แหล่งโบราณคดี


แสดง 1 ถึง 20 จาก 122 ผลลัพธ์

ถ้ำจาม เขางู

ถ้ำจาม ตั้งอยู่เขางู ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ภายในถ้ำมีภาพศิลปกรรมสมัยทวารวดี (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-14) บนผนังทุกด้าน โดยเฉพาะภาพตอนเสด็จสู่ปรินิพพาน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำจีน เขางู

ถ้ำจีน ตั้งอยู่ในเขางู ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี พบภาพสลักนูนต่ำพระพุทธรูป 2 องค์ สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-14) แต่ต่อมาถูกดัดแปลงโดยพอกทับด้วยปูนปั้นในสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 22-23) นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายแดงสมัยอยุธยาเป็นจำนวนมาก

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำฝาโถ เขางู

ตั้งอยู่ที่เขางู ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี บนผนังถ้ำทางด้านทิศใต้มีภาพจำหลักรูปพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-12 รายล้อมไปด้วยภาพปูนปั้นลายเทพชุมนุมที่สร้างขึ้นในสมัยหลัง คือสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำฤๅษี เขางู

เป็นหนึ่งในถ้ำของเขางู ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ในคูหาใหญ่ (หรือเรียกกันว่าถ้ำฤๅษี) ที่ผนังถ้ำมีภาพสลักนูนต่ำพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาทสมัยทวารวดี สูงประมาณ 2.5 เมตร พระหัตถ์ขวาแสดงปางแสดงธรรมเทศนา (วิตรรกะมุทรา) ระหว่างข้อพระบาททั้ง 2 ข้าง มีจารึกอักษรปัลลวะตอนปลาย ภาษาสันสกฤต รูปแบบอักษรเป็นแบบที่นิยมใช้ในอินเดียใต้ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 12

อ่านเพิ่มเติม

เทือกเขางู

ตั้งอยู่ ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ภายในเทือกเขางูมีถ้ำหินปูนจำนวนมาก ถ้ำเหล่านี้ถูกใช้เป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท มาตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 จนกระทั่งปัจจุบัน แหล่งโบราณคดีสำคัญ ได้แก่ ถ้ำฤๅษี ถ้ำฝาโถ ถ้ำจีน ถ้ำจาม และถ้ำระฆัง ที่ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีสมัยทวารวดีและสมัยอยุธยา  รอยพระพุทธบาทสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานบนยอดเขางู รวมทั้งจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ๑๑๘ จปร. ที่สลักอยู่บริเวณปากถ้ำระฆังหรือถ้ำค้างคาว 

อ่านเพิ่มเติม

บ้านดอนเตาอิฐ

ต.ปึกเตียน อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี สันนิษฐานว่าเป็นชุมชนโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี และมีการอยู่อาศัยมาจนสมัยอยุธยา อาจเป็นชุมชนชายฝั่งทะเลที่อยู่ในเส้นทางการเดินเรือเลียบชายฝั่ง โบราณวัตถุที่พบ เช่น เศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง เครื่องถ้วยจีนเป็นกระปุกเคลือบสีขาว สมัยราชวงศ์ซ้อง ลูกปัดหินอาเกต จุกดินเผาหรือตราประทับ แท่นหินบด

อ่านเพิ่มเติม

บ้านเขากระจิว

ตั้งอยู่ ต.ท่ายาง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ก่อนการก่อตั้งวัดเขากระจิวในสมัยรัตนโกสินทร์ บนยอดเขากระจิวมีเจดีย์อยู่ 1 องค์ และได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ ซึ่งเจดีย์องค์เดิมอาจเป็นเจดีย์สมัยทวารวดี เนื่องจากมีร่องรอยซากโบราณสถานและแนวถนนโบราณที่ปูด้วยอิฐขนาดใหญ่ เชื่อมต่อจากเนินเขาไปยังเนินโบราณสถานสมัยทวารวดีที่อยู่หลังโรงเรียนวัดเขากระจิว

อ่านเพิ่มเติม

บ้านใหม่

ตั้งอยู่ ม.4 บ้านใหม่ ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี แหล่งโบราณคดีแห่งนี้น่าจะเป็นชุมชนสมัยทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่12-16 มีร่องรอยเนินอิฐและกองอิฐหลายแห่ง สันนิษฐานว่าอาจเป็นร่องรอยของศาสนสถานก่ออิฐสมัยทวารวดี 

อ่านเพิ่มเติม

ดอยมะขามป้อม 1

ดอยมะขามป้อม 1 ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช บ้านห้วยปลาหลด ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่อยู่อาศัยหรือทำกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ และน่าจะเป็นแหล่งที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพระหว่างพม่า-ไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-22

