แหล่งโบราณคดี


แสดง 301 ถึง 320 จาก 501 ผลลัพธ์

วัดบ้านฉางประชานิมิตร

วัดบ้านฉางประชานิมิตร ต.เขาน้อย อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี เป็นสถานที่เก็บ “ศิลาจารึกขุนศรีไชยราชมงคลเทพ” ซึ่งจารึกถึงเหตุการณ์ยกทัพไปตีเมืองเขมรในรัชสมัยเจ้าสามพระยาแห่งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าจารึกขึ้นเมื่อ พ.ศ.1974 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) เสด็จไปตีเมืองพระนครหลวงนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม

หลักเมือง บน.6

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ต.ศรีสัชนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

อ่านเพิ่มเติม

แหล่งตัดหินวัดป่าเขาหินตัด

ต.ป่าเขาหินตัด อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เป็นแหล่งวัตถุดิบหินทรายของคนโบราณในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 15-18 สำหรับใช้ในการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ โดยเฉพาะปราสาทในวัฒนธรรมเขมรในเขตอำเภอสีคิ้วและอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม

วัดบางปรง

ม.9 บ้านบางปรง ต.บางพระ อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา

อ่านเพิ่มเติม

บ้านสระไข่น้ำ

ม.2 บ้านสระไข่น้ำ ต.กุดตุ้ม อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ, วัดสุลาลัย ต.โพนทอง อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ

อ่านเพิ่มเติม

วัดถนนคต

ม.11 บ้านถนนคต ต.สีคิ้ว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ตามประวัติวัดกล่าวว่าวัดถนนคตก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2442 โดยชาวยวน โดยมีหลักฐานคือรูปแบบศิลปกรรมของอุโบสถ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ.2464

อ่านเพิ่มเติม

ปรางค์ดอนกู่

ม.5 บ้านดอนกู่ ต.หนองไผ่ อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ

อ่านเพิ่มเติม

ปราสาทเมืองน้อยใต้

ม.3 บ้านเมืองน้อยใต้ ต.ในเมือง (เทศบาลเมืองชัยภูมิ) อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ

อ่านเพิ่มเติม

วัดพรหมสี่หน้า ตต.8

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ต.ศรีสัชนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

อ่านเพิ่มเติม

โนนสาวเอ้1

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

อ่านเพิ่มเติม

ธาตุกุดแห่น้อย

สำนักสงฆ์ธาตุกุดแห่น้อย ม.2 บ้านนาดอกไม้ ต.ชุมแพ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น

อ่านเพิ่มเติม

โนนสาวเอ้2

ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ปรากฏลวดลายของภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ 2 จุด เขียนเป็นภาพลายเส้นด้วยสีแดง มีลวดลายเป็นเส้นคู่ขนานคล้ายตัววาย (Y) กากบาท ภาพเส้นคดขนานกันหลายเส้น ลายรูปวงกลมที่มีเส้นคู่ขนานยื่นออกไป 6 ทิศทาง คล้ายกับพระอาทิตย์ นอกจากนี้ยังมีเส้นคู่ขนานที่เป็นตัวเชื่อมต่อกับภาพต่างๆ อีกด้วย 

อ่านเพิ่มเติม

เวียงกุมกาม

เมืองโบราณสำคัญของล้านนา ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เวียงกุมกามน่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 แต่ก่อนหน้านั้นก็เป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดเล็กในวัฒนธรรมหริภุญชัย ราวพุทธศตวรรษที่ 18 กระทั่งถูกทิ้งร้างไปเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 23

อ่านเพิ่มเติม

วัดช้างค้ำ(กานโถม)

ตั้งอยู่ในเวียงกุมกาม ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ชื่อของโบราณสถานวัดกานโถมปรากฏอยู่ในพงศาวดารโยนก สร้างโดยพระประสงค์ของพญามังราย สร้างเสร็จเมื่อ จ.ศ.652 (พ.ศ.1833) พร้อมกับหล่อพระพุทธปฏิมากร 5 องค์ ซึ่งมีขนาดเท่าพระองค์ แล้วจึงโปรดให้นายช่างกานโถมหรือกาดโถม สร้างวิหารคลุมพระพุทธรูป

อ่านเพิ่มเติม

วัดปู่เปี้ย

ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ วัดปู่เบี้ยเป็นโบราณสถานร้าง ชื่อของวัดปู่เบี้ยมาจากการที่ชาวบ้านเรียกตามลักษณะชายชราร่างเล็กที่อาศัยอยู่ภายในบริเวณโบราณสถานแห่งนี้ (คำว่า ปู่เบี้ย หมายถึง ปู่เตี้ย) มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21-22

อ่านเพิ่มเติม

ซำเม็ก, ถ้ำนายบาง

ตังอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ปรากฏภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ เขียนด้วยสีแดงเป็นลายคดคล้ายงูภาพเดียว เป็นการเขียนแบบหยาบๆ ทำนองไม่ตั้งใจเขียน คล้ายทดลองแปร

อ่านเพิ่มเติม

วัดเจดีย์เหลี่ยม

ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ มีอีกชื่อว่า วัดกู่คำ สร้างขึ้นในสมัยที่พญามังรายสถาปนาเมืองเวียงกุมกาม มีการบูรณะครั้งใหญ่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยหลวงโยนการวิจิตร คหบดีชาวมอญ ทำให้มีลักษณะเป็นแบบศิลปะพม่าดังปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม

ลานสาวเอ้

กองหินที่ลานสาวเอ้ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ปรากฏลวดลายภาพเขียนสีแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเส้นแนวตั้งเรียงกันเป็นแถวจำนวน 22 เส้น และมีเส้นแนวนอนเชื่อมด้านล่างหลายช่วง นอกจากนี้ยังพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง สีเทาเข้มและดำ ตกแต่งด้วลายขูดขีดเป็นเส้นคู่ขนานรอบคอภาชนะ 

อ่านเพิ่มเติม

วัดอีก้าง(อีค่าง)

ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ มีเรื่องเล่าท้องถิ่นว่ามีนางค่างตัวหนึ่งทำประโยชน์แก่พระราชามาก เมื่อนางค่างตายลงพระราชาจึงสร้างจึงสร้างวัดนี้ให้แก่นางค่างตัวนี้ และจากรูปแบบโบราณสถานสันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22

อ่านเพิ่มเติม

วัดธาตุขาว(วัดกู่ขาว)

ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ จากรูปแบบทางสถาปัตยกรรม และโบราณวัตถุสำคัญที่นำมากำหนดอายุการสร้างคือ อิฐจารึกอักษรฝักขาม จึงสันนิษฐานได้ว่าวัดธาตุขาว น่าจะสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22

อ่านเพิ่มเติม