แหล่งโบราณคดี


แสดง 481 ถึง 500 จาก 508 ผลลัพธ์

จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง

ตั้งอยู่ในตัวจังหวัดตรัง บนเนินชื่อ “ควนคีรี” สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ.2461 หรือหลังจากนั้นไม่นาน เคยเป็นที่ประทับแรมของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งเสด็จประพาสจังหวัดตรัง พ.ศ.2502 ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นคอนกรีต ชั้นบนเป็นไม้ หลังคาทรงปั้นหยา เป็น 1 ใน 20 โบราณสถานสำคัญของจังหวัดที่นักท่องเที่ยวห้ามพลาด

อ่านเพิ่มเติม

วัดธารากร

ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส วัดธารากร เดิมมีชื่อว่า “วัดบางน้อย” ตามชื่อหมู่บ้าน สิ่งสำคัญภายในวัดคือ่ อุโบสถ ที่ผสมผสานระหว่างศิลปกรรมของภาคกลางกับศิลปกรรมพื้นถิ่น และยังมีจิตรกรรมประดับอุโบสถที่งดงาม

อ่านเพิ่มเติม

วัดโคกมะม่วง

ต.พร่อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เป็นวัดโบราณที่อาจตั้งขึ้นมาตั้งแต่เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่ หอไตรกลางน้ำ ที่สะท้อนสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาวัดหน้าถ้ำ

ต.หน้าถ้ำ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธไสยาสน์วัดถ้ำ หรือ “พ่อท่านบรรทม” รูปปั้นยักษ์ขนาดใหญ่เรียกว่า “พ่อท่านเจ้าเขา” พระพิมพ์ดินดิบ สถูปดินดิบ พระพุทธรูปศิลา และจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “ปปร” และพิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย หรือหอวัฒนธรรมศรีวิชัย (วัดคูหาภิมุข) 

อ่านเพิ่มเติม

ที่หล่อปืนใหญ่นางพญาตานีและเตาหลอม

ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม (ปัตตานี-นราธิวาส) ต.ตันหยงลุโละ อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี  พบร่องรอยหลักฐานเกี่ยวกับกิจกรรมการหล่อปืนของเมืองปัตตานีรวมถึงปืนนางพญาตานี ตรงกับสมัยอยุธยา

อ่านเพิ่มเติม

ประตูเมืองปัตตานีเก่า

ตั้งอยู่ ต.ตันหยงลุโละ อ.เมืองปัตตานี เดิมปรากฏไม้ประตูจมลึกอยู่ในดิน สภาพผุพัง สันนิษฐานว่าเป็นส่วนหนึ่งของประตูเมืองปัตตานี ในสมัยอยุธยา ปัจจุบันสภาพพื้นที่เป็นป่ารกร้าง

อ่านเพิ่มเติม

พลับพลาที่ประทับ รัชกาลที่ 7

ตั้งอยู่ที่ ต.โคกโพธิ์ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี พลับพลาแห่งนี้สร้างเพื่อเป็นที่ประทับในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงใน พ.ศ.2472

อ่านเพิ่มเติม

ปราสาทหนองปล่อง

ต.หนองปล่อง อ.ชำนิ จ.บุรีรัมย์ เป็นปราสาทในวัฒนธรรมเขมร มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศาสนสถานประจำที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลา 1 ใน 17 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หลักฐานสำคัญคือซากปราสาทที่สร้างด้วยศิลาแลงและหินทราย และสระน้ำ 1 สระ

อ่านเพิ่มเติม

ปราสาทหนองตาเปล่ง

ปราสาทหนองตาเปล่ง ต.ช่อผกา อ.ชำนิ จ.บุรีรัมย์ มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศาสนสถานประจำที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลา 1 ใน 17 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมรโบราณ โปรดให้สร้างขึ้น

อ่านเพิ่มเติม

ปราสาทหนองกง

ปราสาทหนองกง หรือปราสาทโคกปราสาท หรือปราสาทท้าวกง ต.หนองกง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์  มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศาสนสถานประจำที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลา 1 ใน 17 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมรโบราณ โปรดให้สร้างขึ้น

อ่านเพิ่มเติม

ปรางค์พะโค

ต.กระโทก อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือสมัยบาปวน โบราณสถานสำคัญคือปราสาท 2 หลัง และคูน้ำล้อมปราสาท 

อ่านเพิ่มเติม

ปรางค์บ้านปรางค์

ต.พลับพลา อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ลักษณะเป็นเนินดิน มีร่องรอยให้เห็นว่าส่วนฐานปราสาท สร้างด้วยศิลาแลง องค์ปราสาทสร้างด้วยอิฐและหินทราย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 บริเวณรอบเนินโบราณสถานมีร่องรอยของสระน้ำล้อมรอบอยู่

