ตั้งอยู่ ถ.พโลรังฤทธิ์ ม.6 ต.ปทุม อ.เมืองอุบลราชธานี (เทศบาลนครอุบลราชธานี) สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ.2436-2453 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งทรงสร้างถวายพระสีทา ชยเสโน แห่งวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) โบราณสถานสำคัญ ได้แก่ สิมเก่าและหอไตร 2 หลัง รวมทั้งเสมาหินทรายรอบอุโบสถหรือสิมหลังปัจจุบัน
ต.บ้านแร่ อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ตั้งอยู่ในวัดปราสาทแก้ว ในเขตพื้นที่ด้านตะวันออกภายในเมืองโบราณบ้านพระปิด ส่วนฐานปราสาทสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 ส่วนตัวปราสาทสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 23-24
บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี มีการใช้พื้นที่ของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การตั้งถิ่นฐานระยะแรกน่าจะเป็นชุมชนโบราณในสมัยสำริด อายุราว 2,500 ปีมาแล้ว ทางทิศตะวันออกของเมืองด้านนอกคูน้ำคันดิน ปรากฏการสร้างศาสนสถานขึ้น คือ โบราณสถานโนนแก ส่วนด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้นอกคูเมือง มีการขุดหนองน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ซึ่งน่าจะเป็นบารายในสมัยวัฒนธรรมเขมร
บ้านก้านเหลือง ต.ขามใหญ่ อ.เมืองอุบลราชธานี แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลืองมีอายุอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมายังยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น หรือตั้งแต่ 2,800-1,500 ปีมาแล้ว พบหลักฐานของการฝังศพครั้งที่ 2 ในภาชนะดินเผา ปัจจุบันมีการจัดแสดงหลุมขุดค้นและนิทรรศการ
ต.ป่าเขาหินตัด อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เป็นแหล่งวัตถุดิบหินทรายของคนโบราณในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 15-18 สำหรับใช้ในการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ โดยเฉพาะปราสาทในวัฒนธรรมเขมรในเขตอำเภอสีคิ้วและอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน
ม.1 บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี อูบมุงเป็นซากโบราณสถานก่ออิฐในวัฒนธรรมขอมของเมืองโบราณบ้านคูเมือง ตั้งอยู่ห่างจากคูเมืองชั้นในของเมืองโบราณบ้านคูเมืองมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 600 เมตร
ตั้งอยู่ภายในวัดปราสาททอง บ้านแสรออ ต.ปราสาททอง อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ลักษณะเป็นปราสาทขอมองค์เดียว จากรูปแบบศิลปกรรมและอายุสมัย สันนิษฐานว่าสร้างโดยชาวเขมรอพยพในสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ต.หนองปล่อง อ.ชำนิ จ.บุรีรัมย์ เป็นปราสาทในวัฒนธรรมเขมร มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศาสนสถานประจำที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลา 1 ใน 17 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หลักฐานสำคัญคือซากปราสาทที่สร้างด้วยศิลาแลงและหินทราย และสระน้ำ 1 สระ
ปราสาทหนองตาเปล่ง ต.ช่อผกา อ.ชำนิ จ.บุรีรัมย์ มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศาสนสถานประจำที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลา 1 ใน 17 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมรโบราณ โปรดให้สร้างขึ้น
ปราสาทหนองกง หรือปราสาทโคกปราสาท หรือปราสาทท้าวกง ต.หนองกง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศาสนสถานประจำที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลา 1 ใน 17 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมรโบราณ โปรดให้สร้างขึ้น
ต.กระโทก อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือสมัยบาปวน โบราณสถานสำคัญคือปราสาท 2 หลัง และคูน้ำล้อมปราสาท
ต.พลับพลา อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ลักษณะเป็นเนินดิน มีร่องรอยให้เห็นว่าส่วนฐานปราสาท สร้างด้วยศิลาแลง องค์ปราสาทสร้างด้วยอิฐและหินทราย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 บริเวณรอบเนินโบราณสถานมีร่องรอยของสระน้ำล้อมรอบอยู่
บริเวณเพิงผาเขียน เขาพนมดบ อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ต.บักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ พบร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ในอดีต 2 จุด คือ ภาพศิลปะถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งภาพเขียนสี และภาพสลัก