แหล่งโบราณคดี


แสดง 1 ถึง 20 จาก 72 ผลลัพธ์

โคกพลับ

ตั้งอยู่  ต.โพหัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี  ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 3,000-2,000 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตเพื่อการอยู่อาศัยและการฝังศพ

อ่านเพิ่มเติม

ไร่จรัลเพ็ญ

ตั้งอยู่ ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งใน จ.นครปฐม หลักฐานทางโบราณคดีสำคัญคือ ชิ้นส่วนขวานหินขัด ชิ้นส่วนกำไลหิน เศษภาชนะดินเผาลายขูดขีดและลายเชือกทาบ

อ่านเพิ่มเติม

บ้านมาบปลาเค้า

ตั้งอยู่ ม.1 บ้านมาบปลาเค้า ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี พบร่องรอยศาสนสถานในวัฒนธรรมทวารวดี ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับแหล่งโบราณคดีบ้านเขากระจิวบ้านเขากระจิว และแหล่งโบราณคดีบ้านใหม่ จัดอยู่ใน “กลุ่มแหล่งโบราณคดีเขากระจิว” ของ จ.เพชรบุรี

อ่านเพิ่มเติม

โบราณสถานหมายเลข 10 เมืองคูบัว

ตั้งอยู่นอกคูเมืองของเมืองโบราณคูบัวด้านทิศตะวันตก ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี เป็นโบราณสถานสมัยทวารวดี ขุดค้นพบประติมากรรมปูนปั้นที่นับว่ามีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของผู้คนสมัยวัฒนธรรมทวารวดี เช่น ภาพบุคคลถูกมัดมือติดกันหรือภาพนักโทษ ภาพกลุ่มสตรีกำลังเล่นดนตรี ภาพเทวดา และภาพสตรี 2 คน (เจ้านายกับบ่าว) เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม

โบราณสถานหมายเลข 40 เมืองคูบัว

ตั้งอยู่ด้านทิศใต้นอกคูเมืองของเมืองโบราณคูบัว ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี เป็นเจดีย์ก่ออิฐสมัยทวารวดี โดยรอบพบโบราณวัตถุที่ทำด้วยดินเผามากกว่าโบราณสถานแห่งอื่นๆ ในเมืองคูบัว ทั้งชิ้นส่วนพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ เทวรูป เศียรยักษ์ ศีรษะคนต่างชาติ (แขก) หัวสิงโต ลวดลายประดับสถูป เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำบ้านหนองมะค่า4

ต.สองพี่น้อง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี พบหลักฐานของการใช้พื้นที่เพื่อประกอบพิธีกรรมฝังศพของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในสังคมเกษตรกรรมที่มีการใช้เครื่องมือหินขัดและภาชนะดินเผา

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำไทร1

ต.ห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เป็นที่อยู่อาศัยหรือที่พักพิงชั่วคราวของคนในสมัยหินใหม่ (ราว 6,000-4,000 ปีมาแล้ว) หลักฐานสำคัญที่พบ เช่น เครื่องมือหินขัด ชิ้นส่วนเครื่องประดับที่ทำจากกระดูกสัตว์หรือเขาสัตว์ เศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม

บ้านดอนเตาอิฐ

ต.ปึกเตียน อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี สันนิษฐานว่าเป็นชุมชนโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี และมีการอยู่อาศัยมาจนสมัยอยุธยา อาจเป็นชุมชนชายฝั่งทะเลที่อยู่ในเส้นทางการเดินเรือเลียบชายฝั่ง โบราณวัตถุที่พบ เช่น เศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง เครื่องถ้วยจีนเป็นกระปุกเคลือบสีขาว สมัยราชวงศ์ซ้อง ลูกปัดหินอาเกต จุกดินเผาหรือตราประทับ แท่นหินบด

อ่านเพิ่มเติม

บ้านโคกเศรษฐี

ตั้งอยู่ ม.6 บ้านโคกเศรษฐี ต.นายาง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ น่าจะเป็นชุมชนชายฝั่งทะเลในวัฒนธรรมทวารวดี และอาจจะเป็นผู้สร้างและใช้งานเจดีย์ทุ่งเศรษฐ

อ่านเพิ่มเติม

บ้านใหม่

ตั้งอยู่ ม.4 บ้านใหม่ ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี แหล่งโบราณคดีแห่งนี้น่าจะเป็นชุมชนสมัยทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่12-16 มีร่องรอยเนินอิฐและกองอิฐหลายแห่ง สันนิษฐานว่าอาจเป็นร่องรอยของศาสนสถานก่ออิฐสมัยทวารวดี 

อ่านเพิ่มเติม

โบราณสถานบนเขาจอมปราสาท

ตั้งอยู่บ้านโคกเศรษฐี ต.เขาใหญ่ อ.ชะอำ พบกลุ่มก้อนอิฐกระจัดกระจายอยู่บนยอดเขาจอมปราสาท สันนิษฐานว่าเป็นโบราณสถานสมัยทวารวดี เนื่องจากลักษณะอิฐเป็นแบบเดียวกับที่ใช้สร้างเจดีย์ทุ่งเศรษฐี ที่ตั้งอยู่เชิงเขาจอมปราสาท

อ่านเพิ่มเติม

ดอยมะขามป้อม 1

ดอยมะขามป้อม 1 ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช บ้านห้วยปลาหลด ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่อยู่อาศัยหรือทำกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ และน่าจะเป็นแหล่งที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพระหว่างพม่า-ไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-22

อ่านเพิ่มเติม

บ้านท้ายไร่

บ้านท้ายไร่ ต.วังกระแจะ อ.เมืองตราด เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 3,000-2,500 ปีมาแล้ว โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ได้แก่ กลองมโหระทึกแบบเฮกเกอร์1 กำไลสำริด ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ เครื่องมือเหล็กประเภทขวานมีบ้อง ง้าวมีบ้อง และเสียมมีบ้อง

อ่านเพิ่มเติม

ดอยมะขามป้อม 2

ดอยมะขามป้อม 2 ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช บ้านห้วยปลาหลด ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่อยู่อาศัยหรือทำกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ และน่าจะเป็นแหล่งที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพระหว่างพม่า-ไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-22

อ่านเพิ่มเติม

บ้านยางทองใต้

แหล่งโบราณคดีบ้านยางทองใต้ ต.สันปูเลย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรมฝังศพ ของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือสมัยเหล็ก ราวพุทธศตวรรษที่ 1-5 

อ่านเพิ่มเติม

บ้านวังไฮ

ตั้งอยู่บ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมืองลำพูน ปรากฏร่องรอยหลักฐานการใช้พื้นที่เป็นแหล่งสุสานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กระทั่งเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ สมัยหริภุญชัย 

อ่านเพิ่มเติม

สบคำ

แหล่งโบราณคดีสบคำ บริเวณที่ลาดตีนดอยคำ ลำน้ำคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย พบเครื่องมือหินยุคก่อนประวัติศาสตร์ และหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าบริเวณนี้เคยมีมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่เมื่อราว 15,000 – 3,000 ปีมาแล้ว

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำพระไทรโยค

แหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ใน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีการขุดค้นอย่างเป็นระบบแหล่งแรก ๆ ของไทย โดยคณะสำรวจไทย-เดนมาร์ก ระหว่างปี 2503-2505

อ่านเพิ่มเติม

เพิงผาปาโต๊ะโระ

ม.7 บ้านบูเกตยามู ต.ควนโดน อ.ควนโดน จ.สตูล

อ่านเพิ่มเติม

ภาพเขียนสีเขายะลา

เขายะลา อยู่ใน ต.ลิดล และ ต.ยะลา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในถ้ำและเพิงผาหลายแห่งบนเขายะลา โดยเฉพาะภาพเขียนสี ทั้งเขียนด้วยสีแดงและสีดำ นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนกะโหลกมนุษย์ เศษภาชนะดินเผา เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินขัด ดินสีแดง ที่อาจใช้สำหรับสร้างผลงานบนผนังถ้ำ อายุของแหล่งโบราณคดีราว 3,000-2,000 ปีมาแล้ว เป็นต้นมา

อ่านเพิ่มเติม