แหล่งโบราณคดี


แสดง 301 ถึง 320 จาก 330 ผลลัพธ์

วัดคีรีวิหาร

ตั้งอยู่ ต.เขากอบ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง วัดคีรีวิหารเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของอำเภอห้วยยอด สร้างเมื่อ พ.ศ.2374 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เคยเสด็จมาสำรวจทรงพบพระพิมพ์ดินดิบจำนวนมาก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 และบริเวณใต้เพิงผายังพบพระพุทธรูปสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์

อ่านเพิ่มเติม

วัดตรังคภูมิพุทธาวาส

ตั้งอยู่ในตัวอำเภอกันตัง จ.ตรัง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ.2436 โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เจ้าเมืองตรังในขณะนั้น สิ่งสำคัญได้แก่ อุโบสถที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ พระพุทธรูป พระสาวก และประติมากรรมรูปสัตว์ ที่ทำจากหินอ่อน เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม

วัดจอมไตร

ตั้งอยู่ ต.นาโยงเหนือ อ.นาโยง จ.ตรัง วัดจอมไตรสร้างราวปี 2393 สิ่งสำคัญภายในวัดคืออุโบสถ ที่สร้างด้วยสถานปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้  และ "พระพุทธจอมไตร" ที่ประดิษฐานในอุโบสถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ทำพิธีหล่อด้วยโลหะองค์แรกของจังหวัดตรัง) สร้างเมื่อปี 2488

อ่านเพิ่มเติม

วัดนิคมประทีป

ตั้งอยู่ ต.โคกหล่อ อ.เมืองตรัง วัดนิคมประทีป หรือ วัดโคกหล่อ สร้างขึ้นเมื่อปี 2423 โบราณสถานสำคัญคืออุโบสถที่แสดงสถาปัตกรรมพื้นถิ่น รวมถึงพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถ ที่สร้างขึ้นระหวห่างปี 2481-2490

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาน้อย

ตั้งอยู่ ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนภูเขาน้อยทั้งลูกเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ บนยอดภูเขาน้อย ปรากฏซากโบราณสถาน "พระเจดีย์เขาน้อย" ศาสนสถานในศาสนาพุทธ ที่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ในสมัยศรีวิชัย และมีการบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งในสมัยอยุธยา 

อ่านเพิ่มเติม

เขาขาว

ตั้งอยู่ที่ บ้านเหนือคลอง ต.บ้านกลาง อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในถ้ำและตามเพิงผา ร่วมสมัยกับกลุ่มแหล่งโบราณคดีที่อ่าวลึกและอ่าวพังงา หลักฐานที่พบ เช่น ภาพเขียนสีโบราณที่ผนังถ้ำโนราห์และถ้ำช้างนอก เขียนด้วยสีแดงเป็นภาพบุคคล สัญลักษณ์ และรูปเรขาคณิต อายุราว 5,000-3,000 ปีมาแล้ว 

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาสาย

ต.บางดี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง พบหลักฐานหลายยุคสมัย ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น เครื่องมือหิน ชิ้นส่วถ้ำเขาสายนหม้อสามขา ชิ้นส่วนภาชนะดินผา กระจายอยู่ภายในถ้ำต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์ดินดิบบริเวณถ้ำทางทิศตะวันออก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 เป็นโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จมาในวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม ร.ศ.121 (พ.ศ.2445)

อ่านเพิ่มเติม

วัดถ้ำพระพุทธ

ต.หนองบัว อ.รัษฎา จ.ตรัง สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2374 โดยพ่อท่านฉางหลวง สร้างขึ้นเพราะบนภูเข้าหน้าถ้ำมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่อยู่แล้ว จึงให้นามว่า “วัดถ้ำพระพุทธ” นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปปูนปั้นบริเวณเพิงผาหลายองค์ ศิลปะพื้นถิ่นภาคใต้ บางองค์ทรงเครื่องแบบมโนราห์

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาหลักจัน

ตั้งอยู่ที่ บ้านเขาโหรง ต.น้ำผุด อ.เมืองตรัง จ.ตรัง ภูเขาหลักจันเป็นภูเขาหินปูน พบหลักฐานทางโบราณคดีอยู่ตามถ้ำและเพิงผา ทั้งโครงกระดูกมนุษย์ เครื่องมือหิน และชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ส่วนพระพุทธรูปโบราณที่อยู่ในถ้ำตามคำบอกเล่าของชาวบ้านกล่าวว่าถูกทำลายไปแล้ว ปัจจุบันมีผู้สร้างพระพุทธรูปใหม่มาไว้ที่ปากถ้ำ และตั้งสำนักสงฆ์เขาหลักจันทร์อยู่เชิงเขา

