แหล่งโบราณคดี


แสดง 21 ถึง 40 จาก 40 ผลลัพธ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ม.ธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของไทย ก่อตั้งปี 2477 เพื่อเป็นตลาดวิชาศึกษาด้านกฎหมายและการเมืองสำหรับประชาชนทั่วไป ภายในเนื้อที่ 50 ไร่ ของ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ แต่เดิมเคยเป็นเขตพระราชฐานของพระราชวังบวรสถานมงคล มาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์

อ่านเพิ่มเติม

พระราชวังสราญรมย์

พระราชวังสราญรมย์ อยู่ตรงข้ามถนนสนามไชยกับพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างเพื่อใช้เป็นที่ประทับ อาคารออกแบบโดยเฮนรี อาลาบาศเตอร์ เคยใช้เป็นที่ประทับชั่วคราวของเจ้านายเมื่อแรกออกจากวังหลวง เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นบ้านพักรับรองพระราชอาคันตุกะ

อ่านเพิ่มเติม

กระทรวงพาณิชย์ (เดิม)

พื้นที่กระทรวงพาณิชย์เดิม ปัจจุบันคือสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มิวเซียมสยาม ตั้งอยู่ริมถนนสนามไชย บริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ เดิมเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ทั้งป้อมวไชยเชนทร์ในสมัยอยุธยา วังที่ประทับของเจ้านายสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 และกระทรวงเศรษฐการหรือกระทรวงพาณิชย์ในปัจจุบัน หลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดค้นพบ ล้วนแต่สื่อเรื่องราวและประวัติของสถานที่อย่างชัดเจน

อ่านเพิ่มเติม

โรงเรียนราชินี

โรงเรียนราชินี กรุงเทพฯ เป็นโรงเรียนหลวงสำหรับสตรีแห่งแรกของประเทศไทย พื้นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน ในอดีตเป็นที่ตั้งของป้องมหาฟกษ์ วังเหนือป้อมมหาฤกษ์ วังใต้ป้อมมหาฤกษ์ กระทรวงธรรมการ สุนันทาลัย

อ่านเพิ่มเติม

วังมะลิวัลย์

วังมะลิวัลย์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ปัจจุบันเป็นที่ทำการของ FAO เคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4 และมีประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับขบวนการเสรีไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัวอาคารสร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างโดยนายเออโคล มันเฟรดี สถาปนิกชาวอิตาเลียน สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2460

อ่านเพิ่มเติม

สถานีรถไฟธนบุรี (เดิม)

สถานีรถไฟธนบุรี หรือสถานีรถไฟบางกอกน้อย (เดิม) ปัจจุบันตั้งอยู่ในโรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ เคยเป็นสถานีต้นทางแห่งแรกของรถไฟสายใต้ ตัวสถานีรถไฟได้รับการออกแบบโดย ม.จ.โวฒยากร วรวรรณ สร้างแล้วเสร็จ พ.ศ. 2493 แต่ก่อนหน้าเป็นสถานีรถไฟ พื้นที่นี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของวังหลังในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์

อ่านเพิ่มเติม

บ้านพิบูลธรรม

บ้านพิบูลธรรม หรือบ้านนนที ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่กระทรวงพลังงาน เชิงสะพานกษัตริย์ศึก ยศเส กรุงเทพฯ เป้นบ้านของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี เริ่มสร้างขึ้นราวปี 2440 สถาปัตยกรรมของอาคารเป็นแบบตะวันตก โดดเด่นด้วยการตกแต่งภายในอาคารด้วยไม้แกะสลักประกอบภาพจิตรกรรมที่งดงามทั้งลวดลายแบบตะวันตกและภาพจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอนทศกัณฐ์ลักนางสีดา ภาพนางเมขลาและรามสูร

อ่านเพิ่มเติม

ศุลกสถาน

อาคารศุลกสถาน ตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 36 กรุงเทพฯ สร้างขึ้นตั้งแต่ราวปี 2529 สมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นอาคารสำคัญที่แสดงถึงประวัติการปฏิรูประบบเศรษฐกิจการค้าของไทย ซึ่งเป็นผลจากการทำสนธิสัญญาบาวริงสมัยรัชกาลที่ 4 ปัจจุบันอาคารศุลกสถานกำลังได้รับการปรับปรุงเป็นโรงแรมขนาดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนเลื่อนฤทธิ์

พื้นที่ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ แต่เดิมเคยเป็นของคุณหญิงเลื่อน ผู้เป็นภรรยาของหลวงฤทธินายเวร ปัจจุบันภายในชุมชนเลื่อนฤทธิ์ ถนนเยาวราช ย่านสำเพ็ง กรุงเทพฯ  มีอาคารที่เป็นตึกแถวเก่าที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี 2555 ชาวชุมชนเลื่อนฤทธิ์ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นบริษัท ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ จำกัด เพื่อดำเนินการอนุรักษ์อาคารและพื้นที่ของชุมชน 

