แหล่งโบราณคดี


แสดง 261 ถึง 280 จาก 330 ผลลัพธ์

วัดสาวสุวรรณ

ตั้งอยู่ในเทศบาลตำบลเวียงคุก อ.เมืองหนองคาย หรือในพื้นที่เวียงคุก เมืองโบราณที่พบหลักฐานการอยู่อาศัยมาตั้งแต่ช่วงต้นยุคประวัติศาสตร์ ร่วมสมัยทวารวดี เรื่อยมาถึงสมัยเขมรและล้านช้าง วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งล้านช้าง ราว พ.ศ.2200 โดยทรงอนุญาตให้ใช้พระนามพระราชธิดาทั้ง 2 องค์เป็นชื่อวัด คือ วัดกุศลนารี (พระธิดาองค์ใหญ่) และวัดสาวสุวรรณาราม (พระธิดาองค์เล็ก) เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระราชธิดาทั้งสองได้ทรงอุปถัมภ์มาโดยตลอด

อ่านเพิ่มเติม

วัดเทพพลประดิษฐาราม

เลขที่ 4 ถ.แก้ววรวุฒิ ม.2 บ้านเวียงคุก ต.เวียงคุก (เทศบาลตำบลเวียงคุก) อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย ประวัติดั้งเดิมกล่าวว่าวัดแห่งนี้สร้างตั้งแต่ครั้งสมัยพระเจ้าอนุรุทธราช แห่งเมืองเวียงจันทน์ โบราณสถานสำคัญภายในวัดได้แก่ ธาตุเจดีย์ 2 องค์ รวมถึงเสมาอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 โดยมีนิทานปรัมปราของท้องถิ่นเชื่อมโยงกับการสร้างพระธาตุทั้ง 2 องค์

อ่านเพิ่มเติม

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

เลขที่ 146 ถ.บำรุงเมือง แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

อ่านเพิ่มเติม

พระวิหาร วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

เลขที่ 146 ถ.บำรุงเมือง แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

อ่านเพิ่มเติม

กู่เจ้าย่าสุตา

ถนนวังเหนือ บ้านป่าไม้ ต.เวียงเหนือ อ.เมืองลำปาง

อ่านเพิ่มเติม

ปราสาทตาเมือนโต๊ด

ม.8 บ้านหนองคันนา ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์

อ่านเพิ่มเติม

ปราสาทตาเมือนธม

ม.8 บ้านหนองคันนา ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำเขากลาง

บ้านเขากลาง ม.13 ต.ปันแต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ คือ ภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ และภาพเขียนสีสมัยอยุธยาที่เขียนเป็นภาพเรื่องพุทธประวัติและเรื่องราวในพุทธศาสนาและภาพประกอบพิธีกีรรม แบ่งออกได้เป็น 10 กลุ่ม

อ่านเพิ่มเติม

ตึกแถวริมถนนหน้าพระลาน

เลขที่ 2 ถึงเลขที่ 30 ริมถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นตึกแถวที่สร้างขึ้นในสมัยปลายรัชกาลที่ 5 ด้วยสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนีโอคลาสสิก ในพื้นที่เดิมของวังถนนหน้าพระลาน 

อ่านเพิ่มเติม

ตำหนักโปร่งฤทัย

ตั้งอยู่ในสวนพฤกษศาสตร์เขาช่อง ม.7 บ้านกระเจาะ ถ.ตรัง-พัทลุง ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง เป็นเรือนรับรองที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต สร้างขึ้นเพื่อรับเสด็จสมเด็จพระบรมโอสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เมื่อ พ.ศ. 2452 สำหรับเป็นที่พักระหว่างทางไปสู่น้ำตก

อ่านเพิ่มเติม

พระปรมาภิไธยย่อ ปปร., ภปร. และพระนามาภิไธยย่อ สก.