อ่านเพิ่มเติม

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ ต.ในเมือง อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นโดยพระเจ้าเพชรบูรณ์ เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ เมือ พ.ศ.1926 ภายในวัดมีสิ่งสำคัญต่างๆ ได้แก่ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หลวงพ่องาม และหลวงพ่อเพชรมีชัย

อ่านเพิ่มเติม

ดอยมะขามป้อม 2

ดอยมะขามป้อม 2 ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช บ้านห้วยปลาหลด ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่อยู่อาศัยหรือทำกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ และน่าจะเป็นแหล่งที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพระหว่างพม่า-ไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-22

อ่านเพิ่มเติม

เขายี่สาร

วัดเขายี่สาร ตั้งอยู่ ม.1 บ้านเขายี่สาร ต.เขายี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ เป็นวัดและโบราณสถานบนเขาเพียงแห่งเดียวของ จ.สมุทรสงคราม ภายในมีสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความโดดเด่นด้านงานศิลปะของท้องถิ่น ทั้งสถาปัตยกรรมและจิตรกรรม

อ่านเพิ่มเติม

วัดเขียนบางแก้ว

วัดเขียนบางแก้ว ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ตามตำนานและพงศาวดารกล่าวว่าสร้างโดยพระยากุมาร พงศาวดารเมืองพัทลุงได้กล่าวถึงการสร้างวิหารและพระพุทธรูปที่วัดเขียนบางแก้วโดยพระยากุมารระบุอยู่ในปี พ.ศ.1482 โบราณสถานสำคัญ เช่น พระมหาธาตุเจดีย์

อ่านเพิ่มเติม

เมืองชัยบุรี

เมืองชัยบุรี ต.ชัยบุรี อ.เมืองพัทลุง, ต.มะกอกเหนือ และ ต.พนมวังก์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง มีการใช้พื้นที่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-24 โดยช่วงหนึ่งอาจใช้เป็นศูนย์กลางของเมืองพัทลุง ดังที่ปรากฎหลักฐานทางด้านเอกสาร เช่นในจดหมายเหตุของ De Lamane ที่เขียนขึ้นราว พ.ศ.2229 

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำพระไทรโยค

แหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ใน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีการขุดค้นอย่างเป็นระบบแหล่งแรก ๆ ของไทย โดยคณะสำรวจไทย-เดนมาร์ก ระหว่างปี 2503-2505

อ่านเพิ่มเติม

เมืองโบราณบ้านจาเละ

ตั้งอยู่บ้านจาเละ ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เมืองโบราณบ้านจาเละอยู่ในกลุ่มเมืองโบราณยะรัง ผังเมืองมีคูน้ำล้อมรอบสามด้าน ปรากฏเนินโบราณสถานมากกว่า 10 แห่ง อาจเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 และพัฒนามาเป็นศูนย์กลางของพุทธมหายานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-16 

อ่านเพิ่มเติม

เมืองโบราณยะรัง

ต.ยะรัง, ต.บ้านวัด, ต.ปิตูมาดี อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

อ่านเพิ่มเติม

ภาพเขียนสีเขายะลา

เขายะลา อยู่ใน ต.ลิดล และ ต.ยะลา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในถ้ำและเพิงผาหลายแห่งบนเขายะลา โดยเฉพาะภาพเขียนสี ทั้งเขียนด้วยสีแดงและสีดำ นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนกะโหลกมนุษย์ เศษภาชนะดินเผา เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินขัด ดินสีแดง ที่อาจใช้สำหรับสร้างผลงานบนผนังถ้ำ อายุของแหล่งโบราณคดีราว 3,000-2,000 ปีมาแล้ว เป็นต้นมา

อ่านเพิ่มเติม

เมืองโบราณบ้านประแว

เมืองโบราณบ้านประแว ตั้งอยู่ ม.2 ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เป็น 1 ใน 3 เมืองของเมืองโบราณยะรัง มีการใช้พื้นที่มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 และมีการใช้พื้นที่หนาแน่นใช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 โบราณสถานที่สำคัญภายในเมืองพบ ซากสิ่งก่อสร้างอิฐ 2 แห่ง และบ่อน้ำเก่า 5 แห่ง 

อ่านเพิ่มเติม

วัดแก้ว

ตั้งอยู่ริม ถ.สันตินิมิต ม.2 ต.ละเม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นโบราณสถานสำคัญที่มักใช้ศึกษาสถาปัตยกรรมสมัยศรีวิชัย เนื่องจากมีสภาพสมบูรณ์ที่สุด ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นเจดีย์ทรงปราสาท ก่ออิฐไม่สอปูน ขัดผิวหน้าอิฐเรียบ ผังเป็นรูปกากบาท

อ่านเพิ่มเติม