ตั้งอยู่ ต.โพหัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 3,000-2,000 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตเพื่อการอยู่อาศัยและการฝังศพ
ตั้งอยู่ ต.ห้วยขุนราม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี พบหลักฐานของชุมชนและสุสานยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ 3,500-1,500 ปีมาแล้ว หลักฐานสำคัญ เช่น หลุมฝังศพมนุษย์ และวัตถุอุทิศให้กับศพ ทั้งเครื่องมือหินขัด เครื่องประดับทำจากหินอ่อนและเปลือกหอยทะเล ภาชนะดินเผา เครื่องประดับทำจากสำริด เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดหินกึ่งมีค่า ลูกปัดแก้ว แม่พิมพ์สำหรับหล่อหัวลูกศรโลหะ แวดินเผา ลูกกระสุนดินเผา เป็นต้น
ตั้งอยู่ ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งใน จ.นครปฐม หลักฐานทางโบราณคดีสำคัญคือ ชิ้นส่วนขวานหินขัด ชิ้นส่วนกำไลหิน เศษภาชนะดินเผาลายขูดขีดและลายเชือกทาบ
ตั้งอยู่ ม.1 บ้านมาบปลาเค้า ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี พบร่องรอยศาสนสถานในวัฒนธรรมทวารวดี ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับแหล่งโบราณคดีบ้านเขากระจิวบ้านเขากระจิว และแหล่งโบราณคดีบ้านใหม่ จัดอยู่ใน “กลุ่มแหล่งโบราณคดีเขากระจิว” ของ จ.เพชรบุรี
ตั้งอยู่นอกคูเมืองของเมืองโบราณคูบัวด้านทิศตะวันตก ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี เป็นโบราณสถานสมัยทวารวดี ขุดค้นพบประติมากรรมปูนปั้นที่นับว่ามีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของผู้คนสมัยวัฒนธรรมทวารวดี เช่น ภาพบุคคลถูกมัดมือติดกันหรือภาพนักโทษ ภาพกลุ่มสตรีกำลังเล่นดนตรี ภาพเทวดา และภาพสตรี 2 คน (เจ้านายกับบ่าว) เป็นต้น
ตั้งอยู่ด้านทิศใต้นอกคูเมืองของเมืองโบราณคูบัว ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี เป็นเจดีย์ก่ออิฐสมัยทวารวดี โดยรอบพบโบราณวัตถุที่ทำด้วยดินเผามากกว่าโบราณสถานแห่งอื่นๆ ในเมืองคูบัว ทั้งชิ้นส่วนพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ เทวรูป เศียรยักษ์ ศีรษะคนต่างชาติ (แขก) หัวสิงโต ลวดลายประดับสถูป เป็นต้น
ตั้งอยู่ภายในเมืองโบราณคูบัว ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ สมัยทวารวดี เป็นเจดีย์ที่มีการยกเก็จขึ้นที่มุมทั้งสี่ ทำให้เกิดลักษณะคล้ายๆกับเสาประดับมุม อาจเปรียบเทียบได้กับงานสถาปัตยกรรมที่ร่วมสมัยกัน เช่น "กาลัน" ในศิลปะจาม “จันทิ” ในศิลปะชวากลาง หรือปราสาทขอมในสมัยก่อนเมืองพระนคร
ต.สองพี่น้อง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี พบหลักฐานของการใช้พื้นที่เพื่อประกอบพิธีกรรมฝังศพของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในสังคมเกษตรกรรมที่มีการใช้เครื่องมือหินขัดและภาชนะดินเผา
ต.ห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เป็นที่อยู่อาศัยหรือที่พักพิงชั่วคราวของคนในสมัยหินใหม่ (ราว 6,000-4,000 ปีมาแล้ว) หลักฐานสำคัญที่พบ เช่น เครื่องมือหินขัด ชิ้นส่วนเครื่องประดับที่ทำจากกระดูกสัตว์หรือเขาสัตว์ เศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เป็นต้น
ต.ปึกเตียน อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี สันนิษฐานว่าเป็นชุมชนโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี และมีการอยู่อาศัยมาจนสมัยอยุธยา อาจเป็นชุมชนชายฝั่งทะเลที่อยู่ในเส้นทางการเดินเรือเลียบชายฝั่ง โบราณวัตถุที่พบ เช่น เศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง เครื่องถ้วยจีนเป็นกระปุกเคลือบสีขาว สมัยราชวงศ์ซ้อง ลูกปัดหินอาเกต จุกดินเผาหรือตราประทับ แท่นหินบด
