถานเคยมีตอต้นมะม่วงขนาดใหญ่ โบราณสถานประกอบด้วยวิหาร แนวกำแพงแก้ว และอาคารในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า น่าจะมีอายุการสร้างอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 – 22

อ่านเพิ่มเติม

วัดกุมกามหมายเลข1

ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เดิมเรียกว่า โบราณสถานใกล้วัดกุมกาม โบราณสถานประกอบด้วยวิหารหน้าเจดีย์ และแนวกำแพงแก้วด้านทิศใต้ และทิศตะวันตก สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21

อ่านเพิ่มเติม

วัดกุมกามทีปราม

ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โบราณสถานประกอบด้วยวิหารหมายเลข 1 และวิหารหมายเลข 2 โบราณวัตถุสำคัญได้แก่ แผ่นอิฐจารึกอักษรฝักขาม พบบริเวณวิหารหมายเลข 1 กำหนดอายุรูปแบบตัวอักษรในระหว่าง พ.ศ. 2100 – 2158

อ่านเพิ่มเติม

วัดกุมกามทีปรามหมายเลข1

ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดต้นข่อย เนื่องจากในบริเวณโบราณสถานมีต้นข่อยและกอไผ่ขึ้นหนาแน่น พิจารณาจากรูปแบบของสถาปัตยกรรมร่วมกับโบราณวัตถุ สันนิษฐานว่าน่าจะมีการใช้งานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 – 23

อ่านเพิ่มเติม

วัดบ่อน้ำทิพย์

ต.หนองหอย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เดิมชาวบ้านเรียกวัดป่าคา แต่หลังจากชาวบ้านพบว่าในบริเวณวัดมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ จึงเรียกโบราณสถานนี้ว่า "วัดบ่อน้ำทิพย์" จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ สามารถกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22

อ่านเพิ่มเติม

วัดพระอุด

ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ สภาพโบราณสถานโดยรวมคงเหลือแต่เพียงส่วนฐานเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถระบุรูปแบบที่ชัดเจนของโบราณสถานได้ แต่จากโบราณวัตถุที่พบคือชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้น และภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาล้านนา กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22

อ่านเพิ่มเติม

วัดเสาหิน

ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ที่ระบุถึงพระเจ้าสามฝั่งแกนได้สร้างอุโบสถที่วัดแห่งหนึ่ง ริมฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศเหนือของเวียงกุมกาม และทรงให้ปักเสมาเป็นเสาหินที่อุโบสถ แต่จากหลักฐานจารึกพบว่าน่าจะสร้างขึ้นในช่วงรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช เมื่อ พ.ศ. 2023

อ่านเพิ่มเติม

วัดพระนอนหนองผึ้ง

ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ มีตำนานกล่าวถึงในอดีตบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวลัวะ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 ได้มีพระมหาเถระเจ้าจำนวน 5 รูปธุดงค์มาถึง ชาวลัวะจึงได้นำรังผึ้งจากต้นมะขามริมสระน้ำใกล้หมู่บ้านมาถวายพร้อมสร้างขึ้นเป็นวัดชื่อว่า "วัดหนองผึ้ง"

อ่านเพิ่มเติม

วัดศรีบุญเรือง

ตั้งอยู่ ม.2 ต.หนองหอย อ.เมืองเชียงใหม่ อยู่ฝั่งตะวันตกของเวียงกุมกาม เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัยพญามังราย โดยสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานที่ได้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิงเป็นแห่งแรก และต่อมาพญามังรายได้สร้างพระอุโบสถถวายแด่พระนางเจ้าเทพคำ พระมารดาของพระองค์ที่สิ้นพระชนม์

อ่านเพิ่มเติม

วัดป่าเปอะ

บ้านป่าเปอะ ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2204 ซึ่งมีประวัติเล่าว่า สร้างขึ้นโดยพระพรหม (พระที่ชื่อ พรหม) เมื่อได้เดินทางมาฉลองวัด ต้องอาบน้ำล้างโคลนตมเนื่องจากระหว่างทางฝนตก ทำให้พื้นดินและทางเดินเปียกและลื่น มีแต่โคลนตม จึงได้ชื่อว่า "วัดป่าเปอะ"

อ่านเพิ่มเติม

วัดพันเลา

ต.หนองหอย อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ วัดพันเลาเป็นโบราณสถานร้าง ชื่อของโบราณสถานมีการสันนิษฐานว่า คำว่า “พัน” อาจหมายถึงยศทางทหารหรือขุนนาง และอาจเป็นวัดที่ถูกอุปถัมภ์โดยนายทหารหรือขุนนางที่ชื่อ “เลา”

อ่านเพิ่มเติม

วัดกู่ผีบ้า(ร้าง)

ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ โบราณสถานกู่ผีบ้า เป็นชื่อที่ใช้เรียกในปัจจุบัน ไม่ปรากฏที่มาและเอกสารที่กล่าวถึงวัดนี้ที่ชัดเจน ปัจจุบันเป็นวัดร้างตั้งอยู่ภายในพื้นที่สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าเชิงดอยสุเทพและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยสุเทพ สันนิษฐานว่าศาสนสถานของวัดในฝ่ายอรัญวาสีหรือวัดป่าของเมืองเชียงใหม่

อ่านเพิ่มเติม

วัดโขงพระโหมด

ต.เกาะตะเภา อ.บ้านตาก จ.ตาก เป็นโบราณสถานร้าง ในเมืองตากเก่า (บ้านตาก) ลักษณะที่ปรากฏปัจจุบันเป็นเจดีย์ 8 เหลี่ยม ด้านในกลวงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป แต่ปัจจุบันถูกขุดทำลายไปแล้ว สันนิษฐานว่าอยู่ในสมัยสุโขทัย-อยุธยา

อ่านเพิ่มเติม

เจดีย์แดง

ไม่ปรากฏชื่อวัดเจดีย์แดง (นอก) ในเอกสารตำนานและพงศาวดารใด ๆ  แต่จากรูปแบบทางสถาปัตยกรรม สันนิษฐานว่าเจดีย์องค์นี้น่าจะอยู่ในครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา

อ่านเพิ่มเติม