ต.บางกระเจ้า อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร วัดบางกระเจ้า ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2338 อาคารเสนาสนะสำคัญคือ อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ.2467
ต.มหาชัย (เทศบาลนครสมุทรสาคร) อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ติดกับป้อมวิเชียรโชฎก ไม่ทราบประวัติการก่อสร้างที่แน่ชัดว่าสร้างสมัยใด เชื่อกันว่าเริ่มสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.2323 โดยชุมชนชาวรามัญ หรือสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 พร้อมกับป้้อมวิเชียรโชฎก
ต.นาโคก อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2460 ตามคำบอกเล่ามาว่า ชาวรามัญร่วมกับคนไทยที่อยู่ในละแวกบ้านนั้นตั้งชื่อว่า “วัดพรมแดน” เพราะอยู่ระหว่างเขตแดนจังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงคราม สิ่งสำคัญได้แก่หลวงพ่อพุทธศิลาแดง(หลวงพ่อแดง) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลาสีแดง มีประวัติความเป็นมาว่า สร้างมาจากหินศิลาสีแดง สร้างสมัยอยุธยาตอนกลาง อายุราว 400-500 ปี ชาวอยุธยานำมาถวาย เพื่อเป็นพระประธานในอุโบสถ
ต.บางน้ำจืด อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2456 เดิมเป็นสำนักสงฆ์ ชาวบ้านเรียกวัดตายิ้ม โดยมีนายยิ้ม-นายแดง จูพราย และนายทับ มุขจั่น เป็นผู้ถวายที่ดินให้สร้างวัด เนื่องจากตำบลนี้ยังไม่มีวัด โบราณสถานสำคัญได้แก่ อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ.2466
เลขที่ 2 ม.2 ต.คอกกระบือ อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร วัดราษฎร์รังสรรค์ (คอกกระบือ) เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างที่แน่ชัด ในเอกสารประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ 21 ระบุว่าตั้งเมื่อ พ.ศ.2309 ชาวบ้านเล่าว่าที่เรียกว่าวัดคอกกระบือหรือวัดคอกควายนี้เนื่องจากพื้นที่บริเวณเดิมเป็นเนินสูง สมัยก่อนเมื่อเกิดน้ำท่วมชาวบ้านจะนำควายมาผูกไว้ที่บริเวณนี้ จึงเป็นที่มาของวัดคอกควาย
ถ.ทางขึ้นดอยสุเทพ (ถนนศรีวิชัย) (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1004) (ต่อเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ – ดอยสุเทพ) ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
ตั้งอยู่ริม ถ.เพชรเกษม ม.1 ต.จ.ป.ร. อ.กระบุรี จ.ระนอง ประดิษฐานศิลาจารึกสลักพระปรมาภิไธยย่อ จปร ที่สลักขึ้นในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทางบกและทางเรือประพาสรอบแหลมมลายูเมื่อ พ.ศ.2433 นอกจากนั้นยังประดิษฐานจารึกสลักพระปรมาภิไธยย่อ ภปร และพระนามาภิไธยย่อ สก และ สธ อีกด้วย
บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี มีการใช้พื้นที่ของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การตั้งถิ่นฐานระยะแรกน่าจะเป็นชุมชนโบราณในสมัยสำริด อายุราว 2,500 ปีมาแล้ว ทางทิศตะวันออกของเมืองด้านนอกคูน้ำคันดิน ปรากฏการสร้างศาสนสถานขึ้น คือ โบราณสถานโนนแก ส่วนด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้นอกคูเมือง มีการขุดหนองน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ซึ่งน่าจะเป็นบารายในสมัยวัฒนธรรมเขมร
บ้านก้านเหลือง ต.ขามใหญ่ อ.เมืองอุบลราชธานี แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลืองมีอายุอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมายังยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น หรือตั้งแต่ 2,800-1,500 ปีมาแล้ว พบหลักฐานของการฝังศพครั้งที่ 2 ในภาชนะดินเผา ปัจจุบันมีการจัดแสดงหลุมขุดค้นและนิทรรศการ
วัดบ้านฉางประชานิมิตร ต.เขาน้อย อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี เป็นสถานที่เก็บ “ศิลาจารึกขุนศรีไชยราชมงคลเทพ” ซึ่งจารึกถึงเหตุการณ์ยกทัพไปตีเมืองเขมรในรัชสมัยเจ้าสามพระยาแห่งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าจารึกขึ้นเมื่อ พ.ศ.1974 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) เสด็จไปตีเมืองพระนครหลวงนั่นเอง
ต.ป่าเขาหินตัด อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เป็นแหล่งวัตถุดิบหินทรายของคนโบราณในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 15-18 สำหรับใช้ในการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ โดยเฉพาะปราสาทในวัฒนธรรมเขมรในเขตอำเภอสีคิ้วและอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน
ม.2 บ้านสระไข่น้ำ ต.กุดตุ้ม อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ, วัดสุลาลัย ต.โพนทอง อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