ปรางค์ศรีเทพ เมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ภายในเมืองโบราณศรีเทพ เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ที่มีความสำคัญอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 อย่างไรก็ดี จากการขุดค้นพบว่าบริเวณปรางค์ศรีเทพ มีการใช้พื้นที่สร้างเป็นอาคารมาตั้งแต่สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12-16
ปรางค์สองพี่น้อง เมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ตั้งอยู่กลางเมืองศรีเทพ แรกสร้างคงเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูไศวนิกาย สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 แต่ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18 ตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาจมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นวัดในพุทธศาสนา
แหล่งโบราณคดีบ้านยางทองใต้ ต.สันปูเลย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรมฝังศพ ของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือสมัยเหล็ก ราวพุทธศตวรรษที่ 1-5
ตั้งอยู่บ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมืองลำพูน ปรากฏร่องรอยหลักฐานการใช้พื้นที่เป็นแหล่งสุสานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กระทั่งเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ สมัยหริภุญชัย
ตั้งอยู่ในตัวจังหวัดลำพูน ต.เหมืองง่า อ.เมืองลำพูน เป็นวัดเก่าแก่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของลำพูน กำหนดอายุการสร้างวัดจากหลักฐานศิลปกรรมและศิลาจารึกที่พบภายในวัดว่าคงมีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 สมัยหริภุญชัย ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมเก่าที่เป็นที่สนใจ คือ เจดีย์สี่เหลี่ยม “กู่กุด” และเจดีย์แปดเหลี่ยม
วัดเจดีย์หลวง เมืองเชียงแสน เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองเชียงแสน แผนผังเจดีย์หลวงเป็นเจดีย์รูปแปดเหลี่ยม ฐานกว้างด้านละ 9.50 เมตร สูงประมาณ 35.50 เมตร ตามประวัติกล่าวว่า สร้างโดยพระเจ้าแสนภู พระราชนัดดาของพระเจ้ามังราย
แหล่งโบราณคดีสบคำ บริเวณที่ลาดตีนดอยคำ ลำน้ำคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย พบเครื่องมือหินยุคก่อนประวัติศาสตร์ และหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าบริเวณนี้เคยมีมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่เมื่อราว 15,000 – 3,000 ปีมาแล้ว
เมืองชัยบุรี ต.ชัยบุรี อ.เมืองพัทลุง, ต.มะกอกเหนือ และ ต.พนมวังก์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง มีการใช้พื้นที่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-24 โดยช่วงหนึ่งอาจใช้เป็นศูนย์กลางของเมืองพัทลุง ดังที่ปรากฎหลักฐานทางด้านเอกสาร เช่นในจดหมายเหตุของ De Lamane ที่เขียนขึ้นราว พ.ศ.2229
ต.ทุ่งตะไคร อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร วัดมุจลินทรารามสร้างขึ้นในปี 2340 ในบริเวณ ต.ทุ่งตะไคร ต่อมาในปี 2496 จึงได้ย้ายวัดไปอยู่ ต.ช่องไม้แก้ว ห่างจากบริเวณเดิมไป 700 เมตร ส่วนที่ตั้งวัดเดิมเหลือเพียง "พระธาตุมุจลินทร์" ชาวบ้านเรียก “พ่อท่านในกุฎิ” และกลายเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดมุจลินทรารามในปัจจุบัน
ต.ดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก โบราณวัตถุสำคัญ เช่น เครื่องประดับที่่ทำจากแก้วและหินกึ่งมีค่า รวมถึงวัตถุสำริดรูปไก่ลอยตัว รูปกรงหรือสุ่มไก่สำริด รูปหงส์ รูปนกยูง ลูกกระพรวน กำไล, แหวน, ภาชนะรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกระบอก ทรงขัน ทรงถังน้ำ ฝามีจุกแหลม ทัพพีสำริด และภาชนะสำริดชิ้นหนึ่งเป็นรูปผู้หญิงเกล้ามวยผม หูยาว สวมเสื้อ พบแต่ส่วนบนของร่างกายผู้หญิง
ตั้งอยู่บ้านจาเละ ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เมืองโบราณบ้านจาเละอยู่ในกลุ่มเมืองโบราณยะรัง ผังเมืองมีคูน้ำล้อมรอบสามด้าน ปรากฏเนินโบราณสถานมากกว่า 10 แห่ง อาจเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 และพัฒนามาเป็นศูนย์กลางของพุทธมหายานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-16
ตั้งอยู่ บ้านจาเละ ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี โบราณสถานบ้านจาเละหมายเลข 3 อยู่ในกลุ่มเมืองโบราณยะรัง และอาจนับเป็นสถูปเนื่องในพุทธมหายานที่เก่าที่สุดในประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 โบราณวัตถุสำคัญ ได้แก่ พระพิมพ์ดินเผา สถูปจำลอง พระโพธิสัตว์อวโลติเกศวรสำริด
เมืองโบราณบ้านประแว ตั้งอยู่ ม.2 ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เป็น 1 ใน 3 เมืองของเมืองโบราณยะรัง มีการใช้พื้นที่มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 และมีการใช้พื้นที่หนาแน่นใช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 โบราณสถานที่สำคัญภายในเมืองพบ ซากสิ่งก่อสร้างอิฐ 2 แห่ง และบ่อน้ำเก่า 5 แห่ง
ตั้งอยู่ที่บ้านสามแก้ว อ.เมืองชุมพร เป็นชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 2 และเจริญในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 -10 มีการสร้างกำแพงดินล้อมรอบชุมชน มีการสร้างคูน้ำหรือทางระบายน้ำ มีการจัดแบ่งพื้นที่อุตสาหกรรมไว้นอกเขตชุมชน
ต.นาซาว อ.เมืองน่าน จ.น่าน แหล่งโบราณคดีภูซาง หรือดอยภูซาง ในอดีต (ประมาณ 700 ถึงกว่า 3,000 ปีมาแล้ว) น่าจะเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือหินในระดับอุตสาหกรรรม เพราะพบหลักฐานที่แสดงถึงกระบวนการผลิตเครื่องมือหินเป็นจำนวนมากและกระจายตัวอยู่หนาแน่นเป็นบริเวณกว้าง
ตั้งอยู่ที่ ต.ปัว อ.ปัว จ.น่าน เป็นเมืองโบราณของล้านนาสมัยแรกเริ่มตั้งเมืองน่าน ที่ตั้งเมืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ดี จากการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี พบหลักฐานการใช้พื้นที่บริเวณเมืองปัวมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ (5,000-3,000 ปีมาแล้ว)