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาชุมทอง

ตั้งอยู่ที่ ต.น้ำผุด อ.เมืองตรัง จ.ตรัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ มีเป็นเอกกลักษณ์คือ สวมเทริดมโนราห์ นับเป็นการผสมผสานระหว่างศรัทธาในพระพุทธศาสนากับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น นอกจากนี้ยังพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ภายในถ้ำภูเขาทอง 

อ่านเพิ่มเติม

เขาปินะ

ตั้งอยู่ ต.นาวง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง มีถ้ำขนาดใหญ่น้อยหลายถ้ำในเขาปินะ แบ่งได้เป็น 6 ระดับ โดยปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น หม้อสามขา ขวานหันขัด และยังพบหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทั้งการเสด็จฯ เยือนของรัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7 รวมถึงหลักฐานต่าง ๆ ของขุนไกร ผู้ปฏิสังขรณ์สถานที่แห่งนี้ 

อ่านเพิ่มเติม

วัดกะพังสุรินทร์

ต้้งอยู่ติดกับสระน้ำกะพังสุรินทร์ ต.ทับเที่ยง อ.เมืองตรัง อาคารโบราณสถานได้แก่ อุโบสถที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นภาคใต้ ภายในประดิษฐานพระประธานที่อัญเชิญมาจากพุทธคยา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ใช้วัดนี้เป็นที่ตั้งกองกำลังเพื่อต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม

อ่านเพิ่มเติม

สโมสรข้าราชการจังหวัดตรัง

ตั้งอยู่ ต.ทับเที่ยง อ.เมืองตรัง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลัง พ.ศ.2471 เพื่อเป็นอาคารของสโมสรข้าราชการ  เนื่องจากพบเอกสารแบบแปลนอาคาร Club House in Trang ลงวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ.1928 (พ.ศ.2471) ลักษณะอาคารสะท้อนให้เห็นรูปแบบที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 7 

อ่านเพิ่มเติม

จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง

ตั้งอยู่ในตัวจังหวัดตรัง บนเนินชื่อ “ควนคีรี” สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ.2461 หรือหลังจากนั้นไม่นาน เคยเป็นที่ประทับแรมของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งเสด็จประพาสจังหวัดตรัง พ.ศ.2502 ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นคอนกรีต ชั้นบนเป็นไม้ หลังคาทรงปั้นหยา เป็น 1 ใน 20 โบราณสถานสำคัญของจังหวัดที่นักท่องเที่ยวห้ามพลาด

อ่านเพิ่มเติม

เขาโพธิ์โทน

ต.นาวง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง เขาโพธิ์โทน เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,000-4,000 ปีมาแล้ว หลักฐานสำคัญที่เคยพบคือ ภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดาลายเชือกทาบ และชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ นอกจากนั้น ภายในเขามีถ้ำที่ชาวบ้านรู้จักคือ ถ้ำต่ำและถ้ำสูง แต่ละถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม

อ่านเพิ่มเติม

วัดธารากร

ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส วัดธารากร เดิมมีชื่อว่า “วัดบางน้อย” ตามชื่อหมู่บ้าน สิ่งสำคัญภายในวัดคือ่ อุโบสถ ที่ผสมผสานระหว่างศิลปกรรมของภาคกลางกับศิลปกรรมพื้นถิ่น และยังมีจิตรกรรมประดับอุโบสถที่งดงาม

อ่านเพิ่มเติม

วัดโคกมะม่วง

ต.พร่อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เป็นวัดโบราณที่อาจตั้งขึ้นมาตั้งแต่เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่ หอไตรกลางน้ำ ที่สะท้อนสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาวัดหน้าถ้ำ

ต.หน้าถ้ำ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธไสยาสน์วัดถ้ำ หรือ “พ่อท่านบรรทม” รูปปั้นยักษ์ขนาดใหญ่เรียกว่า “พ่อท่านเจ้าเขา” พระพิมพ์ดินดิบ สถูปดินดิบ พระพุทธรูปศิลา และจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “ปปร” และพิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย หรือหอวัฒนธรรมศรีวิชัย (วัดคูหาภิมุข) 

อ่านเพิ่มเติม

ที่หล่อปืนใหญ่นางพญาตานีและเตาหลอม

ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม (ปัตตานี-นราธิวาส) ต.ตันหยงลุโละ อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี  พบร่องรอยหลักฐานเกี่ยวกับกิจกรรมการหล่อปืนของเมืองปัตตานีรวมถึงปืนนางพญาตานี ตรงกับสมัยอยุธยา

อ่านเพิ่มเติม

ประตูเมืองปัตตานีเก่า

ตั้งอยู่ ต.ตันหยงลุโละ อ.เมืองปัตตานี เดิมปรากฏไม้ประตูจมลึกอยู่ในดิน สภาพผุพัง สันนิษฐานว่าเป็นส่วนหนึ่งของประตูเมืองปัตตานี ในสมัยอยุธยา ปัจจุบันสภาพพื้นที่เป็นป่ารกร้าง

อ่านเพิ่มเติม