ตั้งอยู่ ต.ท่ายาง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ก่อนการก่อตั้งวัดเขากระจิวในสมัยรัตนโกสินทร์ บนยอดเขากระจิวมีเจดีย์อยู่ 1 องค์ และได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ ซึ่งเจดีย์องค์เดิมอาจเป็นเจดีย์สมัยทวารวดี เนื่องจากมีร่องรอยซากโบราณสถานและแนวถนนโบราณที่ปูด้วยอิฐขนาดใหญ่ เชื่อมต่อจากเนินเขาไปยังเนินโบราณสถานสมัยทวารวดีที่อยู่หลังโรงเรียนวัดเขากระจิว
ตั้งอยู่ ม.6 บ้านโคกเศรษฐี ต.นายาง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ น่าจะเป็นชุมชนชายฝั่งทะเลในวัฒนธรรมทวารวดี และอาจจะเป็นผู้สร้างและใช้งานเจดีย์ทุ่งเศรษฐี
ตั้งอยู่ ม.4 บ้านใหม่ ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี แหล่งโบราณคดีแห่งนี้น่าจะเป็นชุมชนสมัยทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่12-16 มีร่องรอยเนินอิฐและกองอิฐหลายแห่ง สันนิษฐานว่าอาจเป็นร่องรอยของศาสนสถานก่ออิฐสมัยทวารวดี
ตั้งอยู่ ม.7 บ้านดอน ต.นายาง อ.ชะอำ ภายในถ้ำบนเขาตาจีน พบอิฐขนาดใหญ่ มีแกลบข้าวผสมมาก คล้ายอิฐแบบทวารวดี สันนิษฐานว่าในอดีตอาจมีโบราณสถานที่ก่อด้วยอิฐอยู่ภายในถ้ำ แต่ปัจจุบันถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพแล้ว
ตั้งอยู่บ้านโคกเศรษฐี ต.เขาใหญ่ อ.ชะอำ พบกลุ่มก้อนอิฐกระจัดกระจายอยู่บนยอดเขาจอมปราสาท สันนิษฐานว่าเป็นโบราณสถานสมัยทวารวดี เนื่องจากลักษณะอิฐเป็นแบบเดียวกับที่ใช้สร้างเจดีย์ทุ่งเศรษฐี ที่ตั้งอยู่เชิงเขาจอมปราสาท
ดอยมะขามป้อม 1 ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช บ้านห้วยปลาหลด ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่อยู่อาศัยหรือทำกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ และน่าจะเป็นแหล่งที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพระหว่างพม่า-ไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-22
บ้านท้ายไร่ ต.วังกระแจะ อ.เมืองตราด เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 3,000-2,500 ปีมาแล้ว โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ได้แก่ กลองมโหระทึกแบบเฮกเกอร์1 กำไลสำริด ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ เครื่องมือเหล็กประเภทขวานมีบ้อง ง้าวมีบ้อง และเสียมมีบ้อง
ดอยมะขามป้อม 2 ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช บ้านห้วยปลาหลด ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่อยู่อาศัยหรือทำกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ และน่าจะเป็นแหล่งที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพระหว่างพม่า-ไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-22
ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติออบหลวง เขตติดต่อระหว่าง อ.ฮอด และ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นแหล่งโบราณคดีในภาคเหนือแห่งแรกที่พบหลักฐานเกี่ยวกับสำริดและโลหวิทยา และยังพบหลักฐานที่เก่าไปถึงสมัยหินกลางและหินใหม่
แหล่งโบราณคดีบ้านยางทองใต้ ต.สันปูเลย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรมฝังศพ ของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือสมัยเหล็ก ราวพุทธศตวรรษที่ 1-5