ตั้งอยู่ที่น้ำตกโตนปลิว สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาช่อง ม.7 บ้านกระเจาะ ถ.ตรัง-พัทลุง ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง เป็นสถานที่จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ปปร., จปร. และพระนามาภิไธยย่อ สก.  เป็นหลักฐานการเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์ 2 พระองค์ คือ รัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

อ่านเพิ่มเติม

สถานีรถไฟกันตัง

ตั้งอยู่ถนนหน้าค่าย ต.กันตัง อ.กันตัง จ.ตรัง เป็นสถานีรถไฟที่มีความผูกพันกับประวัติศาสตร์ของการรถไฟไทยและเสณาฐกิจของภาควต้ฝั่งอันดามัน เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2454 โดดเด่นด้วยตัวคารที่เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ทรงปั้นหยา ทาด้วยสีเหลืองมัสตาร์ดสลับสีน้ำตาล

อ่านเพิ่มเติม

อนุสาวรีย์หมู

ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานปีกุน (สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม) เยื้องหน้าวัดราชประดิษฐ์ ริมฝั่งถนนราชินี แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2456 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ มีพระชนมายุครบ 50 พรรษา ออกแบบโดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นอกจากนี้ บริเวณที่ตั้งของอนุสาวรีย์หมูในอดีต ยังเป็นส่วนของกำแพงกรุงธนบุรี 

อ่านเพิ่มเติม

ป้อมวิชัยประสิทธิ์

ป้อมวิชัยประสิทธิ์หรือป้อมวิไชยเยนทร์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางกอกใหญ่ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ เป็นป้อมปราการที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีประวัติความเป็นมาเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ปัจจุบันยังคงมีการใช้เป็นที่ยิงสลุตในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และมีการติดตั้งเสาธงบริเวณทางเข้าป้อมเพื่อชักธงราชนาวีและธงผู้บัญชาการทหารเรือไทย

อ่านเพิ่มเติม

ปราสาททองบ้านแสรออ

ตั้งอยู่ภายในวัดปราสาททอง บ้านแสรออ ต.ปราสาททอง อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ลักษณะเป็นปราสาทขอมองค์เดียว จากรูปแบบศิลปกรรมและอายุสมัย สันนิษฐานว่าสร้างโดยชาวเขมรอพยพในสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

อ่านเพิ่มเติม

วัดเทพธิดารามวรวิหาร

ตั้งอยู่แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เดิมชื่อ “วัดพระยาไกรสวนหลวง” เป็นพระอารามหลวงแรกที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2379 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชทานพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าวิลาส ภายหลังทรงได้ดรับสถาปนาเป็น กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ นับเป็นพระราชธิดาที่ได้รับพระราชอิสริยยศใหญ่ยิ่งเหนือกว่าพระราชธิดาทั้งปวง 

อ่านเพิ่มเติม

พระอุโบสถ วัดเทพธิดารามวรวิหาร

พระอุโบสถวัดเทพธิดารามวรวิหาร แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นอาคารประธานของวัด ร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมไทยผสมกับจีนตามแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 ภายในประดิษฐาน “หลวงพ่อขาว” และ “พระพุทธเทววิลาส”

อ่านเพิ่มเติม

พระวิหาร วัดเทพธิดารามวรวิหาร

พระวิหารวัดเทพธิดารามวรวิหาร แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมไทยผสมกับจีนตามแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 ภายในพระวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังเขียนเป็นลายหงส์จีนบนพื้นสีแดง พระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ที่เบื้องหน้าพระประธานประดิษฐานประติมากรรมรูปหมู่อริยสาวิกา 52 องค์

อ่านเพิ่มเติม

การเปรียญ วัดเทพธิดารามวรวิหาร

การเปรียญวัดเทพธิดาราม แขวงสำราญราษฎร์ กรุงเทพฯ เป็น 1 ใน 3 อาคารหลักของวัด นอกเหนือจากพระอุโบสถและพระวิหาร ภายในการเปรียญ ที่ผนังด้านหลังทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หมู่ตู้พระธรรมมีอายุเก่าแก่ที่สุดมาจากสมัยรัตนโกสินธ์ตอนต้น

อ่านเพิ่มเติม

พระราชวังบวรสถานมงคล

พระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า เป็นพระราชวังที่มีความสำคัญเป็นลำดับที่ 2 รองจากวังหลวง เป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสร้างขึ้นพร้อม ๆ กับพระบรมมหาราชวังใน พ.ศ. 2325

อ่านเพิ่มเติม