ม.1 ต.ปากน้ำแหลมสิงห์ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกองทหารฝรั่งเศสสร้างขึ้นเพื่อเป็นกองบัญชาการและที่พักนายทหารที่รักษาปากน้ำแหลมสิงห์ เมื่อสมัยฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรี (พ.ศ.2436) ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียวทาสีแดง จึงถูกเรียกว่าตึกแดง
ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่หลักฐานเก่าสุดคือจารึกฐานพระพุทธรูปทองสำริดที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารเป็นจารึกอักษรไทยยวน ภาษาไทยยวน กำหนดอายุอยู่ในช่วง พ.ศ.2039 ตรงกับสมัยพระเจ้ายอดเชียงรายครองเมืองเชียงใหม่
วัดบ้านฉางประชานิมิตร ต.เขาน้อย อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี เป็นสถานที่เก็บ “ศิลาจารึกขุนศรีไชยราชมงคลเทพ” ซึ่งจารึกถึงเหตุการณ์ยกทัพไปตีเมืองเขมรในรัชสมัยเจ้าสามพระยาแห่งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าจารึกขึ้นเมื่อ พ.ศ.1974 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) เสด็จไปตีเมืองพระนครหลวงนั่นเอง
ต.ป่าเขาหินตัด อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เป็นแหล่งวัตถุดิบหินทรายของคนโบราณในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 15-18 สำหรับใช้ในการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ โดยเฉพาะปราสาทในวัฒนธรรมเขมรในเขตอำเภอสีคิ้วและอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน
ม.1 บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี อูบมุงเป็นซากโบราณสถานก่ออิฐในวัฒนธรรมขอมของเมืองโบราณบ้านคูเมือง ตั้งอยู่ห่างจากคูเมืองชั้นในของเมืองโบราณบ้านคูเมืองมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 600 เมตร
ม.2 บ้านสระไข่น้ำ ต.กุดตุ้ม อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ, วัดสุลาลัย ต.โพนทอง อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ
ม.11 บ้านถนนคต ต.สีคิ้ว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ตามประวัติวัดกล่าวว่าวัดถนนคตก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2442 โดยชาวยวน โดยมีหลักฐานคือรูปแบบศิลปกรรมของอุโบสถ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ.2464
ม.3 บ้านเมืองน้อยใต้ ต.ในเมือง (เทศบาลเมืองชัยภูมิ) อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ต.ศรีสัชนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
โรงเรียนบ้านชุมแพ ม.10 ถ.ชายทุ่ง บ้านชุมแพ ต.ชุมแพ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ปรากฏลวดลายของภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ 2 จุด เขียนเป็นภาพลายเส้นด้วยสีแดง มีลวดลายเป็นเส้นคู่ขนานคล้ายตัววาย (Y) กากบาท ภาพเส้นคดขนานกันหลายเส้น ลายรูปวงกลมที่มีเส้นคู่ขนานยื่นออกไป 6 ทิศทาง คล้ายกับพระอาทิตย์ นอกจากนี้ยังมีเส้นคู่ขนานที่เป็นตัวเชื่อมต่อกับภาพต่างๆ อีกด้วย