หลุมขุดค้นอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี ตั้งอยู่ริมฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำแควน้อย บริเวณเหนือคุ้งน้ำ นอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ของเมืองสิงห์ หรืออยู่ระหว่างกำแพงเมืองกับแม่น้ำแควน้อย
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ต.ศรีสัชนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
หลุมขุดค้นทางโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์เมืองศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ขุดค้นเมื่อ พ.ศ. 2531 พบหลักฐานสำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงร่องรอยดั้งเดิมในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของเมืองศรีเทพ คือ โครงกระดูกมนุษย์และของใช้ กำหนดอายุประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว
ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา พื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของชุมชนชาวโปรตุเกสสมัยอยุธยา นำเสนอผลการขุดค้นพื้นที่โบสถ์และสุสานของชาวโปรตุเกสและคริสตชนในสมัยอยุธยา
วัดพรหมทินใต้ ต.หลุมข้าว อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี พบหลักฐานการอยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ต่อเนื่องมาจนสมัยทวารวดี ที่เป็นเมืองโบราณมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ พบจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลีและสันสกฤต เหรียญเงิน ลูกปัด เป็นต้น
บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี มีการใช้พื้นที่ของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การตั้งถิ่นฐานระยะแรกน่าจะเป็นชุมชนโบราณในสมัยสำริด อายุราว 2,500 ปีมาแล้ว ทางทิศตะวันออกของเมืองด้านนอกคูน้ำคันดิน ปรากฏการสร้างศาสนสถานขึ้น คือ โบราณสถานโนนแก ส่วนด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้นอกคูเมือง มีการขุดหนองน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ซึ่งน่าจะเป็นบารายในสมัยวัฒนธรรมเขมร
บ้านก้านเหลือง ต.ขามใหญ่ อ.เมืองอุบลราชธานี แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลืองมีอายุอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมายังยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น หรือตั้งแต่ 2,800-1,500 ปีมาแล้ว พบหลักฐานของการฝังศพครั้งที่ 2 ในภาชนะดินเผา ปัจจุบันมีการจัดแสดงหลุมขุดค้นและนิทรรศการ
ตั้งอยู่ที่ ต.น้ำผุด อ.เมืองตรัง จ.ตรัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ มีเป็นเอกกลักษณ์คือ สวมเทริดมโนราห์ นับเป็นการผสมผสานระหว่างศรัทธาในพระพุทธศาสนากับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น นอกจากนี้ยังพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ภายในถ้ำภูเขาทอง
ตั้งอยู่ ต.นาวง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง มีถ้ำขนาดใหญ่น้อยหลายถ้ำในเขาปินะ แบ่งได้เป็น 6 ระดับ โดยปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น หม้อสามขา ขวานหันขัด และยังพบหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทั้งการเสด็จฯ เยือนของรัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7 รวมถึงหลักฐานต่าง ๆ ของขุนไกร ผู้ปฏิสังขรณ์สถานที่แห่งนี้