ตั้งอยู่บ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมืองลำพูน ปรากฏร่องรอยหลักฐานการใช้พื้นที่เป็นแหล่งสุสานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กระทั่งเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ สมัยหริภุญชัย
แหล่งโบราณคดีสบคำ บริเวณที่ลาดตีนดอยคำ ลำน้ำคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย พบเครื่องมือหินยุคก่อนประวัติศาสตร์ และหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าบริเวณนี้เคยมีมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่เมื่อราว 15,000 – 3,000 ปีมาแล้ว
แหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ใน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีการขุดค้นอย่างเป็นระบบแหล่งแรก ๆ ของไทย โดยคณะสำรวจไทย-เดนมาร์ก ระหว่างปี 2503-2505
ต.ดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก โบราณวัตถุสำคัญ เช่น เครื่องประดับที่่ทำจากแก้วและหินกึ่งมีค่า รวมถึงวัตถุสำริดรูปไก่ลอยตัว รูปกรงหรือสุ่มไก่สำริด รูปหงส์ รูปนกยูง ลูกกระพรวน กำไล, แหวน, ภาชนะรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกระบอก ทรงขัน ทรงถังน้ำ ฝามีจุกแหลม ทัพพีสำริด และภาชนะสำริดชิ้นหนึ่งเป็นรูปผู้หญิงเกล้ามวยผม หูยาว สวมเสื้อ พบแต่ส่วนบนของร่างกายผู้หญิง
เมืองโบราณบ้านประแว ตั้งอยู่ ม.2 ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เป็น 1 ใน 3 เมืองของเมืองโบราณยะรัง มีการใช้พื้นที่มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 และมีการใช้พื้นที่หนาแน่นใช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 โบราณสถานที่สำคัญภายในเมืองพบ ซากสิ่งก่อสร้างอิฐ 2 แห่ง และบ่อน้ำเก่า 5 แห่ง
บ้านท่าเรือ อ.เมืองนครศรีธรรมราช เป็นชุมชนหนึ่งในกลุ่มชุมชนโบราณคลองท่าเรือ มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ แต่หลักฐานจะเด่นชัดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18 โบราณวัตถุสำคัญ เช่น ขวานหินขัด กำไลหิน ลูกปัดแก้วหรือลูกปัดมีตา เครื่องถ้วยจีนเคลือบสีเขียวมะกอกแบบยั่ว (Yue ware)
ตั้งอยู่ที่บ้านสามแก้ว อ.เมืองชุมพร เป็นชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 2 และเจริญในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 -10 มีการสร้างกำแพงดินล้อมรอบชุมชน มีการสร้างคูน้ำหรือทางระบายน้ำ มีการจัดแบ่งพื้นที่อุตสาหกรรมไว้นอกเขตชุมชน
ตั้งอยู่ที่ บ้านจำปุย ต.บ้างดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง พบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์กระจายอยู่หลายกลุ่มเป็นระยะๆ รวมแล้วมากกว่า 1,872 ภาพ และพบหลุมฝังศพของคนก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยหินใหม่ เมื่อ 2,900-3,200 ปีมาแล้ว
ต.นาซาว อ.เมืองน่าน จ.น่าน แหล่งโบราณคดีภูซาง หรือดอยภูซาง ในอดีต (ประมาณ 700 ถึงกว่า 3,000 ปีมาแล้ว) น่าจะเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือหินในระดับอุตสาหกรรรม เพราะพบหลักฐานที่แสดงถึงกระบวนการผลิตเครื่องมือหินเป็นจำนวนมากและกระจายตัวอยู่หนาแน่นเป็นบริเวณกว้าง
ตั้งอยู่ที่ ต.ปัว อ.ปัว จ.น่าน เป็นเมืองโบราณของล้านนาสมัยแรกเริ่มตั้งเมืองน่าน ที่ตั้งเมืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ดี จากการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี พบหลักฐานการใช้พื้นที่บริเวณเมืองปัวมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ (5,000-3,000 ปีมาแล้ว)
ต.ปากจั่น อ.กระบุรี จ.ระนอง พบหลักฐานประเภทเศษภาชนะดินเผาทั้งเนื้อดินและเนื้อแกร่ง และพบหลักฐานประเภทลูกปัดแก้วสีเดียว(อินโด-แปซิฟิก) ลูกปัดหิน(คาร์เนเลียนและอาเกต) และเครื่องประดับที่ทำจากทอง ซึ่งล้วนเป็นสินค้าที่นิยมในสมัยอินโด-โรมันนั้น แสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณแห่งนี้ มีการติดต่อกับชุมชนภายนอก สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 8
ต.กำพวน อ.สุขสำราญ จ.ระนอง แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นเมืองท่ายุคแรก ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการติดต่อทางการค้ากับอินเดียอย่างชัดเจน หลักฐานสำคัญที่พบมีทั้งลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินกึ่งมีค่า ลูกปัดทอง เครื่องปั้นดินเผาจากทั้งที่ผลิตในท้องถิ่นและจากดินแดนตะวันตก