ต.ปากจั่น อ.กระบุรี จ.ระนอง พบหลักฐานประเภทเศษภาชนะดินเผาทั้งเนื้อดินและเนื้อแกร่ง และพบหลักฐานประเภทลูกปัดแก้วสีเดียว(อินโด-แปซิฟิก) ลูกปัดหิน(คาร์เนเลียนและอาเกต) และเครื่องประดับที่ทำจากทอง ซึ่งล้วนเป็นสินค้าที่นิยมในสมัยอินโด-โรมันนั้น แสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณแห่งนี้ มีการติดต่อกับชุมชนภายนอก สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 8
ต.กำพวน อ.สุขสำราญ จ.ระนอง แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นเมืองท่ายุคแรก ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการติดต่อทางการค้ากับอินเดียอย่างชัดเจน หลักฐานสำคัญที่พบมีทั้งลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินกึ่งมีค่า ลูกปัดทอง เครื่องปั้นดินเผาจากทั้งที่ผลิตในท้องถิ่นและจากดินแดนตะวันตก
ต.นาปู่ป้อม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน อยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว 11,000 ปีมาแล้ว เป็นต้นมา พบหลักฐานทางโบราณคดีทั้งเครือมือหินแบบ Hoabinhian เครื่องมือสะเก็ดหิน เครื่องมือหินขัด เศษภาชนะดินเผา ซากพืช ซากสัตว์ โลงไม้ ซึ่ง Chester Gorman เคยระบุว่าเป็นแหล่งที่พบภาชนะดินเผาและร่องรอยการเพาะปลูกที่เก่าที่สุดในประเทศไทย
ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด หมู่บ้านถ้ำลอด ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน บริเวณเพิงผาถ้ำลอดมีคนเข้ามาใช้พื้นที่ตั้งแต่สมัยไพลสโตซีนตอนปลายจนถึงโฮโลซีนตอนต้น (ประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้ว) หลักฐานที่สำคัญได้แก่ หลุมฝังศพมนุษย์ที่ถูกฝังอยู่ในท่านอนงอเข่า อายุกว่า 13,000 ปีมาแล้ว
ตั้งอยู่ ม.8 บ้านหนองครก ต.หนองปรือ อ.รัษฎา จ.ตรัง พบหลักฐานทางโบราณคดีของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ อายุราว 2,000-3,000 ปี โดยหลักฐานที่สำคัญคือหม้อ 3 ขา และขวานหินขัด
ตั้งอยู่ ม.1 บ้านแม่ทะ ต.แม่ทะ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง พบเครื่องมือหินหลากหลายประเภท รวมทั้งร่องรอยการผลิตเครื่องมือหิน สันนิษฐานว่าในอดีต สมัยหินใหม่ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ พื้นที่บริเวณนี้อาจเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือหิน โดยมีแหล่งวัตถุดิบอยู่ไม่ไกลนัก
วัดถ้ำผาปู่ ม.9 บ้านนาอ้อ ต.นาอ้อ อ.เมืองเลย จ.เลย หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญคือ ภาพเขียนสีแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะภาพสามเหลี่ยมทึบ 2 รูปต่อมุมกัน คล้ายนาฬิกาทราย นอกจากนี้ ภายในวัดยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์หลวงปู่คำดี ปภาโส พระเถระรูปสำคัญที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาวัด
วัดถ้ำผาบิ้ง ม.2 บ้านนาแก ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย สิ่งสำคัญของวัดคือ รอยพระพุทธบาทบนเพดานถ้ำ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานในปี 2478 นอกจากนี้ ภายในวัดยังมีเจดีย์พิพิธภัณฑ์ (เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย จันทสาโร) ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระอาจารย์หลุย จันทสาโร
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดถ้ำเขาคีรีบรรพต บ้านภูเขาทอง ต.บ้านม่วง อ.สังคม จ.หนองคาย บริเวณริมแม่น้ำโขง เป็นเหมืองแร่ทองแดงที่อาจจะเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย พบร่องรอยกิจกรรมการทำเหมืองแร่หลายจุดด้วยกัน ทั้งซากเหมืองใต้ดิน ปล่อง อุโมงค์ ลานบดแร่
ตั้งอยู่ที่วัดพระพุทธบาทภูเก้า อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ บ้านดงบาก ต.นิคมพัฒนา อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญคือ ภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ ภาพคน ภาพปลา รวมถึงภาพเชิงสัญลักษณ์ต่างๆ
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง บ้านทุ่งยั้ง ม.3 ต.ทุ่งยั้ง (เทศบาลตำบลทุ่งยั้ง) อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง คงสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยพระยาลิไท ราวปี พ.ศ.1902 ตามหลักฐานศิลาจารึกวัดป่าแดด หลักที่ 9 ส่วนคำว่าทุ่งยั้ง มาจากตำนานเก่าแก่ที่เล่ากันมาว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับยับยั้งที่เมืองนี้
วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ในอุทยานเมืองเก่าพิจิตร ม.4 บ้านเมืองเก่า ต.เมืองเก่า อ.เมืองพิจิตร จ.พิจิตร สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยและมีการใช้งานต่อเนื่องจนถึงสมัยอยุธยา ตั้งอยู่กึ่งกลางเมืองพิจิตรเก่า ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านเก่า สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้างคู่กับเมืองพิจิตร
ต.เกาะตะเภา อ.บ้านตาก จ.ตาก นักวิชาการบางท่านจึงเสนอว่าวัดพระบรมธาตุอาจสร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 ตรงกับสมัยสุโขทัย กระทั่งถูกทิ้งเป็นวัดร้างในสมัยหลัง ก่อนที่ราว พ.ศ.2440 ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่
ตั้งอยู่ภายในวัดเลิศสวัสดิ์ (เขาจันทร์งาม) ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เป็นแหล่งศิลปะถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวในจังหวัดนครราชสีมาเท่าที่พบในปัจจุบัน มีอายุอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ภาพเด่นมีรูปกลุ่มคนทั้งวัยเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงภาพสุนัข
ต.เสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา เมืองเสมาเป็นเมืองโบราณร่วมสมัยวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมร มีคูน้ำคันดินล้อมรอบแต่มีร่องรอยหลักฐานปรากฏว่ามีการอยู่อาศัยของคนโบราณมาตั้งแต่ช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย