ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เนื่องจากตั้งอยู่บนที่ดินของนายหลาน จึงเรียกชื่อตามเจ้าของที่ดิน โบราณสถานวัดกู่อ้ายหลาน ประกอบด้วย วิหาร เจดีย์ กำแพงแก้ว และซุ้มโขง สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 19 – 21
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ชื่อมาจากที่โบราณสถานติดกับที่ดินของนายสี โบราณสถานประกอบด้วย เจดีย์ วิหาร แท่นบูชา และแนวกำแพงแก้วทางด้านทิศใต้ของวิหาร น่าจะสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22
ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ที่มาของชื่อโบราณสถานมาจากเดิมบริเวณโบราณสถานมีลักษณะเป็นเนินที่มีต้นมะเกลือขนาดใหญ่ปกคลุมอยู่ โบราณสถานประกอบด้วยวิหาร เจดีย์ และกำแพงแก้ว น่าจะสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21–22
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ บริเวณโบราณสถานแต่เดิมมีต้นริดไม้หรือต้นเพกาขึ้นเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกโบราณสถานแห่งนี้ว่า วัดกู่ริดไม้ โบราณสถานสำคัญคือ วิหาร เจดีย์ ฐานโบาณสถานแปดเหลี่ยม กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 21
ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ คำว่า “จ๊อกป๊อก” เป็นภาษาถิ่นเหนือมีความหมายว่า สิ่งก่อสร้างขนาดกลางที่เป็นเนินหรือมียอด โบราณสถานสำคัญคือวิหารและเจดีย์ที่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน น่าจะสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 21 – 22
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ชื่อโบราณสถานตั้งตามชื่อเจ้าของที่ดิน โบราณสถานประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างและอาคารประเภทต่าง ๆ จำนวน 13 แห่ง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 – 21
รอยพระบาทหลังเต่า อยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านเมืองพาน ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เป็นรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่บนลานหินบริเวณสันเขาทางทิศใต้ของภูพระบาท ที่มาของชื่อพระพุทธบาทหลังเต่า มาจากก้อนหินขนาดใหญ่ก้อนหนึ่งที่อยู่บริเวณใกล้เคียง มีลักษณะด้านบนโค้งและมีลวดลายคล้ายหลังเต่า ชาวบ้านจึงเรียกพระพุทธบาทที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกันว่า “พระพุทธบาทหลังเต่า”
ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ชื่อวัดมาจากชาวบ้านเรียกต่อ ๆ กันมา เพราะแต่เดิมบริเวณเนินโบราณสถานเคยมีตอต้นมะม่วงขนาดใหญ่ โบราณสถานประกอบด้วยวิหาร แนวกำแพงแก้ว และอาคารในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า น่าจะมีอายุการสร้างอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 – 22
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เดิมเรียกว่า โบราณสถานใกล้วัดกุมกาม โบราณสถานประกอบด้วยวิหารหน้าเจดีย์ และแนวกำแพงแก้วด้านทิศใต้ และทิศตะวันตก สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21
ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โบราณสถานประกอบด้วยวิหารหมายเลข 1 และวิหารหมายเลข 2 โบราณวัตถุสำคัญได้แก่ แผ่นอิฐจารึกอักษรฝักขาม พบบริเวณวิหารหมายเลข 1 กำหนดอายุรูปแบบตัวอักษรในระหว่าง พ.ศ. 2100 – 2158
ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดต้นข่อย เนื่องจากในบริเวณโบราณสถานมีต้นข่อยและกอไผ่ขึ้นหนาแน่น พิจารณาจากรูปแบบของสถาปัตยกรรมร่วมกับโบราณวัตถุ สันนิษฐานว่าน่าจะมีการใช้งานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 – 23
ต.หนองหอย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เดิมชาวบ้านเรียกวัดป่าคา แต่หลังจากชาวบ้านพบว่าในบริเวณวัดมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ จึงเรียกโบราณสถานนี้ว่า "วัดบ่อน้ำทิพย์" จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ สามารถกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22
ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ สภาพโบราณสถานโดยรวมคงเหลือแต่เพียงส่วนฐานเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถระบุรูปแบบที่ชัดเจนของโบราณสถานได้ แต่จากโบราณวัตถุที่พบคือชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้น และภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาล้านนา กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22
ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ที่ระบุถึงพระเจ้าสามฝั่งแกนได้สร้างอุโบสถที่วัดแห่งหนึ่ง ริมฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศเหนือของเวียงกุมกาม และทรงให้ปักเสมาเป็นเสาหินที่อุโบสถ แต่จากหลักฐานจารึกพบว่าน่าจะสร้างขึ้นในช่วงรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช เมื่อ พ.ศ. 2023
ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ มีตำนานกล่าวถึงในอดีตบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวลัวะ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 ได้มีพระมหาเถระเจ้าจำนวน 5 รูปธุดงค์มาถึง ชาวลัวะจึงได้นำรังผึ้งจากต้นมะขามริมสระน้ำใกล้หมู่บ้านมาถวายพร้อมสร้างขึ้นเป็นวัดชื่อว่า "วัดหนองผึ้ง"
ตั้งอยู่ ม.2 ต.หนองหอย อ.เมืองเชียงใหม่ อยู่ฝั่งตะวันตกของเวียงกุมกาม เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัยพญามังราย โดยสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานที่ได้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิงเป็นแห่งแรก และต่อมาพญามังรายได้สร้างพระอุโบสถถวายแด่พระนางเจ้าเทพคำ พระมารดาของพระองค์ที่สิ้นพระชนม์
บ้านป่าเปอะ ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2204 ซึ่งมีประวัติเล่าว่า สร้างขึ้นโดยพระพรหม (พระที่ชื่อ พรหม) เมื่อได้เดินทางมาฉลองวัด ต้องอาบน้ำล้างโคลนตมเนื่องจากระหว่างทางฝนตก ทำให้พื้นดินและทางเดินเปียกและลื่น มีแต่โคลนตม จึงได้ชื่อว่า "วัดป่าเปอะ"
ต.หนองหอย อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ วัดพันเลาเป็นโบราณสถานร้าง ชื่อของโบราณสถานมีการสันนิษฐานว่า คำว่า “พัน” อาจหมายถึงยศทางทหารหรือขุนนาง และอาจเป็นวัดที่ถูกอุปถัมภ์โดยนายทหารหรือขุนนางที่ชื่อ “เลา”
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านผักบุ้ง ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี