ตั้งอยู่ที่แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นวัดประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี 3 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9
ตั้งอยู่แขวงวัดราชบพพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ พลับพลานี้สร้างไว้สำหรับรับเสด็จพระเจ้าแผ่นดินในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินมาโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เพื่อมาพระราชทานผ้าพระกฐิน ตั้งอยู่บนกำแพงวัดใกล้กับสีมามุมกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือด้านถนนเฟื่องนครตัดกับถนนราชบพิธ
แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระมหาเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมหลักของวัดราชบพิธ อยู่ตำแหน่งกึ่งกลางของอาคารบนฐานไพที ภายในวงล้อมของพระระเบียงกลมและพระวิหารทั้ง 4 ทิศ สร้างขึ้นเพื่อเป็นหลักสำคัญในการเคารพบูชา ทั้งองค์เจดีย์และฐานคูหาประดับกระเบื้องเคลือบลายเบญจรงค์ทั้งองค์
แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระระเบียงหรือระเบียงคดตั้งอยู่บนฐานไพทีของอาคารหลักในส่วนเขตพุทธาวาสของวัดราชบพิธ ผนังภายนอกของพระระเบียงบุกระเบื้องเบญจรงค์ ลายกรวยเชิงที่โคนผนัง ลายทั่วไปเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ เทพนมก้านแย่งพื้นเหลือง เป็นลายเดียวกับผนังพระอุโบสถ
แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นศาลาขนาดเล็กตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารแต่ละหลังบนฐานไพทีในเขตพุทธาวาสของวัดราชบพิธฯ ตั้งอยู่ทั้ง 4 ทิศ ทิศละ 2 คู่ รวม 8 หลัง เป็นอาคารแบบไทยประเพณี เป็นอาคารโถงโล่งมีปีกนกรอบ
แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระวิหารทิศมี 2 หลัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพระเจดีย์ พระวิหารทิศนี้นับเป็นทางเข้าขนาดใหญ่เพื่อเข้าสู่บริเวณภายในพระระเบียงรอบพระเจดีย์วัดราชบพิธฯ
แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระวิหารวัดราชบพิธฯ มีรูปทรงเป็นแบบเดียวกับพระอุโบสถทั้งภายนอกและภายใน ต่างแต่ว่าบานประตูและบานหน้าต่างสลักด้วยไม้เป็นลวดลายเครื่องราชอิสริยาภรณ์เท่านั้น ภายในพระวิหารประดิษฐานพระประทีปวโรทัย
แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นพระอุโบสถที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่งของไทย รูปทรงภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย ผนังบุกระเบื้องเบญจรงค์ บานประตูหน้าต่างประดับมุกเป็นรูปเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ภายในพระอุโบสถเป็นแบบยุโรปผสมแบบไทย เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีถึง 6 พระองค์
ข้างตลาดสดเทศบาลตำบลเวียงคุก ถ.แก้ววรวุฒิ ม.4 บ้านเวียงคุกเหนือ ต.เวียงคุก อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย
ม.2 บ้านโพนพระ ต.โคกคอน อ.โคกคอน จ.หนองคาย จากหลักฐาน เช่น โครงกระดูกมนุษย์ และภาชนะดินเผา แสดงให้เห็นว่าพื้นที่บ้านโพนพระอาจเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ฝังศพของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือสมัยเหล็ก โดยมีการฝังเครื่องเซ่นไปพร้อมกับร่างของผู้ตายด้วย
ถ.หนองคาย-โนพิสัย (ทางหลวงหมายเลข 212) ต.ในเมือง (เทศบาลเมืองหนองคาย) อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย
ม.4 บ้านเวียงคุก ต.เวียงคุก (เทศบาลตำบลเวียงคุก) อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย
ถ.แก้ววรวุฒิ ม.1 บ้านจอมมณี ต.มีชัย (เทศบาลเมืองหนองคาย) อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย
ม.5 บ้านกวนวันใหญ่ ต.กวนวัน (เทศบาลตำบลกวนวัน) อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย ภายในวัดมีซากโบราณสถานก่ออิฐรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1 หลัง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก และศิลาจารึก 1 หลัก เก็บไว้ภายในวิหาร จารึกดังกล่าวเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จารึกวัดไชยเชษฐา"