ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ต.เกาะปันหยี อ.เมืองพังงา จ.พังงา ปรากฏภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 5,000-2,000 ปีมาแล้ว สันนิษฐานว่าวาดโดยคนก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยในบริเวณนี้ และนักเดินเรือสมัยโบราณที่แวะมาจอดพักหลบมรสุม
อุทยานแห่งชาติน้ำพอง ม.8 บ้านดอนกอก ต.บ้านผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ลักษณะเป็นภาพเขียนสีแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีภาพมือคนแบบพ่น 1 ภาพ (มือซ้าย) และแบบทาบ 2 ภาพ (เป็นมือซ้าย 1 ภาพ ส่วนอีก 1 ภาพไม่สามารถระบุได้) วมถึงภาพสัญลักษณ์ต่าง ๆ
สวนรุกขชาติลุ่มน้ำพอง (โสกแต้) ต.โคกขาม อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น เป็นภาพเขียนสีแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ จำนวน 9 ภาพ ประกอบด้วยภาพมือขวา 4 ภาพ มือซ้าย 1 ภาพ ลายเรขาคณิต 1 ภาพ ส่วนอีก 3 ภาพมีสภาพลบเลือนมาก
ภายในวัดโพธิ์ศรีใน ถ.โพธิ์ศรี ม.11 บ้านเชียง ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี เป็นพื้นที่ที่พบร่องรอยวัฒนธรรมบ้านเชียงยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะหลุมฝังศพของคนในวัฒนธรรมบ้านเชียง ซึ่งพบหลักฐานหลุมฝังศพ 52 หลุม พร้อมทั้งข้าวของเครื่องใช้ที่เป็นวัตถุอุทิศให้กับผู้ตายมากมาย ปัจจุบันมีการจัดแสดงหลุมขุดค้นเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน
ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต วัดพระนางสร้าง เป็นวัดประจำเมืองถลางที่เก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่ง เคยเป็นที่ตั้งทัพพม่าในคราวศึกถลางเมื่อ พ.ศ.2328 มีตำนานการสร้างสัมพันธ์กับ “พระนางเลือดขาว” จากลักษณะสถาปัตยกรรมและประติมากรรม นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าวัดพระนางสร้างน่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต วัดแขนนตั้งวัดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2544 เดิมเป็นวัดร้าง ชาวบ้านให้ความสำคัญในฐานะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะเคยมีพระสงฆ์ที่เป็นพระเกจิชื่อดังมาจำพรรษา ซึ่งชาวล้านเชื่อว่าดวงวิญญาณของท่านยังคงสถิตอยู่ที่วัดแห่งนี้ คือ “พ่อท่านไชยคีรี" ภายในวัดมีซากเจดีย์ขนาดเล็กอยู่ 3 องค์
ถ้ำพระโพธิสัตว์ ตั้งอยู่บนเขาน้ำพุ ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี มีการใช้พื้นที่ถ้ำมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องยังยุคประวัติศาสตร์ หลักฐานที่โดดเด่นคือภาพสลักนูนต่ำที่ผนังถ้ำ เป็นรูปพระพุทธเจ้าและเทพเจ้า สมัยทวารวดี
ม.1 บ้านหนองห้าง ต.หนองห้าง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ศิลปะถ้ำที่พบในถ้ำลายมือใช้เทคนิคการลงสี (pictograph) ด้วยสีแดงคล้ำ ภาพที่ปรากฏอยู่ 2 แบบ คือ ภาพมือคนและภาพสัญลักษณ์ที่ทำเป็นลวดลายแบบต่าง ๆ
ตั้งอยู่ ถ.สรรพสิทธิ์ ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี (เทศบาลนครอุบลราชธานี) โบราณสถานสำคัญคือ อุโบสถหรือสิมเก่าที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวัด ที่เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะล้านช้างและศิลปะรัตนโกสินทร์
วัดบ้านตำแย ตั้งอยู่ ม.1 บ้านตำแย ต.ไร่น้อย อ.เมืองอุบลราชธานี โบราณสถานสำคัญได้แก่ สิม ศิลปะล้านช้างผสมผสานกับศิลปะท้องถิ่น มีตัวอักษรไทยน้อย ภาษาอีสานผสมกับภาษาบาลีเขียนอยู่ที่ผนังด้านนอกเหนือประตูทางเข้าสิมว่า สิมหลังนี้สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2417
ซ.สุขาสงเคราะห์ (ระหว่างซอยสุขาสงเคราะห์ 9 กับซอยสุขาสงเคราะห์ 11) ถ.ชยางกูร ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี (เทศบาลนครอุบลราชธานี) จ.อุบลราชธานี
ตั้งอยู่ ถ.พโลรังฤทธิ์ ม.6 ต.ปทุม อ.เมืองอุบลราชธานี (เทศบาลนครอุบลราชธานี) สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ.2436-2453 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งทรงสร้างถวายพระสีทา ชยเสโน แห่งวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) โบราณสถานสำคัญ ได้แก่ สิมเก่าและหอไตร 2 หลัง รวมทั้งเสมาหินทรายรอบอุโบสถหรือสิมหลังปัจจุบัน
ถ.แก้วเงินทอง (ถ.ฉิมพลี-วัดรัชฎาธิษฐาน) แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร