ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่หลักฐานเก่าสุดคือจารึกฐานพระพุทธรูปทองสำริดที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารเป็นจารึกอักษรไทยยวน ภาษาไทยยวน กำหนดอายุอยู่ในช่วง พ.ศ.2039 ตรงกับสมัยพระเจ้ายอดเชียงรายครองเมืองเชียงใหม่
ม.1 บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี อูบมุงเป็นซากโบราณสถานก่ออิฐในวัฒนธรรมขอมของเมืองโบราณบ้านคูเมือง ตั้งอยู่ห่างจากคูเมืองชั้นในของเมืองโบราณบ้านคูเมืองมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 600 เมตร
ม.2 บ้านสระไข่น้ำ ต.กุดตุ้ม อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ, วัดสุลาลัย ต.โพนทอง อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ หลักฐานทางโบราณคดีที่พบอยู่ภายในวัดสุลาลัย หรือวัดสระไข่น้ำ (วัดสุลาลัยอยู่ในเขตตำบลโพนทอง แต่พื้นที่โดยรอบเป็นตำบลกุดตุ้ม) คือ เสมาหินทราย (สภาพสมบูรณ์และเกือบสมบูรณ์) 13 ใบ ฐานประติมากรรม 1 ฐาน
ม.11 บ้านถนนคต ต.สีคิ้ว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ตามประวัติวัดกล่าวว่าวัดถนนคตก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2442 โดยชาวยวน โดยมีหลักฐานคือรูปแบบศิลปกรรมของอุโบสถ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ.2464
ต.หัวทะเล อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ สันนิษฐานได้ว่าโบราณสถานแห่งนี้น่าจะเป็นอาคารแบบปราสาทหินขนาดเล็กหรือกู่ในวัฒนธรรมเขมร ก่อขึ้นด้วยศิลาแลงและหินทราย (ส่วนฐานอาจเป็นศิลาแลง) หันด้านหน้าอาคารไปทางทิศตะวันออก
ต.หนองไผ่ อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ สันนิษฐานว่าปรางค์ดอนกู่เป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นเป็นที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18
ต.ในเมือง (เทศบาลเมืองชัยภูมิ) อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ ปัจจุบันหลักฐานทางโบราณคดีของปราสาทอยู่ภายในวัดสระแก้วที่ถูกระบุว่าเป็นปราสาทเมืองน้อยใต้นั้น น่าจะเป็นปราสาทที่พังทลายลงหมดแล้ว ชิ้นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุต่าง ๆ ถูกเก็บไว้ด้านในและนอกศาลาแปดเหลี่ยมภายในวัดสระแก้ว
อยู่ระหว่างบ้านโสกคร้อ และบ้านหนองฉิม ต.หนองฉิม อ.เนินสง่า จ.ชัยภูมิ จากรูปทรงโดยทั่วไปสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฐานประติมากรรม อายุอยู่ในยุคประวัติศาสตร์ (สมัยทวารวดี-สมัยเขมร)
ต.บ้านชวน อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ หินตั้ง ปัจจุบันบริเวณอยู่กลางคันนา การปักหินตั้งของคนโบราณมีวัตถุประสงค์เกี่ยวพันกับความเชื่อ สันนิษฐานว่ามีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่ 19
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ต.ศรีสัชนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
โรงเรียนบ้านชุมแพ ม.10 ถ.ชายทุ่ง บ้านชุมแพ ต.ชุมแพ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
ตั้งอยู่ในเวียงกุมกาม ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ชื่อของโบราณสถานวัดกานโถมปรากฏอยู่ในพงศาวดารโยนก สร้างโดยพระประสงค์ของพญามังราย สร้างเสร็จเมื่อ จ.ศ.652 (พ.ศ.1833) พร้อมกับหล่อพระพุทธปฏิมากร 5 องค์ ซึ่งมีขนาดเท่าพระองค์ แล้วจึงโปรดให้นายช่างกานโถมหรือกาดโถม สร้างวิหารคลุมพระพุทธรูป
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ วัดปู่เบี้ยเป็นโบราณสถานร้าง ชื่อของวัดปู่เบี้ยมาจากการที่ชาวบ้านเรียกตามลักษณะชายชราร่างเล็กที่อาศัยอยู่ภายในบริเวณโบราณสถานแห่งนี้ (คำว่า ปู่เบี้ย หมายถึง ปู่เตี้ย) มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21-22
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ มีอีกชื่อว่า วัดกู่คำ สร้างขึ้นในสมัยที่พญามังรายสถาปนาเมืองเวียงกุมกาม มีการบูรณะครั้งใหญ่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยหลวงโยนการวิจิตร คหบดีชาวมอญ ทำให้มีลักษณะเป็นแบบศิลปะพม่าดังปัจจุบัน
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ มีเรื่องเล่าท้องถิ่นว่ามีนางค่างตัวหนึ่งทำประโยชน์แก่พระราชามาก เมื่อนางค่างตายลงพระราชาจึงสร้างจึงสร้างวัดนี้ให้แก่นางค่างตัวนี้ และจากรูปแบบโบราณสถานสันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ จากรูปแบบทางสถาปัตยกรรม และโบราณวัตถุสำคัญที่นำมากำหนดอายุการสร้างคือ อิฐจารึกอักษรฝักขาม จึงสันนิษฐานได้ว่าวัดธาตุขาว น่าจะสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22