ตั้งอยู่ ต.ปากคลองบางปลากด อ.เมืองสมุทรปราการ เริ่มสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 และสร้างสำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับเป็นปูชนียสถานสำคัญมากแห่งหนึ่งของสมุทรปราการ เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ดอยมะขามป้อม 1 ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช บ้านห้วยปลาหลด ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่อยู่อาศัยหรือทำกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ และน่าจะเป็นแหล่งที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพระหว่างพม่า-ไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-22
วัดมหาธาตุ ต.ในเมือง อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นโดยพระเจ้าเพชรบูรณ์ เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ เมือ พ.ศ.1926 ภายในวัดมีสิ่งสำคัญต่างๆ ได้แก่ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หลวงพ่องาม และหลวงพ่อเพชรมีชัย
เมืองศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ พบหลักฐานว่าเป็นชุมชนโบราณตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 5-7 หรือประมาณ 2000 ปีมาแล้ว กระทั่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ในสมัยทวารวดีและสมัยเขมร ราวพุทธศตวรรษที่ 12-18 มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ
เขาคลังใน เมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ โบราณสถานเขาคลังในเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองในของเมืองศรีเทพ เป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธ และมีมาตั้งแต่สมัยแรกสร้างเมืองในราวพุทธศตวรรษที่ 12 หรือสมัยทวารวดี จนกระทั่งในสมัยวัฒนธรรมเขมร พุทธศตวรรษที่ 18
ปรางค์ศรีเทพ เมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ภายในเมืองโบราณศรีเทพ เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ที่มีความสำคัญอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 อย่างไรก็ดี จากการขุดค้นพบว่าบริเวณปรางค์ศรีเทพ มีการใช้พื้นที่สร้างเป็นอาคารมาตั้งแต่สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12-16
ปรางค์สองพี่น้อง เมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ตั้งอยู่กลางเมืองศรีเทพ แรกสร้างคงเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูไศวนิกาย สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 แต่ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18 ตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาจมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นวัดในพุทธศาสนา
ดอยมะขามป้อม 2 ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช บ้านห้วยปลาหลด ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่อยู่อาศัยหรือทำกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ และน่าจะเป็นแหล่งที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพระหว่างพม่า-ไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-22
วัดเขายี่สาร ตั้งอยู่ ม.1 บ้านเขายี่สาร ต.เขายี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ เป็นวัดและโบราณสถานบนเขาเพียงแห่งเดียวของ จ.สมุทรสงคราม ภายในมีสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความโดดเด่นด้านงานศิลปะของท้องถิ่น ทั้งสถาปัตยกรรมและจิตรกรรม
ตั้งอยู่บ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมืองลำพูน ปรากฏร่องรอยหลักฐานการใช้พื้นที่เป็นแหล่งสุสานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กระทั่งเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ สมัยหริภุญชัย
ตั้งอยู่ในตัวจังหวัดลำพูน ต.เหมืองง่า อ.เมืองลำพูน เป็นวัดเก่าแก่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของลำพูน กำหนดอายุการสร้างวัดจากหลักฐานศิลปกรรมและศิลาจารึกที่พบภายในวัดว่าคงมีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 สมัยหริภุญชัย ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมเก่าที่เป็นที่สนใจ คือ เจดีย์สี่เหลี่ยม “กู่กุด” และเจดีย์แปดเหลี่ยม
วัดเจดีย์หลวง เมืองเชียงแสน เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองเชียงแสน แผนผังเจดีย์หลวงเป็นเจดีย์รูปแปดเหลี่ยม ฐานกว้างด้านละ 9.50 เมตร สูงประมาณ 35.50 เมตร ตามประวัติกล่าวว่า สร้างโดยพระเจ้าแสนภู พระราชนัดดาของพระเจ้ามังราย
วัดเขียนบางแก้ว ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ตามตำนานและพงศาวดารกล่าวว่าสร้างโดยพระยากุมาร พงศาวดารเมืองพัทลุงได้กล่าวถึงการสร้างวิหารและพระพุทธรูปที่วัดเขียนบางแก้วโดยพระยากุมารระบุอยู่ในปี พ.ศ.1482 โบราณสถานสำคัญ เช่น พระมหาธาตุเจดีย์
เมืองชัยบุรี ต.ชัยบุรี อ.เมืองพัทลุง, ต.มะกอกเหนือ และ ต.พนมวังก์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง มีการใช้พื้นที่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-24 โดยช่วงหนึ่งอาจใช้เป็นศูนย์กลางของเมืองพัทลุง ดังที่ปรากฎหลักฐานทางด้านเอกสาร เช่นในจดหมายเหตุของ De Lamane ที่เขียนขึ้นราว พ.ศ.2229
ต.ทุ่งตะไคร อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร วัดมุจลินทรารามสร้างขึ้นในปี 2340 ในบริเวณ ต.ทุ่งตะไคร ต่อมาในปี 2496 จึงได้ย้ายวัดไปอยู่ ต.ช่องไม้แก้ว ห่างจากบริเวณเดิมไป 700 เมตร ส่วนที่ตั้งวัดเดิมเหลือเพียง "พระธาตุมุจลินทร์" ชาวบ้านเรียก “พ่อท่านในกุฎิ” และกลายเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดมุจลินทรารามในปัจจุบัน
วัดพุทธสำคัญใน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2417 โบราณสถานสำคัญคือ อุโบสถและกุฏิเจ้าอาวาส ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมฝากผนังตกแต่งอาคารแบบท้องถิ่นที่งดงาม
วัดพุทธที่สำคัญของ จ.นราธิวาส สร้างขึ้นราว พ.ศ.2403 นอกจากจะมีความโดดเด่นของศิลปกรรมท้องถิ่นภายในวัดแล้ว ยังมีความสำคัญอย่างมากด้านประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีการปักปันเขตแดนกับอังกฤษ จนได้ชื่อว่า “วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย”
แหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ใน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีการขุดค้นอย่างเป็นระบบแหล่งแรก ๆ ของไทย โดยคณะสำรวจไทย-เดนมาร์ก ระหว่างปี 2503-2505
ตั้งอยู่บ้านจาเละ ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เมืองโบราณบ้านจาเละอยู่ในกลุ่มเมืองโบราณยะรัง ผังเมืองมีคูน้ำล้อมรอบสามด้าน ปรากฏเนินโบราณสถานมากกว่า 10 แห่ง อาจเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 และพัฒนามาเป็นศูนย์กลางของพุทธมหายานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-16
ตั้งอยู่ บ้านจาเละ ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี โบราณสถานบ้านจาเละหมายเลข 3 อยู่ในกลุ่มเมืองโบราณยะรัง และอาจนับเป็นสถูปเนื่องในพุทธมหายานที่เก่าที่สุดในประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 โบราณวัตถุสำคัญ ได้แก่ พระพิมพ์ดินเผา สถูปจำลอง พระโพธิสัตว์อวโลติเกศวรสำริด