บ้านสบคำ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย แต่เดิมวัดพระธาตุผาเงาเคยเป็นวัดร้าง จนราวปี พ.ศ.2519 วัดสบคำ ริมน้ำโขง ถูกน้ำกัดเซาะ พังทลายลงทุกปี คณะศรัทธาจึงได้ย้ายวัดขึ้นมาสร้างบนเนินดอยคำ (ดอยจัน) บริเวณวัดร้างซึ่งไม่ไกลจากวัดสบคำมากนัก สถานที่ก่อสร้างวัดใหม่หรือบริเวณวัดร้างมีถ้ำที่เรียกว่า ถ้ำผาเงา และมีก้อนหินขนาดใหญ่รูปทรงคล้ายองค์เจดีย์
ถ.สาย 1 ต.เวียง (เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน) อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
ถ.สาย 1 ต.เวียง (เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน) อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
ต.เวียง (เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน) อ.เชียงแสน เมืองเชียงแสนเป็นเมืองโบราณสำคัญสมัยล้านนา ภายในมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญมากมาย ซึ่งมีรูปแบบศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของศิลปะล้านนาที่รับอิทธิพลมาจากส่วนกลางคือ เมืองเชียงใหม่ และส่วนหนึ่งได้มีพัฒนาการและปรับปรุงจนเกิดเป็นรูปแบบท้องถิ่นของตนเอง
ต.เวียง (เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน) อ.เชียงแสน จ.เชียงราย วัดช้างค้ำเป็นโบราณสถานของเมืองโบราณเชียงแสน โบราณสถานสำคัญภายในวัด ได้แก่ เจดีย์ที่ทำประติมากรรมรูปช้างล้อมรอบ วัดช้างค้ำหรือวัดช้างเผือกหรือช้างถ้ำ
ต.เวียง (เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน) อ.เชียงแสน จ.เชียงราย วัดเชตวันมีปรากฏในพงศาวดารโยนกว่า “ศักราช 998 (พ.ศ.2175 หรือ พ.ศ.2179) ปีชวด อัฐศก เจ้าฟ้าสุทโธธรรมราชา (กษัตริย์อังวะ) ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวชกุลบุตรพันหนึ่ง แล้วมีพระราชโองการให้สถาปนาที่วังนางฟ้ากาเผือก เมืองเชียงแสน เป็นพระอาราม ขนานนามว่า วัดเชตวัน แล้วอาราธนาพระมหาเถรวัดป่าไผ่ดอนแท่นมาเป็นเจ้าอาวาส”
ถ.ริมโขง (ทางหลวงหมายเลข 1290) ต.เวียง (เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน) อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
วัดมหาธาตุเป็นโบราณสถานภายในเมืองเชียงแสน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ปัจจุบันเป็นวัดร้าง ไม่ปรากฏประวัติหลักฐานการก่อสร้างุ แต่มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดพระรอด โบราณสถานสำคัญภายใน ได้แก่ วิหารและมณฑป กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21
ต.เวียง (เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน) อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ตามตำนานพื้นเมืองเชียงแสนระบุว่าวัดอุดมสร้างโดยหมื่นอุดม ขุนนางผู้กินเมืองเชียงแสนใน พ.ศ.2029 กรมศิลปากรได้ขุดแต่งวัดอุดมเมื่อ พ.ศ.2549 พบอาคารที่สันนิษฐานว่าเป็นวิหารและมณฑป