อ่านเพิ่มเติม

วัดมงคลสถาน

ตั้งอยู่ ต.ละมอ อ.นาโยง จ.ตรัง วัดมงคลสถานสร้างขึ้นเมื่อปี 2449 ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ภายในวัดมีโบราณสถานสำคัญคือ อุโบสถ ที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2480 ลักษณะทางอาคารแสดงถึงอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของท้องถิ่นภาคใต้

อ่านเพิ่มเติม

วัดตรังคภูมิพุทธาวาส

ตั้งอยู่ในตัวอำเภอกันตัง จ.ตรัง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ.2436 โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เจ้าเมืองตรังในขณะนั้น สิ่งสำคัญได้แก่ อุโบสถที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ พระพุทธรูป พระสาวก และประติมากรรมรูปสัตว์ ที่ทำจากหินอ่อน เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม

วัดนิคมประทีป

ตั้งอยู่ ต.โคกหล่อ อ.เมืองตรัง วัดนิคมประทีป หรือ วัดโคกหล่อ สร้างขึ้นเมื่อปี 2423 โบราณสถานสำคัญคืออุโบสถที่แสดงสถาปัตกรรมพื้นถิ่น รวมถึงพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถ ที่สร้างขึ้นระหวห่างปี 2481-2490

อ่านเพิ่มเติม

วัดทุ่งผักกูด

ตั้งอยู่บ้านทุ่งผักกูด ต.ห้วยด้วน อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ตั้งวัดเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 หรือรัชกาลที่ 5 สอดคล้องกับประวัติการตั้งถิ่นฐานของชุมชนชาวลาวครั่ง (ลาวคั่ง) ในพื้นที่อำเภอดอนตูม โบราณสถานและสถานที่สำคัญของวัดได้แก่ อุโบสถ เจดีย์ 5 องค์ ศาลาการเปรียญไม้ และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชาติพันธุ์ลาวคั่ง วัดทุ่งผักกูด 

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาสาย

ต.บางดี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง พบหลักฐานหลายยุคสมัย ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น เครื่องมือหิน ชิ้นส่วถ้ำเขาสายนหม้อสามขา ชิ้นส่วนภาชนะดินผา กระจายอยู่ภายในถ้ำต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์ดินดิบบริเวณถ้ำทางทิศตะวันออก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 เป็นโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จมาในวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม ร.ศ.121 (พ.ศ.2445)

อ่านเพิ่มเติม

วัดกะพังสุรินทร์

ต้้งอยู่ติดกับสระน้ำกะพังสุรินทร์ ต.ทับเที่ยง อ.เมืองตรัง อาคารโบราณสถานได้แก่ อุโบสถที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นภาคใต้ ภายในประดิษฐานพระประธานที่อัญเชิญมาจากพุทธคยา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ใช้วัดนี้เป็นที่ตั้งกองกำลังเพื่อต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม

อ่านเพิ่มเติม

วัดโคกมะม่วง

ต.พร่อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เป็นวัดโบราณที่อาจตั้งขึ้นมาตั้งแต่เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่ หอไตรกลางน้ำ ที่สะท้อนสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติม

พระราชวังรัตนรังสรรค์

ต.เขานิเวศน์ อ.เมืองระนอง พระราชวังรัตนรังสรรค์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2433 โดยพระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) เจ้าเมืองระนองในขณะนั้น เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก เดิมตั้งอยู่บนเนินประวัติศาสตร์ แต่ได้รื้อออกไปเมื่อปี พ.ศ.2507 เพื่อก่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัด หลังจากนั้นได้มีโครงการก่อสร้างพระราชขึ้นใหม่ (องค์จำลอง) เมื่อปี พ.ศ.2545 ในพื้นที่ฝั่งตรงข้ามฝั่งถนนลุวัง 

อ่านเพิ่มเติม

วัดสุวรรณคีรีวิหาร

ต.เขานิเวศน์ อ.เขานิเวศน์ จ.ระนอง วัดสุวรรณคีรีวิหาร (วัดหน้าเมือง) เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2433 โดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ชื่อว่าเป็น “วัดแห่งแรกของเมืองระนอง” เดิมตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ริมหาดส้มแป้นใกล้กับสนามกีฬาจังหวัดระนองปัจจุบัน ชื่อ “วัดสุวรรณคีรีทาราม” 

อ่านเพิ่มเติม

กู่วัดน้อย

ตั้งอยู่หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน ซึ่งเคยเป็นคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน (หอคำ) มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าสร้างโดยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 ราว พ.ศ.2416 เนื่องจากข้อผิดพลาดเรื่องการทูลถวายรายงานจำนวนวัดต่อรัชกาลที่ 5

อ่านเพิ่มเติม

กำแพงจวนเจ้าเมืองตะกั่วป่า

ต.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระยาเสนานุชิต (นุช ณ นคร) เป็นเจ้าเมืองตะกั่วป่า ระหว่าง พ.ศ.2383 – 2424 โดยสร้างล้อมรอบจวนที่พัก เป็นลักษณะของกำแพงค่ายป้องกันศัตรู อาจสร้างขึ้นเพื่อป้องกันอันตรายจากลุ่มชาวจีนที่ก่อความวุ่นวายขึ้นในเมืองตะกั่วป่าบ่อยครั้ง

อ่านเพิ่มเติม