อ่านเพิ่มเติม

พระราชวังรัตนรังสรรค์

ต.เขานิเวศน์ อ.เมืองระนอง พระราชวังรัตนรังสรรค์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2433 โดยพระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) เจ้าเมืองระนองในขณะนั้น เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก เดิมตั้งอยู่บนเนินประวัติศาสตร์ แต่ได้รื้อออกไปเมื่อปี พ.ศ.2507 เพื่อก่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัด หลังจากนั้นได้มีโครงการก่อสร้างพระราชขึ้นใหม่ (องค์จำลอง) เมื่อปี พ.ศ.2545 ในพื้นที่ฝั่งตรงข้ามฝั่งถนนลุวัง 

อ่านเพิ่มเติม

วัดปทุมธาราราม

ต.กะเปอร์ อ.กะเปอร์ จ.ระนอง สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2311 สมัยต้นกรุงธนบุรี แต่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วัดบางปรุ” ตามชื่อคลองบางปรุ สิ่งก่อสร้างที่สำคัญภายในวัด ได้แก่ อุโบสถและเจดีย์ สมัยรัตนโกสินทร์ ราวรัชกาลที่ 7

อ่านเพิ่มเติม

ศาลหลักเมืองระนอง

เทศบาลเมืองระนอง ต.เขานิเวศน์ อ.เมืองระนอง ศาลหลักเมืองระนองก่อสร้างขึ้นในพื้นที่ที่เคยเป็นบ้านพักของพระยารัตนเศรษฐี (เจ้าเมืองระนอง) มีพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2531 ตัวศาลมีลักษณะเป็นศาลาจตุรมุข รูปทรงไทย ยอดศาล 5 ยอด มีลักษณะตามแบบพระบรมธาตุไชยา หลักเมืองมีลักษณะเป็นเสากลมเรียว ปลายยอดเป็นดอกบัวตูม

อ่านเพิ่มเติม

วัดสุวรรณคีรีวิหาร

ต.เขานิเวศน์ อ.เขานิเวศน์ จ.ระนอง วัดสุวรรณคีรีวิหาร (วัดหน้าเมือง) เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2433 โดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ชื่อว่าเป็น “วัดแห่งแรกของเมืองระนอง” เดิมตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ริมหาดส้มแป้นใกล้กับสนามกีฬาจังหวัดระนองปัจจุบัน ชื่อ “วัดสุวรรณคีรีทาราม” 

อ่านเพิ่มเติม

เจดีย์วัดชัยมงคล

ต.บางพระ อ.เมืองตราด เจดีย์วัดชัยมงคลหรือวัดกลาง เป็นเจดีย์ร้าง ตั้งอยู่ที่ลานจอดรถของวัดกลาง ตามประวัติวัดกล่าวว่าวัดแห่งนี้ตั้งเมื่อปี 2325 เป็นเจดีย์ย่อมุม ซึ่งจากรูปแบบสถาปัตยกรรม สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

อ่านเพิ่มเติม

พระธาตุไฮสร้อย

ต.ปากกาง อ.ลอง จ.แพร่ สันนิษฐานว่าวัดพระธาตุไฮสร้อย มีอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี เป็นวัดหลวงกลางเวียงลอง ซึ่งเป็นเมืองโบราณทางตอนกลางของแอ่งลอง ตามตำนานระบุว่าวัดพระธาตุไฮสร้อยสร้างโดยพญาสุรมาลัยยะ (เจ้าสุรมาลัย) เจ้าเมืองลอง ที่ตั้งใจสร้างพระธาตุไฮสร้อยไว้เป็นพระมหาธาตุกลางเวียง และบรรจุพระธาตุส่วนสมองของพระพุทธเจ้า

อ่านเพิ่มเติม

กู่วัดน้อย

ตั้งอยู่หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน ซึ่งเคยเป็นคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน (หอคำ) มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าสร้างโดยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 ราว พ.ศ.2416 เนื่องจากข้อผิดพลาดเรื่องการทูลถวายรายงานจำนวนวัดต่อรัชกาลที่ 5

อ่านเพิ่มเติม

วัดเขาปูน

บ้านเขาปูน ต.บ้านนา อ.เมืองชุมพร วัดเขาปูน ตามประวัติระบุว่าวัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2224 สิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่ บ่อน้ำที่ชาวบ้านมีความเชื่อว่า น้ำในบ่อมีความศักดิ์สิทธิ์ รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้

อ่านเพิ่มเติม